Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ คำให้การรับสารภาพ รวมถึงรับข้อเท็จจริงในฟ้อง การนับโทษต่อและการรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันด้วยหรือไม่

คำให้การรับสารภาพ รวมถึงรับข้อเท็จจริงในฟ้อง การนับโทษต่อและการรับว่าเป็นบุคคลเดียวกันด้วยหรือไม่

9081

หลายๆท่านมักสงสัยว่า การที่จำเลยจะรับสารภาพนั้น หากจำเลยเคยถูกลงโทษจำคุกมาก่อน การรับสารภาพนั้นจะเป็นเรื่องที่รวมถึงรับข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอให้นับโทษต่อ บวกโทษ หรือเพิ่มโทษแล้วด้วยหรือไม่แล้วแต่กรณี ในวันนี้ทีมงานทนายกฤษดา ขอพาท่านไปวิเคราะห์ด้วยคำพิพากษาฎีกาที่เคยมีคำพิพากษาไว้ดังนี้

คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๕๒๑/๒๕๖๑

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

วิธีพิจารณาความอาญา คําให้การรับสารภาพ (ม.๑๗๖) พระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๕๓ (ม.๒๕, ม.๔๔)

ย่อสั้น

โจทก์ฟ้องว่า จําเลยมีหน้าที่ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียก เข้ารับราชการทหาร ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ตามประกาศของนายอําเภอแม้จําเลยอยู่ในระหว่างต้องรับโทษ ซึ่งไม่สามารถไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหารได้ก็ตาม แต่จําเลย ยังคงมีหน้าที่ต้องมอบหมายให้บคคลซึ่งบรรลนิติภาวะและพอจะเชื่อถือ ได้ไปรับหมายเรียกดังกล่าวแทนภายในระยะเวลาที่กําหนด เมื่อจําเลย ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจําเลยไม่ดําเนินการ ดังกล่าวถือได้ว่าจําเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ไปแสดงตนรับหมายเรียก หรือมอบให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและพอจะเชื่อถือได้ไปรับหมาย เรียกดังกล่าวแทน ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๒๕ วรรคสาม ต้องรับโทษตามมาตรา ๔๔ วรรคหนึ่ง

โจทก์บรรยายฟ้องว่า จําเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดของ ศาลจังหวัดสุรินทร์ ให้ลงโทษจําคุก ๔ ปี ในระหว่างที่จําเลยยังจะ ต้องรับโทษในคดีดังกล่าวจําเลยได้กระทําความผิดในคดีนี้อีก ศาล

อ่านและอธิบายฟ้องให้จําเลยฟัง จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง คําให้การจําเลยที่รับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายรวมถึงการรับว่า จําเลยเคยต้องโทษจําคุก ตลอดจนรับข้อเท็จจริงคดีที่โจทก์ขอให้เพิ่ม โทษจําเลยตามคําขอท้ายฟ้องโจทก์ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจําคุก จําเลย ศาลต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่จําเลยตามฟ้อง

โจทก์ฟ้องว่าจําเลยเป็นทหารกองเกินมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ในปี ๒๕๕๗ มีหน้าที่ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ตาม ประกาศของนายอําเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เมื่อระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เวลากลางวันถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ เวลากลางวัน ต่อเนื่องกัน จําเลยหลีกเลี่ยงไม่ไปแสดงตนรับหมายเรียกหรือมอบให้ บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและพอจะเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกดังกล่าว แทนภายในระยะเวลาที่กําหนดโดยไม่ได้รับยกเว้นตามกฎหมาย ก่อนคดีนี้จําเลยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ๔ ปี ในความผิด ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่ายและจําหน่าย เมทแอสเฟตามีน ตามคดีอาญาหมายเลขแดงที่ ๑๐๐๙/๒๕๕๗ ของ ศาลจังหวัดสุรินทร์ ในระหว่างที่จําเลยยังจะต้องรับโทษในคดี ดังกล่าวจําเลยได้กระทําความผิดในคดีนี้อีก และไม่ใช่ความผิดที่ได้ กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ขอให้ลงโทษตามพระราช

บัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๒๕, ๒๖, ๔๔ ประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๙๒ เพิ่มโทษจําเลยตามกฎหมาย

จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง

ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหาร พ.ศ.๒๕๐๗ มาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง, ๔๔ วรรคหนึ่ง จําคุก ๑ เดือน และปรับ ๓๐๐ บาท จําเลยให้การรับสารภาพ แต่ไม่ ลดโทษให้ โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้มีกําหนด ๑ ปี ไม่ชําระ ค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙ ๓๐

โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ ประการแรกว่า จําเลยกระทําความผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า จําเลย มีหน้าที่ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร ตั้งแต่ วันที่ 9 ตุลาคม ๒๕๕๗ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ ตามประกาศของ นายอําเภอปราสาทจังหวัดสุรินทร์ แม้จําเลยอยู่ในระหว่างต้องรับโทษ ซึ่งไม่สามารถไปรับหมายเรียกเข้ารับราชการทหารได้ก็ตาม แต่จําเลย ยังคงมีหน้าที่ต้องมอบหมายให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและพอจะ เชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกดังกล่าวแทนภายในระยะเวลาที่กําหนด ข้างต้น คดีนี้จําเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ ว่าจําเลยไม่ดําเนินการดังกล่าว ถือได้ว่าจําเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงไม่

