Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ พฤติการณ์อย่างไรถือว่าเลิกสัญญาโดยปริยาย

พฤติการณ์อย่างไรถือว่าเลิกสัญญาโดยปริยาย

7748

 

คำถาม  วันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาจะซื้อที่ดินตรงกับวันอาทิตย์ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายไม่อาจดำเนินการขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ หลังจากวันดังกล่าวคู่สัญญามิได้เรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อกัน ผลของสัญญาจะเป็นอย่างไร

คำพิพากษาฎีกาที่  8188/2554  เมื่อกำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ตามที่ระบุในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตรงกับวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2547 คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจดำเนินการขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้ และในวันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม 2547 คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการดังกล่าวเช่นกัน จึงยังถือไม่ได้ว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายผิดสัญญา และสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน โดยโจทก์ผู้จะซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่จำเลยผู้จะขาย  ส่วนจำเลยผู้จะขายมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ผู้ซื้อ เมื่อไม่ปรากฏว่าภายหลังจากวันดังกล่าวคู่สัญญาแต่ละฝ่ายได้มีการเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติตามสัญญาต่อกัน จึงถือว่าคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย และเมื่อสัญญาเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำที่รับไว้แก่โจทก์

 

เครดิต นคร ธรรมราช

Facebook Comments