Home คดีอาญา วิเคราะห์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย การขอลดโทษคดียาเสพติด ตามมาตรา 100/2

วิเคราะห์ฎีกาปัญหาข้อกฎหมาย การขอลดโทษคดียาเสพติด ตามมาตรา 100/2

9503

เรื่องการกระทำผิดคดียาเสพติดในปัจจุบัน พบเป็นคดีอยู่มาก ซึ่งการจะขอลดโทษได้นั้น หากกระทำความผิดจริงนอกจากการรับสารภาพแล้วมีบทบัญญัติ ที่รู้จักกันในวงกว้าง ในมาตรา ๑๐๐/๒ ที่เป็นอำนาจศาล ที่จะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่บัญญัติไว้เป็นขั้นต่ำ ในวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา ขอนำท่านผู้อ่านไปรู้จักกับหักเกณฑ์ตามคำพิพากษาศาลฎีกาในกรณีใดบ้างที่ศาลเห็นว่าเป็นการให้ข้อมูลสำคัญ และเป็นประโยนช์อย่างยิ่ง

หลักกฎหมาย

มาตรา ๑๐๐/๒  ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง  หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน  ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้

  • หลักเกณฑ์ที่ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่สําคัญและเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งตามมาตรา ๑๐๐/๒ ดังนี้

๑. ให้ข้อมูลชื่อ ภูมิลําเนา ที่อยู่ รูปพรรณสัณฐาน ยืนยันรูปถ่ายของ ผู้ว่าจ้างหรือ 22 มกระทําผิดจนสามารถออกหมายจับตามที่จําเลยให้ข้อมูล ตามแนวคําพิพากษาศาลฎีกาที่
๓๓๑๒/๒๕๔๘ และ ๖๔๐๘/๒๕๔๙
๒. จับจําเลยได้ยาเสพติดให้โทษของกลางบางส่วนแล้วจําเลยให้ข้อมูลนําไปยึดยาเสพติด ให้โทษของกลางเพิ่มขึ้นจากที่พักหรือที่บ้าน ซึ่งเจ้าพนักงานตํารวจไม่อาจทราบที่พักหรือบ้านของ จําเลยมาก่อนทั้งเป็นการยากที่จะตรวจค้นเองได้ ตามแนวคําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๒๘/๒๕๕๘ และ ๑๓๖๑/๒๕๔๙ แต่หากเป็นห้องพักหรือบ้านที่เจ้าพนักงานตํารวจสามารถไปตรวจค้นตามปกติ ได้อยู่แล้วเนื่องจากมีที่อยู่แน่นอนหรือพบกุญแจห้องพักที่จําเลยและตรวจค้นพบได้โดยง่าย เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่สําคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งตามมาตรา ๑๐๐/๒ ตามแนว คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๘๗๐/๒๕๔๗ , ๖๕๕๐/๒๕๔๔, ๑๔๘๗/๒๕๕๐, ๔๙๔๑/๒๕๕๐ และ ๒๐๔๔/๒๕๕๑
๓. จําเลยได้ให้ข้อมูลว่าซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางจากจําเลยอื่นหรือจากบุคคลอื่น เป็นเหตุให้มีการขยายผลจนกระทั่งเจ้าพนักงานตํารวจสามารถจับกุมจําเลยอื่นหรือบุคคลอื่น หรือ เป็นสายลับล่อซื้อจนสามารถจับกุมบุคคลอื่น มาดําเนินคดีหรือพร้อมด้วยของกลางเพิ่ม ตามแนว กาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๗๗๗/๒๕๔๒, ๓๙๘๐/๒๕๔๗, b๕๕๕/๒๕๔๗, ๖๗๖๖/๒๕๔๗,

  • กรณีต่อไปนี้ไม่ถือเป็นการให้ข้อมูลที่สําคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งตามมาตรา ๑๐๐/๒

๑. จําเลยเพียงแต่กล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นลอยๆ ในอุทธรณ์ของจําเลยเท่านั้น โดยจําเลยมิได้มีพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างของจําเลยให้ศาลเห็นว่า จําเลยได้ให้ข้อมูลที่ สําคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจหรือพนักงานสอบสวน ตามแนวคําพิพากษากาศ ៧២៦៤/២៨៤៧
๒. จําเลยให้ข้อมูลว่าจําเลยซื้อยาเสพติดให้โทษของกลางมาจากใคร ให้เบอร์โทรศัพท์ และนําไปชีบ้าน แต่ไม่ปรากฏว่ามีการขยายผลจนจับกุมได้ ตามแนว คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๗๔๔/๒๕๔๗, ๗๗๒๖/๒๕๔๗ และ ๓๕๑๖/๒๕๔๙
๓. จําเลยให้ข้อมูลแล้วเจ้าพนักงานตํารวจขยายผลไปจับกุมผู้กระทําความผิดได้ในข้อหา เสพยาเสพติดให้โทษหรือมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะคําว่า เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษนั้น มีลักษณะ เหมือนคําเปรียบเปรยที่ว่า จับปลาเล็กเพื่อไปกินปลาใหญ่ หรือจับปลาใหญ่เพื่อไปกินปลาใหญ่ แต่มิใช่จับปลาใหญ่เพื่อไปกินปลาเล็ก หรือกรณีจับกุมจําเลยได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน ๑,000 เม็ด แต่จําเลยได้ให้ข้อมูลไปยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีก ๑๐ เม็ด เช่นนี้ไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments