Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ กฎหมายใหม่ ร่างพรบ.ปราบเด็กแก่แดด

กฎหมายใหม่ ร่างพรบ.ปราบเด็กแก่แดด

2728

15817228916_6e077e86ea_o

ไฟล์แนบ ขนาดไฟล์
ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตรายพ.ศ…pdf 159 KB
“ปัจจุบันนี้การสื่อสารมันรวดเร็ว เช่น ช่วงเหตุการณ์ชุมนุม ผมเห็นมีการเผยแพร่ภาพผู้ชาย บรรจุดินปืน และให้เด็กไปนั่งดู ขณะกำลังจุด นี่ถือเป็นสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย การกระทำก็ผิดกฎหมายนี้แล้ว และหากสื่อนำมาเผยแพร่ซ้ำอีก ก็ผิดกฎหมายฉบับนี้เช่นกัน” อิสสระ สมชัย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวถึงร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย

ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นหนึ่งใน “ชุดกฎหมายความมั่นคงดิจิทัล 10+3 ฉบับ” ที่เสนอโดยกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เพื่อป้องกันเด็กลอกเลียนแบบพฤติกรรมจากข่าวพฤติกรรมน่าหวาดเสียว หรือพฤติกรรมที่ยั่วยุให้เกิดการเอาอย่าง เกิดอารมณ์คล้อยตาม เช่น การเผยแพร่ภาพหวาดเสียว อุจาดตา สอนการผูกคอตาย นัดกันไปฆ่า เป็นต้น
นิยามคำว่า “เด็ก” ให้ครอบคลุมตัวการ์ตูนเด็กด้วย
ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ความหมาย “สิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย” หมายถึง เอกสาร ภาพ สิ่งพิมพ์ รูปรอย เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ เสียงหรือถ้อยคำ ข้อความ ข้อมูล หรือสิ่งใดๆ ที่กระตุ้น ส่งเสริม หรือยั่วยุ ที่น่าจะก่อให้เกิดการกระทำวิปริตทางเพศ ความสัมพันธ์หรือการกระทำทางเพศกับเด็ก การทารุณกรรมเด็ก การฆ่าตัวตายของเด็กหรือเป็นหมู่คณะ การใช้ยาเสพติด หรือการกระทำผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฆ่าผู้อื่น หรือทำร้ายร่างกายโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย
นอกจากนี้ ยังนิยาม “การกระทำวิปริตทางเพศ” ให้ครอบคลุมถึงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือพี่น้อง เพศสัมพันธ์ที่ใช้ความรุนแรงถึงขนาดที่น่าจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย การบังคับขู่เข็ญให้มีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป และการชำเราสัตว์หรือชำเราศพ
ขณะเดียวกันก็ขยายความหมายของคำว่า “เด็ก” นอกจากจะหมายถึงบุคคลที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์แล้ว ยังรวมถึงตัวแสดงที่ปรากฏอยู่ในสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย ซึ่งมีลักษณะที่ทำให้เข้าใจได้ว่ามีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ด้วย
นักวิชาการชี้ กฎหมายอาจถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดได้ง่าย
อธิป จิตตฤกษ์ นักวิชาการอิสระด้านเทคโนโลยีดิจิทัลกับศิลปวัฒนธรรม เห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้นิยามความผิดกว้างไป เช่น ขอบเขตของสิ่งยั่วยุความรุนแรง เขียนคลุมสื่อกระตุ้นความรุนแรงเกือบหมด และคำว่า “ยั่วยุ” ก็ไม่ชัดเจน กฎหมายอาจจะถูกนำมาใช้ในทางที่ผิด (Abuse) ได้ง่าย
“จริงๆ มันควรจะเป็นกฎหมายปราบปรามสิ่งลามกอนาจารเด็ก แต่กลับใส่อะไรมาเต็มเลย เหมือนแถม จึงคิดว่าควรจะตัดส่วนที่แถมมาออกให้หมด เหลือกฎหมายปราบปรามสิ่งลามกอนาจารเด็กพอ” อธิปกล่าว และว่า มีข้อถกเถียงในต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจำนวนมาก ว่าจะคุมยังไงไม่ให้การปราบปรามมันไปละเลยเสรีภาพในการแสดงความเห็นและสิทธิพลเมืองในแง่อื่นๆ
สามารถค้นบ้าน-ดักฟังข้อมูลได้
ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามสิ่งยั่วยุพฤติกรรมอันตราย หรือ ป.ป.อ. ซึ่งประกอบด้วยกรรมการจาก 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเมือง ข้าราชการประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้กำหนดแผนงาน วางโครงการและดำเนินการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำความผิด
ส่วนพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการเข้าไปตรวจค้นในเคหสถานหรือสถานที่ของบุคคล เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่า มีสิ่งยั่วยุฯ หรือทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อออกหมายค้นก่อน ยกเว้น มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าถ้ารอหมายค้นจะทำให้ล่าช้า จนพยานหลักฐานถูกยักย้าย ทำลาย หรือเปลี่ยนสภาพไป เจ้าหน้าที่สามารถเข้าไปตรวจค้นได้เลย ทั้งนี้ ต้องบันทึกผลการดำเนินการและรายงานต่อศาลภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือค้น นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังสามารถค้นบุคคลหรือยานพาหนะที่น่าสงสัย และมีอำนาจยึดหรืออายัดสิ่งยั่วยุฯ หรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด (มาตรา14)
ห่วงให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากเกิน
ด้านผศ.วนิดา แสงสารพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิเคราะห์ว่า แม้เจ้าหน้าที่ต้องขอหมายศาลก่อนค้น แต่กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าสามารถค้นสถานที่เป็นเวลากี่วันเหมือนกับกฎหมายฉบับอื่นที่ระบุไว้ชัดเจน เช่น พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 30 กำหนดว่า ค้นตรวจได้แต่ไม่เกิน 90 วัน
ส่วนข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่มีหมายศาล ก็ควรระบุวิธีการให้ชัดเจนมากกว่านี้ เช่น พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 กำหนดให้การค้นโดยไม่ต้องมีหมายค้น จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการค้นอันเป็นกฎหมายทั่วไป ทั้งนี้ โดยทั่วไปการตรวจค้นจะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อไม่อาจใช้วิธีการอื่นที่เหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพมากกว่านี้แล้ว
ขณะเดียวกัน มาตรา 16 กำหนดให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลในพัสดุภัณฑ์ จดหมาย ตู้ไปรษณีย์ ระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เมื่อมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าจะได้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลและต้องรายงานผลการดำเนินการให้ศาลทราบด้วย
ในประเด็นนี้ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต ให้ความเห็นว่า ทุกคนเห็นด้วยเชิงหลักการหากเกิดความจำเป็นต้องดักฟัง แต่ต้องระบุให้ชัดว่ามีเรื่องใดบ้าง และถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมา ใครควรรับผิดชอบ
ผู้ผลิตสิ่งยั่วยุหรือมีในครอบครอง จำคุกสูงสุด 5 ปี
ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้บัญญัติโทษสำหรับผู้ผลิต หรือมีสิ่งยั่วยุฯ ไว้ในครอบครอง เพื่อแจกจ่าย หรือเผยแพร่แก่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับหนึ่งแสนถึงห้าแสนบาท แต่หากในวัตถุยั่วยุฯ เป็นภาพของเด็กต่ำกว่า 15 ปี ผู้ผลิตต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3-7 ปี ปรับสามแสนถึงเจ็ดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทำเพื่อการค้า หรือนำสิ่งยั่วยุฯ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ต้องระวางโทษหนักกว่าอีกกึ่งหนึ่ง แต่ถ้าการผลิตหรือครอบครองมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา การแพทย์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ หรือเพื่อประโยชน์ของราชการ จะไม่ถือว่าเป็นความผิด (มาตรา 18) ส่วนผู้แจกจ่าย หรือเผยแพร่สิ่งยั่วยุฯ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำ
ผู้ให้บริการตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ที่รู้ว่ามีสิ่งยั่วยุฯ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน แล้วไม่ถอนหรือกำจัดสิ่งยั่วยุออกในทันที มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งสอง (มาตรา 22)
ถ้ามีการกระทำผิดในโรงแรม โรงภาพยนตร์ หรือสถานบริการ และผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการรู้เห็นเป็นใจด้วย เจ้าหน้าที่มีอำนาจเพิกถอน หรือพักใช้ใบอนุญาตได้
ทั้งนี้ เงินค่าปรับและเงินที่ริบได้ มอบให้เป็นกองทุนคุ้มครองเด็กร้อยละ 60 และกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ร้อยละ 40 และกำหนดให้ความผิดตาม พ.ร.บ.นี้
Facebook Comments