Home ทั้งหมด อายุต่ำกว่า 15 ปี ทำพินัยกรรมเป็นโมฆะ (เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น)หรือไม่

อายุต่ำกว่า 15 ปี ทำพินัยกรรมเป็นโมฆะ (เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น)หรือไม่

17485

อายุต่ำกว่า 15 ปี ทำพินัยกรรมเป็นโมฆะ (เสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น)หรือไม่

บทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้ทําพินัยกรรม นั้น ผู้ที่จะทําพินัยกรรมได้ จะต้องมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว เพราะมาตรา ๒๕

บัญญัติว่า “ผู้เยาว์อาจทําพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์” การทําพินัยกรรมของผู้เยาว์ ดังกล่าว สามารถทําได้เพียงโดยลําพัง ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เหตุที่กฎหมายกําหนดให้ผู้เยาว์ที่มีอายุครบสิบห้าปีบริบูรณ์สามารถทําพินัยกรรมได้เอง เพราะ ผู้ที่มีอายุสิบห้าปี นั้น อยู่ในภาวะที่รู้จักผิดชอบพอที่จะทําพินัยกรรมได้แล้ว หากผู้เยาว์มีอายุ ไม่ครบกําหนดดังกล่าว มาตรา ๑๗๐๓ บัญญัติว่า “พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุไม่ครบสิบห้าปี บริบูรณ์ทําขึ้นนั้น เป็นโมฆะ”

หลักการดังกล่าวนี้เป็นบทยกเว้นการทํานิติกรรมของผู้เยาว์โดยทั่วไป เพราะ ผู้เยาว์จะทํานิติกรรมใด ๆ ได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน มิฉะนั้น นิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆี่ยะ เว้นแต่มีบทบัญญัติของกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นตาม มาตรา ๒๑ หรือผู้แทนโดยชอบธรรมอาจทํานิติกรรมแทนผู้เยาว์ได้ อย่างไรก็ตามแม้ผู้เยาว์มีอายุ สิบห้าปีบริบูรณ์แล้ว ผู้เยาว์ก็หาอาจทําพินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่ผู้ปกครองได้ไม่ ซึ่ง มาตรา ๑๖๕๒ บัญญัติว่า “บุคคลผู้อยู่ในความปกครองนั้น จะทําพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตน ให้แก่ผู้ปกครองหรือคู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องของผู้ปกครองไม่ได้ จนกว่า ผู้ปกครองจะได้ทําคําแถลงการณ์ปกครองตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๑๕๗๗ (ปัจจุบัน มาตรา ๑๕๙๘/๑๑) และมาตราต่อ ๆ ไป แห่งประมวลกฎหมายนี้เสร็จสิ้นแล้ว”

มีข้อยกเว้นอยู่ว่า

เหตุที่มีข้อห้ามดังกล่าว เพราะตามมาตรา ๒๕ ให้อํานาจผู้เยาว์ซึ่งมีอายุตั้งแต่ สิบห้าปีบริบูรณ์ ทําพินัยกรรมได้ แต่ผู้เยาว์ ซึ่งมีผู้ปกครองอาจตกอยู่ใต้อํานาจหรือเหตุจูงใจ อื่น ๆ ของผู้ปกครอง กฎหมายจึงบัญญัติห้ามไว้ มิให้ผู้เยาว์นั้นทําพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ ผู้ปกครอง ซึ่งอาจจะเกี่ยวดองเป็นญาติหรือไม่ได้เป็นญาติกับผู้เยาว์ก็ได้ ตามมาตรา ๑๕๔๕, ๑๕๔๖ และ มาตรา ๑๕๔๗ ถ้าพินัยกรรมหรือข้อกําหนดพินัยกรรมใด้ทําขึ้นขัดต่อบทบัญญัติ แห่ง มาตรา ๑๖๕๒ ดังกล่าว ข้อกําหนดนั้น ย่อมเป็นโมฆะตามมาตรา ๑๗๐๕

ผู้อยู่ในความปกครอง คือ ผู้เยาว์ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีมารดาหรือบิดา มารดาถูกถอนอํานาจปกครองตามมาตรา ๑๕๕๕

ผู้ปกครอง คือ บุคคลที่ศาลตั้ง หรือที่บิดามารดาซึ่งตายทีหลัง ได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรม ให้เป็นผู้ปกครองบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอํานาจปกครอง ตามมาตรา ๑๕๔๕ และ มาตรา ๑๕๕๖

ผู้ปกครอง กรณีนี้หมายจํากัดเฉพาะที่มิใช่บิดามารดา ส่วนบิดามารดานั้น ตาม ป.พ.พ. บรรพ ๕ ได้บัญญัติให้เป็นผู้ใช้อํานาจปกครอง

สรุป  ผู้เยาว์อาจทําพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์

มีปัญหาคดีความปรึกษาทนายความกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

 

Facebook Comments