Home คดีแพ่ง สรุปหลักกฎหมายเกี่ยวกับ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

สรุปหลักกฎหมายเกี่ยวกับ สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

19164

สาธารณสมบัติของแผ่นดิน จะมีบทบัญญัติอยู่ในมาตรา  1304 – 1307

-ที่ราชพัสดุ   ไม่ใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน  ผู้บุกรุกมีความผิดได้

-ที่ดินรกร้างว่างเปล่า  ตามมาตรา  1304(1)  หมายถึง  ที่ดินที่เอกชนไม่เคยมีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อน  แต่เมื่อปรากฏว่าเดิมทางราชการเคยออกหนังสือรับรองมาก่อน  จึงไม่ใช่ที่ดินรกร้างว่างเปล่า

-การอุทิศให้เป็นที่สาธารณะ   ย่อมตกเป็นสาธารณสมบัติทันทีโดยไม่ต้องมีการจดทะเบียนและไม่มีต้องมีการแสดงเจตนารับ   แม้หนังสืออุทิศระบุว่าจะไปจดทะเบียนก็ตาม

-ศาลบังคับให้ผู้อุทิศไปจดทะเบียนโอนไม่ได้เช่นกัน

-แม้ส่วนราชการยังไม่ใช่ประโยชน์หรือมิได้ทำตามเงื่อนไขของผู้อุทิศก็ยังคงมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

-การอุทิศอาจทำได้โดยปริยาย  เช่น  จัดสรรที่ดินขายแก่คนทั่วไปแต่กันพื้นที่ส่วนหนึ่งให้เป็นซอยสาธารณะก็ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

-การที่ประชาชนใช้ที่ดินโดยวิสาสะ  ไม่เป็นการอุทิศให้เป็นทางสาธารณะ

-ยกที่ดินให้เทศบาลโดยเฉพาะไม่ใช่การยกให้เพื่อสาธารณประโยชน์  ต้องจดทะเบียนด้วย   เช่น ยกให้ทำตลาดสดและผลไม้ มิใช่ยกให้เพื่อสาธารณะ

-ที่ดินของราษฎร ถูกน้ำกัดเซาะกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่ง  แต่เจ้าของไม่ได้ทอดทิ้งให้เป็นที่ประชาชนใช้ร่วมกัน  เจ้าของยังคงใช้ประโยชน์อยู่   ยังไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  เช่น ยังให้เช่าที่ชายตลิ่ง ก็เป็นการหวงกันครอบครองแล้วและถือว่าเป็นการครอบครองแทนผู้ให้เช่า

-สาธารณสมบัติของแผ่นดินใช้ยันรัฐไม่ได้  แต่ในระหว่างเอกชนด้วยกันยันกันเองได้  โดยถือหลักว่าผู้ครอบครองอยู่ก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่ารวมถึงมีสิทธิขายที่ดินได้ไม่เป็นนิติกรรมที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและเมื่อบุคคลอื่นเป็นผู้ครอบครองทำกินในที่ดินดังกล่าวอยู่  จำเลยย่อมไม่มีสิทธินำการครอบครองที่ดินไปขายให้โจทก์ได้  เมื่อโจทก์เข้าครอบครองไม่ได้  ก็ต้องคืนเงินให้แก่โจทก์

-ผู้ครอบครองสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่มีสิทธินำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่า  เพราะเป็นการให้ผู้อื่นเช่าโดยรัฐไม่ยินยอม   ผู้เช่าจึงมีสิทธิดีกว่าผู้ให้เช่าตลอดเวลาที่ครอบครองเท่านั้น  (ผู้ครอบครองมีสิทธิดีกว่า)  ผู้ให้เช่าฟ้องขับไล่ผู้เช่าไม่ได้

-ถ้าเป็นการฟ้องขับไล่ผู้เช่าให้ออกจากสิ่งปลูกสร้างที่สร้างบนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  สัญญาเช่าบังคับกันได้  ผู้ให้เช่าจึงมีอำนาจฟ้องตามสัญญาเช่าได้

-ที่ดินหนองน้ำ จะห้ามผู้อื่นใช้น้ำหรือเข้าจับปลาไม่ได้

-ผู้ซื้อที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้สุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง

-ทรัพย์ใดเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็จะเป็นตลอดไป  แม้ต่อมาพลเมืองจะเลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้วก็ตาม

-สาธารณสมบัติโอนไม่ได้  ตามมาตรา  1305  ถ้าการแสดงเจตนายกให้เป็นโมฆะ  ศาลย่อมเพิกถอนนิติกรรมการให้แล้วให้โอนกลับคืนมาเป็นของผู้ให้ได้

-ผู้ใช้ทางในที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาเป็นเวลากว่า  10  ปีก็ไม่ได้ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่อาจอ้างการได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ได้

-บ้านที่ปลูกในที่สาธารณะ  เจ้าของมีได้แต่สิทธิครอบครองจึงอาจโอนกันได้โดยการส่งมอบ

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments