Home ทริบเทคนิค/บทความ ทำไมศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถึงไม่ให้อัยการแก้ต่างคดีให้อดีตนายกฯ

ทำไมศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถึงไม่ให้อัยการแก้ต่างคดีให้อดีตนายกฯ

3144

 

สวัสดีครับ พ่อแมพี่น้องที่รักทั้งหลาย จากบทความแรกที่เขียนผมก็ห่างหายไปนานแสนนาน ช่วงนี้งานเยอะงานเต็ม ไหนจะช่วยแฟนอ่านหนังสืออีก คือเรื่องของเรื่อง เขาให้ผมช่วยติว กฎหมายปกครอง และวิชารัฐธรรมนูญ ในขา อาญาของเนติฯ งานคดีผมก็เยอะ ไม่โผล่มาเขียนบทความก็นาน แต่วันนี้มาสั้นๆครับ

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2558  ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีมติไม่ให้พนักงานอัยการ ต่อสู้คดีแก่ อดีตนักการเมือง  ให้เกียรติหน่อยก็อดีตนายกรัฐมนตรี อะครับ คือ เรื่องนี้เป็นคดีนานแล้วสมัยปี 2551 หน้ารัฐสภา 7 ตุลาคม 2551 เป็นเรื่องที่เราๆท่านๆทราบกันดี เอาง่ายๆเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่โดยทั่วไป แต่ไม่ว่าจะสลายการชุมนุมชอบหรือไม่ชอบ ไม่ใช่ประเด็นของบทความนี้ แต่มาดูเหตุผลโดยรวมของ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คือ พนักงานอัยการเป็นทนายแผ่นดินต้องต่อสู้คดีให้กับแผ่นดิน ไม่ใช่ต่อสู้คดีสู้กับแผ่นดิน คือ พนักงานอัยการเขาก็ไม่รู้หรอกครับ ว่า มติค.ร.ม. มันออกมาแบบนี้ได้ไง ใครแมร่งคิดให้พนักงานอัยการ ต่อสู้คดีแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงตีความ มติค.ร.ม.ไปเพี๊ยนๆแบบนั้น น่าจะมติ ค.ร.ม.วันที่ 18 มิถุนายน 2558

จึงมีบางคน ยังสงสัยสับสน ว่า ในคดีนี้ นายสมชาย วงสวัสดิ์ กับพวกรวม 4 คน ณ ตอนนั้นสั่งการในฐานะนายกรัฐมนตรีแหละครับ และพวกอีก 4 คน อย่างเช่น พลเอก ชวลิต ก็เป็นรองนายกรัฐมนตรี คือง่ายๆ รูปคดีเป็นเรื่องกระทำความผิดในตำแหน่งหน้าที่ของตน ปปช. ก็มีอำนาจวินิจฉัย คือ จำเลยทั้งสี่ ตาม บทนิยามศัพท์ ตามมาตรา 4  แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมว่าด้วยเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้รวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วย

ประเด็นมันมีอยู่ว่า ปปช. เขาฟ้องคดีเอง คือมีอำนาจตาม มาตรา 97 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมว่าด้วยเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 เพราะอัยการไม่สั่งฟ้องคดี คงมีความเห็นของเขาแหละครับ แต่ที่แปลกคือ เมื่อจำเลยทั้งสี่ รู้ว่ามีมติค.ร.ม. ให้พนักงานอัยการต่อสู้คดีแทนเสือก ถอนทนายของตัวเอง

คือประเด็นที่สำคัญ คือ ในคดีนี้โจทก์คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คือ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2550 แม้ในคดีนี้จะใช้สิทธิตาม มาตรา 97 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมว่าด้วยเรื่องการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ.2542 แต่งตั้งทนายความฟ้องคดีเอง ทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งก็เป็นทนายความที่ต่อสู้คดีแทนรัฐเป็นการเฉพาะคดี(ผมอยากใช้คำนี้) ฉะนั้น พนักงานอัยการซึ่งเป็น ทนายแผ่นดิน ซึ่งต่อสู้คดีแทนรัฐตามกฎหมายอยู่แล้ว จึงไม่อาจจะต่อสู้คดีแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ รัฐเป็นผู้ฟ้องคดี ไม่งั้นจะกลายเป็นทนายรัฐ ต่อสู้กับทนายรัฐ ง่ายๆรัฐต่อสู้กับรัฐ แม้จำเลยทั้งสี่ในขณะกระทำจะกระทำการแทนรัฐ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงเวลานั้นก็ตาม แต่การที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผุ้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีมติ 8:1 ไม่ให้อัยการต่อสู้คดีเป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐ ก็เป็นเหตุผลที่สมควรอยู่แล้ว และในองค์กรอัยการก็น่าจะรู้ข้อเท็จจริงในคดีนี้ดีอยู่แล้ว ซึ่งถ้าสู้คดีแทนจำเลยทั้ง4 จะทำให้ ปปช.ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องคดีเองเสียเปรียบในทางรูปคดีเป็นอย่างมาก จึงไม่ควรเป็นอย่างยิ่งที่จะต่อสู้คดีกับ ปปช.ซึ่งเป็นองค์ที่ทำหน้าที่แทนรัฐเหมือนกัน

ในมติ ค.ร.ม. ที่ให้พนักงานอัยการต่อสู้คดีแทนเจ้าหน้าที่รัฐ ผมเข้าใจว่า อาจจะเป็นพวกคดีปกครอง คดีความผิดในทางละเมิดโดยเจ้าหน้าที่รัฐกระทำละเมิด ตาม พ.ร.บ.ความผิดในทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 แบบนี้เป็นคดีที่ประชาชนฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐต่อศาลปกครอง พนักงานอัยการสู้คดีแทนเจ้าหน้าที่รัฐ อาจจะแต่งตั้งเป็นผู้รับมอบอำนาจผู้ถูกฟ้อง อย่างไรก็ตามแต่ แบบนี้ย่อมเป็นไปได้มากกว่า    จบ. (ผมมาจบสั้นๆและห้วนๆนี่แหละ)

11693949_939533946085437_2486809441536893960_n

ด้วยความเคารพอย่างสูง

นายวิฑูรย์  เก่งงาน

ทนายความ

 

Facebook Comments