Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ หลักเกณฑ์ขอคุ้มครองชั่วคราว

หลักเกณฑ์ขอคุ้มครองชั่วคราว

17331

image
หลักเกณฑ์กรณีโจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราว

คดีที่สามารถขอคุ้มครองชั่วคราวได้ = ขอได้ทุกคดี เว้นแต่ คดีมโนสาเร่ (คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ไม่เกินเดือนละ 40,000 บาท หรือคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท)

ผู้ที่มีสิทธิขอ = ผู้ยื่นคำขอ ต้องเป็นโจทก์

ศาลที่จะยื่นคำขอ = จะขอในศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์หรือชั้นฎีกาก็ได้ โดยมีเงื่อนไขให้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณา

ลักษณะคำขอ = เป็นคำขอฝ่ายเดียว แต่ศาลมีอำนาจฟังคู่ความอีกฝ่ายหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งในเรื่องนั้น ๆ ได้

สามารถขอในเหตุฉุกเฉินได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำขอในเหตุฉุกเฉินเป็นที่สุด แต่โจทก์มีสิทธิยื่นขอในเหตุธรรมดาตามมาตรา 254 ได้ตามมาตรา 267 วรรคสาม

วิธีขอให้คุ้มครองชั่วคราว

1. ยึดหรืออายัด

2.ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป

3. ขอให้ศาลมีคำสั่งระงับ แก้ไข หรือเพิกถอนการดำเนินการทางทะเบียน

4. ขอให้ศาลมีคำสั่งจับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว

# การขอให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา จะต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องหรือคำขอท้ายฟ้อง

ผลของวิธีการชั่วคราวเมื่อมีคำพิพากษา

# หากศาลตัดสินให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีเต็มตามข้อหาหรือบางส่วน = เมื่อจำเลยชนะคดี คำสั่งศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวในส่วนที่จำเลยชนะคดี ให้ถือว่าเป็นอันยกเลิกเมื่อพ้นกำหนด ๗ วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง

# หากศาลตัดสินให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะ = คำสั่งของศาลเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง

Facebook Comments