กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ประมวลรัษฎากร

มาตรา 42 เงินได้พึงประเมินประเภทต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน

(13) ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด เงินที่ได้จากการประกันภัย หรือการฌาปนกิจสงเคราะห์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2516

โจทก์จำเลยต่างฟ้องคดีซึ่งกันและกันทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อมาทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีแพ่งที่โจทก์ฟ้องจำเลยคืนค่าหุ้นและแบ่งผลกำไร โดยจำเลยยอมชำระเงินให้โจทก์ 250,000 บาท และโจทก์จำเลยยอมเลิกคดีที่พิพาทกันทุกคดีเงินจำนวน 250,000 บาทที่โจทก์ได้รับเพื่อเป็นการระงับข้อพิพาทในคดีที่โจทก์ฟ้องขอคืนค่าหุ้นและแบ่งผลกำไร อันเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญา จึงไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิด แม้จะมีคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยหาว่าปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม เป็นส่วนช่วยให้การประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นผลสำเร็จลงได้ แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเอาค่าเสียหายอะไรในคดีอาญานั้นด้วย จะถือว่าเงินนั้นเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดยังไม่ได้ เงินจำนวน 250,000 บาทนี้จึงไม่เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันจะได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร

กล่าวโดยสรุป

“เงินค่าสินไหมทดแทน”เป็นเงินได้พึงประเมินให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 42 (13) แต่ตามฎีกานี้เงินจำนวน 250,000 บาทที่โจทก์ได้รับเป็นเงินเพื่อระงับข้อพิพาท จึงไม่เป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดอันจะได้รับยกเว้นจากการเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายไผ่ 095-781-9477
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments