Home บทความ เรื่องควรรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายการขุดและถมดิน

เรื่องควรรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายการขุดและถมดิน

995

ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการขุดและถมดิน

การขุดและถมดินในที่ดินนั้น แม้จะเป็นการขุดหรือถมดินในที่ดินของเราเองแต่ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายกับที่ดินข้างเคียงได้เช่น การขุดดินในที่ดินของเราอาจทำให้ที่ดินข้างเคียงทรุดได้ หรือหากถมดินก็อาจทำให้ดินหรือน้ำจากที่ดินของเราไหลไปตกยังที่ดินข้างเคียงได้ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อป้องกันผลกระทบ และเพื่อความปลอดภัยของที่ดินข้างเคียงกฎหมายจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการขุดและถมดินไว้ในพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 ดังนี้

1.การขุดดินตามมาตรา 17 แพ่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 กำหนดให้การขุดดินที่มีความลึกจากระดับดินเกิน 3 เมตร หรือพื้นที่ปากบ่อดินเกิน 10,000 ตารางเมตร หรือมีความลึกหรือพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศ กำหนด จะต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนจึงจะสามารถขุดดินได้โดยชอบด้วยกฎหมาย โดยเอกสารแจ้งการขุดดินต้องมีข้อมูลดังนี้

(1) แผนผังบริเวณที่ประสงค์จะทำการขุดดิน

(2) แผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ดินบริเวณข้างเคียง

(3) รายการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 (คือรายการตามกฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ข้อ 2 – 11)

(4) วิธีการขุดดินและการถมดิน ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ข้อ 7 – 11

(5) ระยะเวลาทำการขุดดิน ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ข้อ 3

(6) ชื่อผู้ควบคุมงานซึ่งจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (กฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ข้อ 2 และ 4)

(7) ที่ตั้งสำนักงานของผู้แจ้ง

(8) ภาระผูกพันต่างๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่จะทำการขุดดิน

(9) เอกสารและรายละเอียดอื่นๆ ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

2.การเว้นระยะและการใช้ความระมัดระวังในการขุดดินตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543

กำหนดให้การขุดดินโดยมีความลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 3 เมตร เมื่อขุดดินใกล้แนวเขตที่ดินของผู้อื่นในระยะน้อยกว่าสองเท่าของความลึกของบ่อดินที่จะขุดดิน ต้องจัดการป้องกันการพังทลายของดินตามวิสัยที่สมควรกระทำ ประกอบกับกฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ข้อ 7 – 11 ซึ่งได้กำหนดระยะห่างดังกล่าวและการใช้ความระมัดระวังในการขุดไว้ด้วย

3.การถมตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543

การถมดินโดยมีความสูงเกินกว่าระดับที่ดินต่างเจ้าของที่อยู่ข้างเคียง และมีพื้นที่ของเนินดินไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรือมีพื้นที่ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศ กำหนด ต้องจัดให้มีการระบายน้ำเพียงพอที่จะไม่เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ข้างเคียงหรือบุคคลอื่น

พื้นที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นประกาศ กำหนด นั้น ต้องไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร แต่หากต้องการถมดินที่มีพื้นที่เกิน 2,000 ตารางเมตร นอกจากจะต้องจัดให้มีการระบายน้ำแล้ว ต้องแจ้งการถมดินนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นด้วย

และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตราการป้องกันการพังทลายของดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการขุดดินหรือถมดิน พ.ศ. 2548 ข้อ 12 – 18 ด้วย

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายวิศวะ

โทรโทร 086-807-5928

อ่านบทความเพิ่มเติม https://www.englawyers.com/

 

 

Facebook Comments