Home คดีอาญา การพรากผู้เยาว์ตามความหมายของศาลฎีกาคืออะไร

การพรากผู้เยาว์ตามความหมายของศาลฎีกาคืออะไร

15966

หลายท่านอาจไม่ทราบว่า บทบัญญัติที่กฎหมายใช้คุ้มครองดูแลเด็กผู้เยาว์ที่อายุยังไม่เกิน 15 ปี นั้น ความหมายของการพรากผู้เยาว์ที่แท้จริงแล้วตามบทบัญญัติในมาตรา 317 นั้น มีความหมายเช่นไร จำเป็นต้องบังคับขู่เข็ญหรือไม่ มีเหตุผลอันสมควรได้หรือไม่ ทีมงานทนายกฤษดา ขออนุญาตไปวิเคราะห์ฎีกาเพื่อค้นหาความหมายในเรื่องดังกล่าวไว้ดังนี้

หลักกฎหมาย

มาตรา 317  ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท

ว.2 ผู้ใดโดยทุจริต ซื้อ จำหน่าย หรือรับตัวเด็กซึ่งถูกพรากตามวรรคแรก ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้พรากนั้น

ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำเพื่อหากำไร หรือเพื่อการอนาจาร ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท

คำถาม

การพรากผู้เยาว์ตามความหมายของศาลฎีกาคืออะไร

คำตอบ เคยมีคำพิพากษา

การกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร พรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ไม่ต้องถึงขนาดเป็นการหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้เด็กปราศจากอิสระในการเคลื่อนไหว เพราะการกระทำเช่นนั้นจะเป็นความผิดต่อเสรีภาพอีกต่างหาก “พราก” ตามพจนานุกรมมีความหมายว่า จากไป หรือแยกออกจากกัน ดังนั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กยังอยู่ในอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 การที่จำเลยนัดแนะ หรือแยกผู้เสียหายที่ 2 ไปยังที่ต่างๆในโรงเรียน จำเลยได้รับความยินยอมจากผู้เสียหายที่ 1 หรือไม่ และมีเหตุผลอันสมควรหรือไม่ โดยบทกฎหมายดังกล่าวประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่ละเมิดอำนาจปกครองดูแลเด็กของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล อันเป็นการคุ้มครองเด็กมิให้ถูกล่อลวงไปในทางเสียหาย ดังนั้น แม้หลังถูกกระทำชำเรา ผู้เสียหายที่ 2 มิได้ถูกจำเลยหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง มีอิสระในการเคลื่อนไหว และสามารถกลับไปเรียนตามปกติได้ ก็เป็นการล่วงละเมิดอำนาจปกครองของผู้เสียหายที่ 1 โดยปราศจากเหตุอันสมควร เพื่อการอนาจารแล้ว

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments