Home คดีแพ่ง หนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ศาลสั่งให้จ่าย หากลูกหนี้ถึงแก่ความตายกองมรดกยังต้องรับผิดหรือไม่

หนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ศาลสั่งให้จ่าย หากลูกหนี้ถึงแก่ความตายกองมรดกยังต้องรับผิดหรือไม่

7745

มีคำถามถึงทีมงานมากมายว่าขณะที่ผู้ต่ายยังมีชีวิตอยู่ ถูกฟ้องให้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูกับครอบครัวเดิม ต่อมามามีครอบครัวใหม่ แล้วถึงแก่ความตายลง จึงมีคำถามว่าหนี้ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ศาลสั่งให้จ่ายนั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่ กองมรดกหรือทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกต้องรับภาระในสิทธิดังกล่าวจ่ายต่อไปหรือไม่

คำตอบ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16040/2555

ป.พ.พ. มาตรา 1598/41 กำหนดถึงสิทธิของผู้เยาว์ที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดามารดาว่าจะสละหรือโอนไม่ได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี สิทธิหน้าที่เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้ทรงสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวเช่นกัน หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็เป็นอันสิ้นสุดลงไม่ตกทอดไปยังทายาท เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบิดาถึงแก่ความตายไปแล้วสภาพบุคคลของโจทก์ก็หมดสิ้นไป ภาระหน้าที่ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้โจทก์จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์นับแต่มีคำพิพากษาจนบุตรบรรลุนิติภาวะจึงยุติไปด้วย แม้โจทก์จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทไว้ก็ตาม หน้าที่ในการอุปการะเลี้ยงดูของโจทก์ก็ไม่ตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 กองมรดกของโจทก์ไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสองให้แก่จำเลยอีกต่อไป

สรุปเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อถึงแก่ความตาย สิทธิและหน้าที่ดังกล่าวก็เป็นอันสิ้นสุดลงไม่ตกทอดไปยังทายาท

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments