Home คดีแพ่ง บุตรนอกกฎหมาย มีสิทธิอะไรบ้าง

บุตรนอกกฎหมาย มีสิทธิอะไรบ้าง

3516

“บุตรนอกกฎหมาย มีสิทธิอะไรบ้าง”

๑.บุตรที่เกิดระหว่างบิดามารดาอยู่กินด้วยกันฉันท์สามีภรรยาและจดทะเบียนสมรสกันแล้ว จนกระทั้งบิดาถึงแก่กรรม จึงมีคำพิพากษาของศาลชี้ขาดว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดามารดาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะขณะนั้นบิดายังมีภรรยาเดิมอยู่ไม่ได้หย่าขาดจากกัน ต้องถือว่าบุตรเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา มีสิทธิ์รับมรดกบิดา คำพิพากษาฏีกา ๑๕๘๐/๒๔๙๔

๒.ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ ๑ ของ ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำส่างศาลว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ตาย ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก หรือร่วมกับผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ตาม ปวพ มาตรา ๑๖๑กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็ไมได้แก้ไข เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาแก้ไขได้ คำพิพากษาฏีกาที่ ๖๗๗/๒๕๓๗

๓.ชายอยู่กินกับหญิง แสดงความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาในที่ต่างๆอย่างเปิดเผย เป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภรรยา มีการจัดงานเลี้ยงฉลองการตั้งครรถ์ เป็นการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรถ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๗ เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) คำพิพากษาฏีกา ๑๔๖๙/๒๕๒๖

๔.ผู้คัดค้านที่ ๑ ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้คัดค้านที่ ๒ ซึ่งเป็นมารดาของผู้ตาย และไม่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาก่อนมีการบังคับให้ใช้ ปพพ บรรพ ๕ซึ่งใช้บังคับโดยพรบ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ ๕ แห่ง ปพพ๒๔๗๗ ผู้คัดค้านที่ ๑ ไม่เป็นบิดาโดยชอบด้วยกำหมายของผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้คัดค้านที่ ๑รับรองแล้ว ผลทางกฎหมายมีเพียงให้ถือว่า ผู้ตายเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิ์ได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หามีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกำหมายมีสิทธิ์รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยไม่ เมื่อผู้คัดค้านที่ ๑ ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของขอองผู้ตายจึงไม่มีสิทธิ์คัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่อาจฏีกาโต้แย้งว่า พินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่มีผลบังคับได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านที่ ๒ ยื่นคำคัดค้านว่าพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตายและไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงใช้บังคับไมได้ การที่ผู้คัดค้านที่ ๒ ฏีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะซึ่งผู้คัดค้านที่ ๒ ไม่เคยยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำคัดค้านจึงเป็นการฏีกาในข้อที่ไม่ได้ยกกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามไม่ให้ฏีกา ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัย พินัยกรรมของผู้ตายมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและ ปพพ มาตรา ๑๗๑๓วรรคท้ายก็บัญญัติให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านที่ ๒ จะเป็นมารดาและทายาทของผู้ตายก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก. คำพิพากษาฏีกาที่ ๑๖๒๕/๒๕๕๐

๕.ผู้คัดค้านเพิ่งคลอดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของผู้คัดค้านภายหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ ๘ เดือนว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย กรณีถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องภายในอายุความมรดก ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๘วรรคแรก สิทธิ์ดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๑ ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ทายาทโดยธรรมอันดับ ๓ เป็นอันดับถัดลงมา ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์มรดกผู้ตาย ปพพ มาตรา ๑๖๒๙,๑๖๓๐ คำว่า ผู้มีส่วนได้เสียตาม ปพพ มาตรา ๑๗๑๓ หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังคดีนี้ไม่ คำพิพากษาฏีการที่๑๑๙๖/๒๕๓๘

๖.ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ บัญญัติถึงบิดามารดาบุตร ว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย ถ้าไม่ใช่ก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิ์รับมรดกซึ่งกันละกัน บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิ์รับมรดกบุตร ศาลชั้นต้นวินินิจฉัยว่า ป. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ น ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงยุติ ฏีกาจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙วรรคแรก ฏีกาจำเลยที่ไม่ได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไรที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่ทราบได้ว่าจำเลยฏีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด เหตุผลใดเป็นฏีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๒๔๙วรรคแรก คำพิพากษาฏีกา๒๓๐๔/๒๕๔๒

๗.บุคคลที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสที่ฝ่าฝืน ปพพ มาตรา ๑๔๕๘ตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕นั้นได้แก่คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันด่านของคู่สมรสหรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้านเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลที่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้ ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายย่อมเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแม้หากการสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสเป็นโมฆะตาม มาตรา ๑๔๙๖ เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตายเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตาย ปพพ มาตรา ๑๖๒๙วรรคสอง คำพิพากษาฏีกา๓๘๙๘/๒๕๔๘

๘. ผู้ตายทำพินัยกรรมยก ทรัพย์ทั้งหมดให้ ต.มารดาแต่เพียงผู้เดียว แต่ ต.มารดาผู้รับพินัยกรรมถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์ทั้งหมดให้นาง ต. ย่อมตกไปตามมาตรา ๑๖๙๘(๑)ทรัพย์มรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา ๑๖๙๙,๑๖๒๐วรรคแรก แม้พินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ ๒ เป็นผู้จัดการมรดกแต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฏีกา ผู้คัดค้านที่ ๒ ตาย การจัดการมรดกเป็นสิทธ์เฉพาะตัวไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ ๒เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตาม มาตรา ๑๔๕๗จึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา ๑๖๒๙วรรคสอง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๓จนผู้ตายถึงแก่ความตายตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อผุ้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเด็กหญิง ญ แม้ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแต่ปรากฏตามสำเนาสูตจิบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะส่งเสียให้การศึกษาให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตายพฤติการณ์แสดงว่า ผู้ตายรับรองเด็กหญิง ญ เป็นบุตรเด็กหญิง ญ จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๖๒๗ และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตาม มาตรา ๑๖๒๙(๑) ผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ.จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ร้องมีสิทธิ์ร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา ๑๗๑๓ ผู้คัดค้านที่ ๑ เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา ๑๖๒๙(๑),๑๕๔๗ มีสิททธิ์รับมรดกผู้ตายคำพิพากษาฏีกา ๓๗๘๕/๒๕๕๒

ข้อสังเกต

๑.เด็กที่เกิดกับชายหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ปพพ มาตรา ๑๕๔๖ “ ให้ถือว่า “ เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายหญิง แต่ไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชาย เด็กจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของฝ่ายชายต่อเมื่อ ชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันภายหลัง บิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตร ปพพ มาตรา ๑๕๔๗ ซึ่ง ปพพ มาตรา ๑๕๕๗ การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด แต่จะอ้างให้เป็นที่เสื้อมสิทธิ์แก่บุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในเวลาตั้งแต่เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาจดทะเบียนสมรส หรือบิดาจดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเด็กเป็นบุตรกรณีที่มีการฟ้องบิดาขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๕,๑๕๕๖

๒. ปพพ มาตรา ๑๔๕๒ ห้ามไม่ให้ทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ซึ่งการสมรสตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๗ คือการจดทะเบียนสมรส ดังนั้น การห้ามทำการสมรสซ้อนคือการห้ามจดทะเบียนสมรสซ้อนนั้นเอง แต่หากว่ามีภรรยาอยู่แล้วแต่ไม่จดทะเบียนสมรสถือไม่ใช่ภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากชายไปจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นจะถือจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ได้

๓.เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสเจ้าหน้าที่จะถามว่าเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อนหรือไม่ หากเราเคยจดทะเบียนสมรสและยังไม่ได้หย่าขาดจากกันแล้วมาจดทะเบียนสมรสใหม่โดยบอกว่าไม่เคยจดทะเบียนสมรส เป็นการแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จดข้อความจดข้อความอันเป็นเท็จลงในทะเบียนซึ่งเป็นเอกสารมหาชนแล้วตาม ปอ มาตรา ๑๓๗,๒๖๗ ผู้เสียหายที่สามารถแจ้งความร้องทุกข์คือ เจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง , ภรรยาคนแรก เพราะตราบใดยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสเป็นโมฆะต้องถือว่าเป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสเป็นสินสมรส และในขณะเดียวกันภรรยาคนที่สองก็เป็นผู้เสียหายที่สามารถดำเนินคดีกับฝ่ายชายได้เพราะเมื่อจดทะเบียนสมรสแล้วทรัพย์ที่เกิดหลังจดทะเบียนสมรสเป็นสินสมรสไม่ว่าใครหาได้หรือใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของเพียงคนเดียวก็ตาม แต่ทางปฏิบัติ ณ ขณะนี้น่าไม่มีปัญหาเพราะใช้ระบบ online ทั่วประเทศสามารถตรวจสอบว่าใครจดทะเบียนสมรสแล้วหรือไม่อย่างไร

๔.การสมรสขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ การสมรสตกเป็นโมฆะตาม ปพพ มาตรา ๑๔๕๒,๑๔๙๕ แต่คำพิพากษาเท่านั้นที่แสดงว่าการสมรสตกเป็นโมฆะ ปพพ มาตรา ๑๔๙๖ ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้การสมรสตกเป็นโมฆะได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๔๙๗ การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา ทั้งไม่ทำให้ชายหญิงที่สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิ์ที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนที่จะรู้เหตุแห่งการสมรสเป็นโมฆะ และหากการสมรสดังกล่าวทำให้ต้องยากจน ไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดหรือก่อนรู้ว่าการสมรสตกเป็นโมฆะ สามารถเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ และการสมรสที่เป็นโมฆะนั้นไม่ก่อให้เกิดสิทธ์ในการรับมรดกของอีกฝ่าย ปพพ มาตรา ๑๔๙๘,๑๔๙๙วรรคสอง,วรรคสาม

๕.คำพิพากษาของศาลที่ชี้ขาดว่า การจดทะเบียนสมรสระหว่างบิดามารดาไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะขณะนั้นบิดายังมีภรรยาเดิมอยู่ไม่ได้หย่าขาดจากกัน(สมรสซ้อน) ต้องถือว่าบุตรที่เกิดขึ้นมาระหว่างการสมรสซ้อนนั้นเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของบิดามารดาตลอดมา มีสิทธิ์รับมรดกบิดา

๖. บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ ๑ ของ ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่า เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่

๗. เมื่อผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฏหมายที่บิดารับรองแล้ว ปพพ มาตรา ๑๖๒๗ “ ให้ถือว่า “ เป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฏหมาย จึงมีสิทธิ์รับมรดกหได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑) ผู้คัดค้านเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาของผู้ตาย เป็นทายาทอันดับสามตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ จึงถูกทายาทอันดับต้น คือบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วที่มีฐานะเสมือนบุตรชอบด้วยกฎหมายตัดไม่ให้รับมรดกได้ตาม ปพพ มาตรา ๑๖๓๐ ดังนั้นผู้คัดค้านจึงไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่ร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก หรือร่วมกับผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ทั้งตาม ปวพ มาตรา ๑๖๑กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็ไมได้แก้ไข เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฏีกาแก้ไขได้ ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้องตาม ปวพ มาตรา ๑๔๒

๘.การที่ชายอยู่กินกับหญิงโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันได้ แสดงความสัมพันธ์ฉันท์สามีภรรยาในที่ต่างๆอย่างเปิดเผย เป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภรรยา มีการจัดงานเลี้ยงฉลองการตั้งครรถ์ เป็นการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรถ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๗ เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิ์รับมรดกตาม ปพพ มาตรา ๑๖๒๙(๑)

๙.บิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน และไม่ได้อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยาก่อนมีการบังคับให้ใช้ ปพพ บรรพ ๕ซึ่งใช้บังคับโดยพรบ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ ๕แห่ง ปพพ๒๔๗๗ จึงไม่ใช่สามีภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายชายจึงไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้ตาย แม้ผู้ตายเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ฝ่ายชายรับรองแล้ว ผลทางกฎหมายมีเพียงให้ถือว่า ผู้ตายเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิ์ได้รับมรดกของบิดาเท่านั้น หามีผลทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นบิดาที่ชอบด้วยกำหมายมีสิทธิ์รับมรดกของบุตรในฐานะทายาทโดยธรรมด้วยไม่

๑๐.บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายจึงไม่มีสิทธิ์คัดค้านหรือร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย และไม่อาจฏีกาโต้แย้งว่า พินัยกรรมเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่มีผลบังคับได้ สิทธิ์ในการโต้แย้งคัดค้านว่าเป็นพินัยกรรมปลอมเป็นสิทธิ์ของทายาทผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก

๑๑.แม้จะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ผู้คัดค้านที่ ๒ ยื่นคำคัดค้านว่าพินัยกรรมที่ผู้ร้องอ้างเป็นพินัยกรรมปลอมเพราะลายมือชื่อในช่องทำพินัยกรรมไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้ตายและไม่ได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงใช้บังคับไม่ได้ ปพพ มาตรา ๑๖๕๕,,๑๕๒ การที่ผู้คัดค้านที่ ๒ ฏีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะซึ่งผู้คัดค้านที่ ๒ ไม่เคยยกขึ้นโต้เถียงเป็นประเด็นไว้ในคำคัดค้านจึงเป็นการฏีกาในข้อที่ไม่ได้ยกกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามไม่ให้ฏีกา ตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙ ศาลฏีกาไม่รับวินิจฉัย พินัยกรรมของผู้ตายมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกและ ปพพ มาตรา ๑๗๑๓วรรคท้ายก็บัญญัติให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามเจตนาของผู้ตาย แม้ผู้คัดค้านที่ ๒ จะเป็นมารดาและทายาทของผู้ตายก็ไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก.

๑๒.แม้เพิ่งคลอดหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องหลังผู้ตายถึงแก่ความตายประมาณ ๘ เดือนซึ่งยังไม่เกิน ๑ ปี นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตาม ปพพ มาตรา ๑๗๕๕ ว่า ผู้คัดค้านเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย กรณีถือได้ว่าเป็นการยื่นคำร้องภายในอายุความมรดก ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตายในฐานะทายาทโดยธรรมตาม ปพพ มาตรา ๑๕๕๘วรรคแรก

๑๓.สิทธิดังกล่าวมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย เมื่อผู้คัดค้านเป็นบุตรจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ ๑ ผู้ร้องซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ทายาทโดยธรรมอันดับ ๓ เป็นอันดับถัดลงมา ไม่มีสิทธิ์ในทรัพย์มรดกผู้ตาย ปพพ มาตรา ๑๖๒๙,๑๖๓๐

๑๔.คำว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย” ที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก ตาม ปพพ มาตรา ๑๗๑๓ นั้น หมายถึงผู้ได้รับประโยชน์จากทรัพย์มรดกโดยตรงมาตั้งแต่ต้น คือขณะเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย หาใช่เกิดขึ้นในภายหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างคู่กรณีดังคดีนี้ไม่

๑๕. ปพพ มาตรา ๑๖๒๙ บัญญัติถึงบิดามารดาบุตร ว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายคือบิดาจดทะเบียนสมรสกับมารดา ถ้าไม่ใช่ก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิ์รับมรดกซึ่งกันละกัน บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิ์รับมรดกบุตร

๑๖.การที่ศาลชั้นต้นวินินิจฉัยว่า ป. ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ น ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ปัญหาดังกล่าวจึงยุติ ส่วน ฏีกาจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความจึงไม่ใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ปวพ มาตรา ๒๔๙วรรคแรก

๑๗. ฏีกาจำเลยที่ไม่ได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไรที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่ทราบได้ว่าจำเลยฏีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด เหตุผลใดเป็นฏีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ปวพ มาตรา ๒๔๙วรรคแรก

๑๘.บุคคลที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสที่ฝ่าฝืน ปพพ มาตรา ๑๔๕๘ตกเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๔๙๕นั้นได้แก่คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันด่านของคู่สมรสหรืออัยการ เมื่อผู้คัดค้านเป็นน้องร่วมบิดามารดาเดียวกับผู้ตายจึงไม่ใช่บุคคลที่อาจขอให้ศาลพิพากษาว่า การสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะได้

๑๙.ผู้ร้องจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายย่อมเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย แม้หากการสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่ผู้คัดค้านอ้างก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่า การสมรสเป็นโมฆะตาม มาตรา ๑๔๙๖ เมื่อยังไม่มีฝ่ายใดฟ้องและศาลยังไม่มีคำพิพากษาว่าการสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องเป็นโมฆะ การสมรสระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องยังคงมีอยู่ ผู้ร้องยังคงเป็นคู่สมรสของผู้ตายเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่ง มีสิทธิ์รับมรดกของผู้ตาย ปพพ มาตรา ๑๖๒๙วรรคสอง

๒๐.ผู้ตายทำพินัยกรรมยก ทรัพย์ทั้งหมดให้ ต.มารดาแต่เพียงผู้เดียว แต่ ต.มารดาผู้รับพินัยกรรมถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ยกทรัพย์ทั้งหมดให้นาง ต. ย่อมตกไปตามมาตรา ๑๖๙๘(๑)ทรัพย์มรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา ๑๖๙๙,๑๖๒๐วรรคแรก แม้พินัยกรรมมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ ๒ เป็นผู้จัดการมรดกแต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฏีกา ผู้คัดค้านที่ ๒ ตาย การจัดการมรดกเป็นสิทธ์เฉพาะตัวไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ ๒เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้ เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตาม มาตรา ๑๔๕๗จึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตาม มาตรา ๑๖๒๙วรรคสอง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า บุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภรรยาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๒๓จนผู้ตายถึงแก่ความตายตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อผุ้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเด็กหญิง ญ แม้ไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายแต่ปรากฏตามสำเนาสูตจิบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะส่งเสียให้การศึกษาให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตายพฤติการณ์แสดงว่า ผู้ตายรับรองเด็กหญิง ญ เป็นบุตรเด็กหญิง ญ จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๖๒๗ และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตาม มาตรา ๑๖๒๙(๑) ผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ.จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ร้องมีสิทธิ์ร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา ๑๗๑๓ ผู้คัดค้านที่ ๑ เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร จึงเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา ๑๖๒๙(๑),๑๕๔๗ มีสิทธิ์รับมรดกผู้ตาย

ติดต่อทนายอธิป 091 712 7444

ทนายอธิป ชุมจินดา

Facebook Comments