Home ข่าวสาร ลักษณะสำคัญของสิทธิเก็บกิน

ลักษณะสำคัญของสิทธิเก็บกิน

976

ลักษณะสำคัญของสิทธิเก็บกิน

สิทธิเก็บกิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1417 วางหลักว่า “อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินอันเป็นเหตุให้ผู้ทรงสิทธินั้นมีสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินนั้น

ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน

ผู้ทรงสิทธิเก็บกินในป่าไม้ เหมืองแร่ หรือที่ขุดหิน มีสิทธิทำการแสวงประโยชน์จากป่าไม้ เหมืองแร่ หรือที่ขุดหินนั้น”

จากมาตรา 1417 ข้างต้น สิทธิเก็บกินหมายถึง สิทธิที่บุคคลมีสิทธิครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่นได้ โดยสิทธิเก็บกินมีลักษณะสำคัญที่น่าพิจารณาดังนี้

1.สิทธิเก็บกินเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่งที่เป็นการลดทอนอำนาจของกรรมสิทธิ์มากกว่าทรัพยสิทธิอื่นๆ

ไม่ว่าจะเป็นสิทธิครอบครอง สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน เป็นต้น เพราะสิทธิครอบครอง สิทธิใช้สอย สิทธิถถือเอาประโยชน์ต่างๆ  รวมทั้งสิทธิในการจัดการอันเป็นบริวารของกรรมสิทธิ์ที่ผู้ทรงสิทธิเก็บกินล้วนมีสิทธิดังกล่าว โดยเจ้าของอสังหาริมทรัพย์หรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะยังคงเหลือเพียงสิทธิที่จะจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์นั้นเท่านั้น และนิติบุคคลก็สามารถเป็นผู้ทรงสิทธิเก็บกินได้

2.สิทธิเก็บกินต้องเป็นการใช้หรือถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นโดยต้องมิได้มีการระบุหรือจำกัดการใช้หรือถือเอาประโยชน์เฉพาะอย่างไว้ กล่าวคือ ต้องเป็นการใช้หรือถือเอาประโยชน์โดยไม่มีข้อจำกัด ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะเป็นส่วนที่แตกต่างกับภาระติดพันในอังหาริมทรัพย์เพราะเนื่องจากภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์จะต้องเป็นการได้ใช้หรือถือเอาประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์เฉพาะอย่างตามที่ระบุไว้ในนิติกรรมก่อตั้งภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น

3.การได้มาซึ่งสิทธิเก็บกินต้องเป็นการได้มาโดยทางนิติกรรมเท่านั้น ไม่สามารถได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมได้ ดังนั้นการได้มาซึ่งสิทธิเก็บกินจึงต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง คือการได้มาซึ่งสิทธิเก็บกินจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การได้มาจึงจะบริบูรณ์เป็นทรัพยสิทธิที่สามารถใช้ยันต่อบุคคลทั่วไปได้ หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่งแล้ว จะใช้บังคับกันได้เฉพาะคู่กรณีเท่านั้น

4.การระงับแห่งสิทธิเก็บกิน

4.1 กรณีคู่กรณีตกลงเลิกสิทธิเก็บกินย่อมทำได้โดยจดทะเบียนตามมาตรา 1301 ประกอบมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง

4.2 สิทธิเก็บเป็นสิทธิเฉพาะตัวหากผู้ทรงสิทธิเก็บกินตาย สิทธิเก็บกินย่อมสิ้นไปด้วยตามมาตรา 1418 วรรคท้าย “ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย ท่านว่าสิทธินั้นย่อมสิ้นไปเสมอ” แต่อย่างไรก็ดีผู้ทรงสิทธิเก็บกินสามารถโอนสิทธิแก็บกินได้แต่ไม่สามารถโอนกันโดยการรับมรดกเมื่อผู้ทรงสิทธิเก็บกินตายได้

4.3 เมื่อทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งสิทธิสลายไป ตามมาตรา 1419

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายวิศวะ

โทร 086-807-5928

อ่านบทความเพิ่มเติม https://www.englawyers.com/

Facebook Comments