Home คดีอาญา ความหมายของการกระทำชำเรา ตามคำพิพากษาศาลฎีกาใหม่

ความหมายของการกระทำชำเรา ตามคำพิพากษาศาลฎีกาใหม่

8931

ความหมายของการกระทำชำเรา ตามคำพิพากษาศาลฎีกา

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๕๖๗/๒๕๖๒

พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๑๘) ของมาตรา ๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา “(๑๘)” “กระทําชําเรา” หมายความว่า กระทําเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทําโดยการใช้อวัยวะเพศของ ผู้กระทําล่วงล้ําอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความใหม่แทนแต่ความใหม่มิได้บัญญัติให้การใช้สิ่งอื่นใด กระทํากับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น เป็นความผิดฐานข่มขืนกระทําชําเรา และมาตรา ๙ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗๙ แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความใหม่แทน โดยวรรคสี่ บัญญัติว่า “ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสาม เป็นการกระทําโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะ อื่นซึ่งมิใช่อวัยวะเพศล่วงล้ําอวัยวะเพศหรือทวารหนักของบุคคลนั้น ผู้กระทําต้องระวางโทษ…” จากบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ดังกล่าวยังคงบัญญัติว่า การกระทําโดยใช้วัตถุหรืออวัยวะอื่นซึ่งมิใช่อวัยวะ เพศล่วงล้ําอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่นยังเป็นความผิดอยู่ มิได้เป็นเรื่องที่กฎหมายบัญญัติ ในภายหลังบัญญัติให้การกระทําเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรคสอง เพียงแต่เปลี่ยนฐานความผิดจากข่มขืนกระทําชําเราเป็นความผิดอนาจารโดยการล่วงล้ํา เท่านั้น ซึ่งตามสภาพทางธรรมชาติในการกระทําความผิดของจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๔ วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) เป็นคุณแก่จําเลยมากกว่าการกระความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๒๗๗ วรรคสาม (เดิม) การปรับบทลงโทษจําเลยตามมาตรา ๒๗๙ วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) จึงเป็นคุณแก่จําเลยมากกว่า แต่โทษตามมาตรา ๒๗๗ วรรคสาม (เดิม) ซึ่งใช้บังคับ ขณะที่จําเลยกระทําความผิดมีระวางโทษจําคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นสี่พันบาท ถึงสี่หมื่นบาท ส่วนโทษตามมาตรา ๒๗๙ วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) มีระวางโทษจําคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นถึงสี่แสนบาท เห็นได้ว่ากฎหมายเดิมและกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวาง โทษจําคุกเท่ากัน แต่โทษปรับตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีระวางโทษปรับที่สูงกว่าโทษปรับตาม กฎหมายเดิม ต้องถือว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จําเลยในส่วนนี้ จึงต้องลงโทษจําเลยตาม กฎหมายเดิม อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จําเลยไม่ว่าในทางใดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา ๓

พิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๙ วรรคห้า (ที่แก้ไขใหม่) โดยให้ลงโทษจําเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๗๗ วรรคสาม (เดิม)

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี@lawyers.in.th

 

Facebook Comments