“ในคดีอาญานั้นเมื่อถูกจับดำเนินคดีไม่ว่าจะในฐานะผู้ต้องหาหรือจำเลย เมื่อถูกตำรวจจับกุม ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ต้องหาอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้”

คำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าเป็นถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิ

คำพิพากษาฎีกาที่ 2443/2560

ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ห้ามรับฟังคำรับสารภาพชั้นจับกุม

มาตรา 227/1 พยานบอกเล่า

ในชั้นจับกุมจำเลยให้การว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยและให้ น. เก็บไว้ คำให้การดังกล่าวเป็นถ้อยคำรับสารภาพของจำเลยผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ส่วนคำให้การในชั้นจับกุมของ น. ที่ให้การว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยที่นำมาให้ น. เก็บไว้ที่ตัวเพื่อรอจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไป เป็นถ้อยคำอื่นและรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
คำให้การชั้นสอบสวนของ น. ที่ให้การว่า จำเลยได้มอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้ น. ถือไว้ก่อน เนื่องจากจำเลยไปขนไม้มาเก็บ ทำนองว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลย เป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดส่วนคำให้การรับสารภาพชั้นสอบสวนของจำเลยเป็นพยานบอกเล่าซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานบอกเล่า พยานซัดทอด ศาลจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังและไม่ควรเชื่อพยานหลักฐานนั้นโดยลำพังเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่นมีพฤติการณ์พิเศษหรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนคำซัดทอดและคำให้การดังกล่าวทั้ง น. และจำเลยให้การในชั้นสอบสวนแตกต่างกันเกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน โดย น. ให้การว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลย แต่จำเลยให้การว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยและ น. มีไว้ร่วมกันจึงทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของ น. ไม่มีเหตุผลอันหนักแน่นที่จะรับฟังได้ พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบเป็นที่สงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง

สรุป

1. ถ้อยคำของผู้ถูกจับในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับจะรับฟังได้เพียงใดนั้นแยกได้เป็น 2 กรณี คือ
1.1 คำให้การรับสารภาพว่าตนได้กระทำความผิด ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานโดยเด็ดขาดไม่ว่าจะมีการแจ้งสิทธิให้ผู้ถูกจับทราบหรือไม่ก็ตาม
1.2 แม้บันทึกการจับกุมกระทำขึ้นเนื่องจากจำเลยถูกจับคดีอื่นก็รับฟังถ้อยคำรับสารภาพในชั้นจับกุมไม่ได้
2. ถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามกฎหมายแก่ผู้ถูกจับแล้ว สิทธิดังกล่าวได้แก่ “ผู้ถูกจับมีสิทธิจะไม่ให้การหรือให้การก็ได้ และถ้อยคำของผู้ถูกจับอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ และผู้ถูกจับมีสิทธิพบและปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ”
3. ถ้อยคำอื่นอาจเป็นถ้อยคำที่นำไปสู่การพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับก็ได้ เช่น รับว่าอาวุธของกลางเป็นของตนหรือรับว่าตนมีสาเหตุทะเลาะวิวาทกับผู้ตายก่อนเกิดเหตุ

สำหรับคำรับสารภาพ ของผู้ต้องหาว่าตนได้กระทำความผิดในชั้นจับกุมนั้น กฎหมายห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน และหากผู้ต้องหาจะให้การใหม่หรือกลับคำให้การเมื่อใดก็ได้อีกเช่นเดียวกัน

แต่อย่างไรก็ตามการกลับคำให้การของผู้ต้องหาจะต้องมีเหตุผลหรือหลักฐานสนับสนุนว่า เหตุใดจึงกลับคำให้การเช่นนั้น หากผู้ต้องหาหรือจำเลยให้การกลับไปกลับมาจะเป็นผลร้ายต่อผู้ต้องหามากกว่าผลดี

ดังนั้น

ก่อนจะให้การต่อสู้คดี ผู้ต้องหาควรจะปรึกษาทนายความไว้ก่อนและสิ่งที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยกล่าวอ้างต้องไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย สามารถพิสูจน์และนำมาสู้คดีได้ เพราะมิฉะนั้นแล้วศาลจะไม่รับฟังคำให้การและอาจจะเป็นผลเสียกับผู้ต้องหาเสียเอง

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments