หลักกฎหมายที่ว่า #ความยินยอมไม่เป็นละเมิด เป็นหลักมาช้านาน เพราะเมื่อผู้เสียหายสมัครใจเข้าเสี่ยงภัย หรือยอมเข้ารับความเสียหายเอง ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นผู้เสียหาย โดยนิตินัย โดยไม่ต้องคำนึงว่าความยินยอมนั้นขัดต่อกฎหมาย หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เพราะไม่ใช่การทำนิติกรรมสัญญา

… แต่ปัจจุบันหลักกฎหมายได้เปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว โดยความยินยอมนั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเพราะเห็นว่าหลักดังกล่าวไม่เป็นธรรมต่อผู้เสียหาย

… กล่าวคือ ในมาตรา 9 พรบว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ. ศ. 2540 ได้บัญญัติว่า… ความตกลงหรือความยินยอมของผู้เสียหาย สำหรับการกระทำที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จะนำมาอ้างเป็นข้อยกเว้น หรือจำกัดความรับผิดเพื่อละเมิดมิได้

… ฉะนั้นหากเป็นการกระทำโดยได้รับความยินยอม ที่ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนการกระทำนั้น #ย่อมเป็นละเมิด
#การให้ความยินยอมต้องเป็นไปโดยสมัครใจ ไม่ใช่เกิดจากการฉ้อฉล หลอกลวง ข่มขู่ หรือ สำคัญผิด

… เช่น สามีกลับบ้านดึกเป็นประจำ เพื่อนบ้านเข้าสวมรอย ภริยานึกว่าสามีกลับแล้วยอมให้ร่วมประเวณี กรณีนี้ถือว่าไม่ขัดขืนไม่ได้ #เพราะเขาสำคัญผิดจึงเป็นละเมิด

… เช่น แพทย์บอกคนไข้ว่าตรวจภายในต้องใช้เครื่องมือแพทย์สอดเข้าไปตรวจ #ถ้าแพทย์ใช้เครื่องมือแพทย์ตรวจก็ถือว่ายินยอมไม่เป็นละเมิด

…แต่ถ้าเอาสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่เครื่องมือแพทย์ เช่น อวัยวะสืบพันธุ์ของแพทย์สอดเข้าไป ก็ถือว่าไม่ได้ให้ความยินยอมแล้ว #แต่เป็นการหลอกลวงทำให้เขาสำคัญผิดเป็นละเมิด

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายไผ่ 095-781-9477
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments