Home คดีครอบครัว วิธีการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดู บุตรหรือคู่สมรสทำได้หรือไม่

วิธีการขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดู บุตรหรือคู่สมรสทำได้หรือไม่

20113

การตกลงค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรมีขึ้นได้ในหลายกรณี  ทั้งการตกลงกันเอง หลังใบสำคัญการหย่า หรือหนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันที่ศาล หรือแม้กระทั่งที่ศาลสั่งให้จ่ายตามคำพิพากษา ซึ่งค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น ระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้นย่อมเรียกร้องจากกันได้ เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดูไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู หรือได้รับการอุปการะเลี้ยงดูแต่ไม่เพียงพอแก่อัตภาพ

 

เวลากำหนดค่าเลี้ยงดูศาลพิจารณาจากอะไรบ้าง ?

ซึ่งค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้ ศาลอาจให้เพียงใด หรือไม่ให้ก็ได้โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๑๕๙๘/๓๘

กรณีภรรยาหรือสามีฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายหนึ้งจำเป็นต้องฟ้องหย่าหรือไม่ ?

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4959/2552

ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสองและมาตรา 1598/38 เป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองแก่สามีหรือภริยาโดยให้ฝ่ายที่มีฐานะดีช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูตามฐานะและความสามารถ ถ้าฝ่ายหนึ่งมีความสามารถที่จะอุปการะเลี้ยงดูแล้วไม่อุปการะเลี้ยงดู อีกฝ่ายย่อมมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) แต่ถ้าไม่ประสงค์จะฟ้องหย่า ก็ฟ้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1598/38 ในเมื่ออีกฝ่ายที่ควรได้รับไม่ได้รับการเลี้ยงดูตามอัตภาพมิใช่เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นเมื่อฟ้องหย่า

คำตอบคือไม่จำเป็นต้องฟ้องหย่าก็ฟ้องค่าอุปการะเลี้ยงดูได้

แล้วมีสิทธิคดีฟ้องหรือร้องขอต่อศาลขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหรือคู่สมรส ได้หรือไม่  ?

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2552

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/39 วรรคหนึ่ง ถ้าต่อมาพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป ศาลก็มีอำนาจแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้ ดังนั้น แม้บันทึกท้ายทะเบียนการหย่าจะกระทำขึ้นโดยชอบด้วยความสมัครใจของคู่กรณี กล่าวโดยเฉพาะเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองนี้ ถ้าต่อมาพฤติการณ์รายได้หรือฐานะของคู่กรณีเปลี่ยนแปลงไป ศาลก็มีอำนาจแก้ไขในเรื่องดังกล่าวได้

สรุป หากพฤติการเปลี่ยนไปสามาถขอแก้ไขได้

หากได้ต้องทำเป็นคำร้องหรือคำฟ้อง ?

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4681/2552 คำพิพากษาเดียวกัน

แม้ตามข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าจะกำหนดให้ ป. เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองก็ตาม แต่ถ้าภายหลังพึงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวผู้ใช้อำนาจปกครองศาลก็มีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1521 ประกอบมาตรา 1566 (5) แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้โดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและรักษาประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์ ผู้ร้องจึงชอบที่จะเสนอคดีขอให้ถอนอำนาจปกครองและแต่งตั้งผู้ใช้อำนาจปกครองคนใหม่ โดยทำเป็นคำร้องขอรวมทั้งชอบที่จะเสนอคดีขอให้ลดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองซึ่งเกี่ยวเนื่องกันเข้ามาในคำร้องขอฉบับเดียวกันได้

สรุป บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดวิธีการที่คดีจะมาสู่ศาล แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวประสงค์จะให้คดีขึ้นสู่ศาลได้โดยทำเป็นคำฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทและทำเป็นคำร้องขออย่างคดีไม่มีข้อพิพาทได้ด้วย

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments