หากผู้เสียหายเป็นผู้มีอำนาจในการสอบสวนเอง แล้วผู้นั้นจะมีอำนาจสอบสวนหรือไม่ เนื่องจากหากทำการสอบสวนเองได้แล้วจะเป็นการขัดต่อหลักการขัดกันของตำแหน่งหน้าที่หรือไม่ เพราะตนเข้าไปเป็นผู้เสียหายเองเสียแล้ว

เรื่องนี้เคยมีคำพิพากษาฎีกาที่ 292/2482 วินิจฉัยว่า พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน ในคดีที่ตนมีส่วนได้เสียได้โดยให้เหตุผลว่า….
” …. ไม่มีกฎหมายห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนในคดีที่ตนมีส่วนได้เสีย คดีนี้จึงถือได้ว่าได้มีการร้องทุกข์และมีการสอบสวนตามกฎหมายแล้ว ที่ศาลชั้นต้นยกเอากฎหมายว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษามาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้นไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองเสีย ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่”

คำวินิจฉัยดังกล่าวน่าจะมีข้อโต้แย้งได้เนื่องจากเมื่อผู้เสียหายเป็นพนักงานสอบสวนเสียเองแล้ว ก็จะต้องให้การเป็นพยานกับตนเอง ย่อมจะเกิดความไม่เป็นธรรมและไม่เป็นกลาง ซึ่งในคดีนี้ศาลล่างเคยเห็นว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้เสียหายเอง หามีอำนาจที่จะทำการสอบสวนในส่วนที่ตนมีส่วนได้เสียหรือไม่ จึงพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ โดยศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า
“….. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(6)(7)(11) พนักงานสอบสวนเป็นผู้เสียหายเอง หามีอำนาจที่จะทำการสอบสวนในส่วนที่ตนมีส่วนได้เสียหรือไม่ จริงอยู่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้อย่างชัดแจ้ง แต่ย่อมเทียบเคียงกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 11, 14 ว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษาได้ งานในหน้าที่กับส่วนตัวโดยพฤตินัยแยกไม่ออก ถ้าพนักงานสอบสวน สอบสวนคดีของตนเองเสียแล้ว ยากนักจะให้ความยุติธรรม เมื่อนาย วร ไม่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์และการสอบสวนแล้ว การร้องทุกข์และการสอบสวนก็ไม่เกิด พนักงานอัยการจะฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 313 ไม่ได้”

ติดต่อทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายพีท 089-595-5014
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments