โทษทางอาญามีอยู่ 5 สถาน คือ โทษประหารชีวิต โทษจำคุก โทษกักขัง โทษปรับ และโทษริบทรัพย์สิน

โทษประหารชีวิต
จำเลยจะถูกประหารชีวิตต่อเมื่อพ้น 60 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษาอันถึงที่สุด เว้นแต่จำเลยจะทูลเกล้าฯ ถวายเรื่องราวขอให้พระราชทานอภัยโทษก็จะได้รับการรอการประหารชีวิตไว้จนกว่าจะพ้น 60 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยถวายเรื่องราว แต่ถ้าทรงยกเรื่องราวนั้นเสียก็จะดำเนินการประหารชีวิตได้เลย

โทษจำคุก จะถูกขังไว้ในเรือนจำ การคำนวณระยะเวลาจำคุกจะเริ่มนับวันเริ่มจำคุกรวมเข้าด้วยและนับเป็นหนึ่งวันเต็มโดยไม่คำนึงถึงจำนวนชั่วโมงถ้าระยะเวลาจำคุกกำหนดเป็นเดือนก็นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน ถ้ากำหนดเป็นปี ก็คำนวณตามปีปฏิทิน

โทษกักขัง จำเลยจะถูกกักขังไว้ในสถานที่กักขังซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ แต่มิใช่เรือนจำ โดยปกติจะนำไปกักขังที่สถานีตำรวจหรือถ้าเจ้าพนักงานตำรวจเห็นสมควรก็อาจจะส่งตัวไปกักขังไว้ ณ สถานกักขังกลาง จังหวัดปทุมธานี ก็ได้ หรือ ถ้าศาลเห็นสมควรก็อาจจะสั่งในคำพิพากษาให้กักขังไว้ในที่อาศัยของจำเลยเอง หรือของผู้อื่นที่ยินยอมรับจำเลยไว้

โทษปรับ ถ้าจำเลยไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ศาลพิพากษาก็จะถูกยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับ หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับในวันฟังคำพิพากษา ศาลอาจสั่งให้กักขังแทนค่าปรับได้ทันที โดยถือว่าเป็นการกักขังแทนค่าปรับไปพลางก่อน เว้นแต่จำเลยจะขอประกันตัวเพื่อหาเงินมาชำระค่าปรับ

โทษริบทรัพย์ เป็นโทษซึ่งกระทำแก่ทรัพย์สินที่ถูกยึดไว้เป็นของกลางในกรณีที่ศาลสั่งริบทรัพย์สิน หากเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด และทรัพย์สินเหล่านี้เป็นทรัพย์สินของผู้อื่นซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด เจ้าของทรัพย์ที่แท้จริงอาจยื่นคำร้องขอคืนต่อศาลได้ การยื่นคำร้องขอทรัพย์สินคืนนี้โดยปกติยื่นได้ภายในกำหนด 1 ปีในกรณีที่เป็นทรัพย์สินซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่น หรือเฮโรอีน ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นของผู้ใด ศาลจะสั่งริบทั้งสิ้น

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments