Home บทความคดีแพ่ง สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ แต่ไม่มีสัญญาเงินกู้ ต้องรับผิดหรือไม่

สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ แต่ไม่มีสัญญาเงินกู้ ต้องรับผิดหรือไม่

832

สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ แต่ไม่มีสัญญาเงินกู้ ต้องรับผิดหรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ 9843/2557

จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับมอบให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินยืม แม้โจทก์ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินโจทก์ และเช็คไม่ถือว่าเป็นหลักฐานในการกู้ยืมเงิน ก็คงมีผลตามมาตรา 653 ว่าโจทก์จะฟ้องร้องให้บังคับคดีการกู้ยืมเงินไม่ได้ แต่หนี้เงินกู้ยังอยู่ ไม่มีผลทำให้หนี้เงินกู้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็คที่จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย โจทก์เป็นผู้เรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับ จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้แก่โจทก์ตามมาตรา 900 มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989

สรุป

ต้องรับผิดในทางแพ่งเพราะมีหนี้ในที่ชอบด้วยกฎหมายจึงต้องรับผิด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้แก่โจทก์ตามมาตรา 900 มาตรา 914 ประกอบมาตรา 989

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานนคร สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ทนายความ
สำนักงานกฎหมายปรัชญาเศรษฐ์ ถนนร่มเกล้า ซอย10 แขวง เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
หมู่บ้านศุภาลัย พาร์ควิลล์3 ซอย4 (อยู่ระหว่างซอย10 และซอย 8)
บ้านเลขที่ 290/221 โทร 0899811406 ครับ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://www.byslaw.com/

 

Facebook Comments