ไปแสดงตนรับหมายเรียกหรือมอบให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและพอ จะเชื่อถือได้ไปรับหมายเรียกดังกล่าวแทน ตามพระราชบัญญัติรับ ราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๒๕ วรรคสามที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๓ วินิจฉัยว่า ฟังไม่ได้ว่าจําเลยมีเจตนาหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่ไปแสดง ตนเพื่อขอรับหมายเรียกและไม่มีเจตนาไม่มอบหมายให้บุคคลอื่นไป รับหมายเรียกแทนนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย น

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ประการต่อมาว่า ศาลชั้นต้นรอการลงโทษจําคุกและไม่เพิ่มเติมโทษจําเลยนั้นชอบด้วย กฎหมายหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งแล้วว่า จําเลยเคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่๑๐๐๙/

๒๕๕๗ ของศาลจังหวัดสุรินทร์ ให้ลงโทษจําคุก 4 ปี ฐานมีเมทแอม เฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจําหน่ายและจําหน่ายเมทแอมเฟตามีน ในระหว่างที่จําเลยยังจะต้องรับโทษในคดีดังกล่าว จําเลยได้กระทํา ความผิดในคดีนี้อีก เมื่อศาลชั้นต้นอ่านอธิบายฟ้องทั้งหมดให้จําเลยฟัง จําเลยก็ได้ให้การว่ารับสารภาพตามฟ้องคําให้การจําเลยที่รับสารภาพ ตามฟ้องดังกล่าวย่อมหมายรวมถึงการรับว่าจําเลยเคยต้องโทษจําคุก มาก่อนตามที่โจทก์กล่าวหาในฟ้อง ตลอดจนรับตามบทบัญญัติที่ขอ ให้เพิ่มโทษจําเลยตามคําขอท้ายฟ้องด้วย ฉะนั้น เมื่อศาลพิพากษา ลงโทษจําคุกจําเลย จึงต้องเพิ่มโทษที่จะลงแก่จําเลยอีก

จําคุกให้แก่จําเลยได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๕๖ ที่ ศาลชั้นต้นรอการลงโทษจําคุกและไม่เพิ่มโทษจําเลยนั้น ศาลฎีกาไม่ เห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังขึ้น”

พิพากษากลับเป็นว่า จําเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ รับราชการทหารพ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๒๕วรรคสาม, ๕๔ วรรคหนึ่งจําคุก ๑ เดือน เพิ่มโทษหนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๒ เป็นจําคุก ๑ เดือน ๑๐ วัน จําเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์ แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา ๗๔ คงจําคุก ๒๐ วัน (ชัยวัฒน์ เวียงธีรวัฒน์ ภาภูมิ สรอัฑฒิ สุทัศน์ ศิริมหาพฤกษ์)

หมายเหตุ

คําให้การรับสารภาพของจําเลยที่ว่า จําเลยให้การรับ สารภาพตามฟ้องจะหมายรวมถึงจําเลยยอมรับว่าจําเลยเป็น บุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีที่โจทก์บรรยายฟ้องและมี คําขอให้นับโทษต่อ บวกโทษ และเพิ่มโทษหรือไม่ เดิมมีแนว คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๔๔/๒๕๔๖ (ประชุมใหญ่), ๒๔๑๓/ ๒๕๔๗, ๘๙๑๖/๒๕๕๒ และ ๒๐๘๗/๒๕๕๔ วินิจฉัยว่า หมายความรวมถึงด้วย ต่อมาเพิ่งปรากฏแนวคําพิพากษา ฎีกาที่ ๙๑๕๕/๒๕๕๖ และหลังจากนั้นเป็นต้นมาวินิจฉัยว่า คําให้การ ของจําเลยที่ว่าให้การรับสารภาพตามฟ้อง ถือไม่ได้

หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๙๒ และเมื่อจําเลยเคยได้รับโทษ จําคุกมาก่อนเกิน 6 เดือนจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษ

ว่าจําเลยยอมรับว่าจําเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดี ที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ บวกโทษ และเพิ่มโทษ (คําพิพากษา ฎีกาที่ ๑๕๗๑๑/๒๕๕๗) บัดนี้ คําพิพากษาฎีกาที่หมายเหตุนี้ กลับไปวินิจฉัยตามแนวเดิมคือตามคําพิพากษาฎีกาที่ ๕๒๔๘/ ๒๕๕๖ (ประชุมใหญ่), ๒๔๑๓/๒๕๔๗, ๘๙๑๖/๒๕๕๒ และ ๒๐๕๕๗/๒๕๕๔

โปรดดูหมายเหตุท้ายคําพิพากษาฎีกาที่๙๑๕๕/๒๕๕๖ และ ๑๕๗๑๑/๒๕๕๗ ในคําพิพากษาฎีกาประจําพุทธศักราช ๒๕๕๖ ตอนที่ 4 หน้า ๒๒๔๖ และคําพิพากษฎีกาาประจํา พุทธศักราช ๒๕๕๗ ตอนที่ 4 หน้า ๒๓๕๙ จัดพิมพ์โดย เนติบัณฑิตยสภา ประกอบ

สมชัย ฑีฆาอุตมากร

 

มีปัญหาปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments