Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ แก้ไขปี พ.ศ.ในเช็ค โดยผู้สั่งจ่ายไม่ยินยอม มีผลทำให้เช็คเสียไปหรือไม่!!

แก้ไขปี พ.ศ.ในเช็ค โดยผู้สั่งจ่ายไม่ยินยอม มีผลทำให้เช็คเสียไปหรือไม่!!

8018

คำถาม

เช็คมีการแก้ไขปีพ.ศ.ในเช็คหลังจากออกเช็คแล้ว ซึ่งดูด้วยตาเปล่าเห็นได้ชัดว่ามีรอยการแก้ไขโดยไม่ปรากฏว่าผู้สั่งจ่ายเป็นผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงปีพ.ศ. ในเช็คเอง เช็คนั้นเสียไปหรือไม่ ???
คำตอบ

มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 15477/2556

เช็คพิพาทในช่องวันที่ระบุว่า 25-6-52 แต่เมื่อดูตัวเลข 52 ด้วยตาเปล่าก็เห็นได้ชัดว่ามีรอยการแก้ไขจากตัวเลขเดิม 50 เป็นตัวเลข 52 ประกอบกับเช็คพิพาทมีจำนวนเงินสูงถึง 1 ล้านบาท

หากจำเลยเป็นผู้แก้ไขขณะโจทก์รับเช็คที่ผ่านมาโจทก์ย่อมจะต้องตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเช็คพิพาทก่อน. ซึ่งย่อมจะเห็นรอยการแก้ไขและโจทก์จะต้องให้จำเลยลงลายมือชื่อกำกับการแก้ไข ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะยอมรับเช็คที่มีจำนวนสูงมากในสภาพดังกล่าว ซึ่งโจทก์น่าจะทราบดีว่าธนาคารอาจปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้

ดังนั้น ที่โจทก์เบิกความว่าโจทก์ไม่ได้ตรวจสอบสภาพเช็คและขณะรับเช็คพิพาทมา เช็คมีสภาพตามที่ปรากฏจึงผิดปกติวิสัยและเป็นการเบิกความอ้างขึ้นลอยๆไม่มีเหตุผลให้รับฟังได้
นอกจากนี้เมื่อศาลชั้นต้นส่งเช็คพิพาทไปตรวจพิสูจน์ตามคำขอของจำเลย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจพิสูจน์แล้วพบว่าลายมือ วันเดือนปีในเช็คพิพาทมีร่องรอยการแก้ไขจากหมึกที่มีคุณสมบัติทางฟิสิกส์แตกต่างกันโดยการเขียนต่อเติมตัวเลขตัวสุดท้ายของวันเดือนปีจาก 25-6-50 เป็น 25-6-52 ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ ซึ่งสอดคล้องกับความเบิกความของจำเลย ซึ่งเชื่อได้ว่าเช็คพิพาทมีการแก้ไขปีพ.ศ. ในเช็ค ภายหลังจากจำเลยออกเช็คพิพาทแล้วโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงปีพ.ศ. ในเช็คพิพาทเอง. ดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทมีการแก้ไขวันที่สั่งจ่ายใหม่อันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไหมข้อสำคัญโดยจำเลยมิได้ยินยอมด้วยเช็คนั้นจึงเสียไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1007 วรรค 1

มีปัญหาเกี่ยวกับคดีเช็คโทรปรึกษา 089-142-7773 line: @lawyers.in.th

 

 

Facebook Comments