Home คดีครอบครัว ผัวนอนละเมอ หยิบมีดมาแทงเมียตาย ผิดฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาหรือไม่

ผัวนอนละเมอ หยิบมีดมาแทงเมียตาย ผิดฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาหรือไม่

6647

ผัวนอนละเมอ หยิบมีดมาแทงเมียตาย ผิดฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาหรือไม่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน บังเอิญทนายกฤษดา อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แล้วเห็นว่ามีเนื้อหาที่น่าสนใจเลยขออนุญาตหยิบยกมาฝากเชิญอ่านได้เลยครับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๙๐/๒๕๖๒

หลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ป.อ. เจตนา (มาตรา ๕๙) ป.วิ.อ. จำเลยให้การรับสารภาพ (มาตรา ๑๗๖ วรรคหนึ่ง)

โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ เวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยโดยมีเจตนาฆ่า ใช้อาวุธมีดปลายแหลมกว้าง ๒ นิ้ว ยาวรวมด้ามประมาณ ๑๒ นิ้ว แทงนาง น. ซึ่งเป็นภริยาหลายครั้ง ที่บริเวณหน้าอกขวาและซ้าย ไหปลาร้าซ้าย มือขวาและซ้าย อันเป็นอวัยวะสำคัญ มีแผลฉีกขาด ลึกถึงปอด เป็นเหตุให้นาง น. ถึงแก่ความตาย เจ้าพนักงานยึดอาวุธมีดที่จำเลยใช้กระทำความผิด เป็นของกลาง ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓, ๒๘๘ ริบอาวุธมีดปลายแหลม ของกลาง

จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้ว พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๔๘ จำคุก ๑๕ ปี จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษ ให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจำคุก ๗ ปี 5 เดือน ริบอาวุธมีดของกลาง จำเลยฎีกา

ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นฎีกา รับฟังเป็นยุติว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุ ขณะที่ผู้ตายนอนอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุ จำเลยซึ่งเป็นสามีของ ผู้ตายใช้มีดเป็นอาวุธแทงผู้ตายที่บริเวณหน้าอกขวาและซ้าย ไหปลาร้า มือขวาและซ้าย เป็นเหตุให้ ผู้ตายถึงแก่ความตาย คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยแทงผู้ตายโดยรู้สำนึก

ในการกระทำหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า การกระทำของจำเลยเป็นการนอนละเมอในช่วงหลับลึก จำเลยไม่รู้สึกในการที่กระทำความผิด อันจะถือว่าจำเลยประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลมิได้ การกระทำของจำเลยจึงขาดเจตนา ไม่เป็นความผิดนั้น เห็นว่า โจทก์มีเด็กชาย อ. มาเบิกความ เป็นพยานว่า เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลาประมาณ ๒ นาฬิกา ขณะที่พยานนอนหลับ อยู่ที่บ้านของจำเลยนั้น พยานนอนหลับอยู่กับจำเลยและผู้ตาย โดยมีจำเลยนอนอยู่ด้านขวา ผู้ตายนอนอยู่ตรงกลางและพยานอยู่ด้านซ้ายของผู้ตาย ขณะพยานนอนหลับนั้น พยานได้ยินเสียง ผู้ตายร้องตะโกนว่าช่วยด้วย พยานตกใจลุกขึ้นไปเปิดไฟ พยานเห็นจำเลยนอนถือมีดปลายแหลม มีความยาวเฉพาะมีดประมาณ 50 เซนติเมตร กำลังแทงตัวเอง และเห็นผู้ตายนอนมีเลือดออก ที่บริเวณลำตัว มีเลือดเปรอะเปื้อนอยู่ที่มุ่งที่กางอยู่ พยานวิ่งไปที่จำเลยและคว้าอาวุธมีดที่จำเลย ถืออยู่ เมื่อได้มีดแล้วจึงโยนทิ้งไปที่หน้าต่างของบ้าน จากนั้นวิ่งไปเรียกญาติ ในชั้นสอบสวนพยาน ให้การต่อเจ้าพนักงานตำรวจตามบันทึกคำให้การ และโจทก์มีบันทึกคำให้การของนาย น. มาแสดง ซึ่งนาย น. ให้การว่า จากการสอบถามข้อมูลจากเด็กชาย อ. หลานชายแล้วทราบว่า ในคืนวันเกิดเหตุ ขณะที่เด็กชาย อ. นอนหลับอยู่บนที่นอนบริเวณของห้องโถงบนบ้านพร้อมด้วยจำเลยและผู้ตายในมุ่ง เดียวกันนั้น ต่อมาเวลาประมาณ 5 นาฬิกา ได้ยินเสียงของผู้ตายร้องเรียกให้ช่วยเหลือหนึ่งครั้งว่า “ช่วยด้วย” เด็กชาย อ. จึงลุกจากที่นอนไปเปิดไฟฟ้าดู ปรากฏว่าที่ตัวผู้ตายมีเลือดสีแดงออกจากตัว และเสื้อผ้า ที่นอนมีเลือดจำนวนมาก อีกทั้งที่มุ่งก็มีเลือดติดอยู่ และเมื่อเด็กชาย อ. มองไปที่ จำเลยก็พบว่าจำเลยนอนหงายอยู่บนที่นอน โดยมือทั้งสองข้างกำมีดปลายแหลมไว้ที่บริเวณหน้าอก พร้อมพูดกับเด็กชาย อ. ว่า “ไม่ต้องบอกใคร” แต่ตามคำเบิกความของเด็กชาย อ. และตามบันทึก คำให้การไม่ปรากฏว่าจำเลยพูดกับเด็กชาย อ. ดังที่นาย น. ให้การไว้แต่อย่างใด โจทก์มิได้ถาม เด็กชาย อ. เพื่อให้เกิดความกระจ่างชัดในเรื่องนี้ว่า จำเลยพูดกับเด็กชาย อ. ดังที่นาย น. ให้การ ไว้หรือไม่ นอกจากนี้ในชั้นพิจารณานาย น. มาเบิกความเป็นพยานจำเลย แต่มิได้เบิกความ เกี่ยวกับคำพูดของจำเลยดังที่ให้การว่าได้รับทราบจากการสอบถามเด็กชาย อ. และโจทก์มิได้ถามค้าน เพื่อให้นาย น. เบิกความในเรื่องนี้ และเมื่อพิจารณาจากคำเบิกความของเด็กชาย อ. ที่เบิกความ ตอบคำถามศาลว่า เมื่อพยานวิ่งไปถืออาวุธมีดที่จำเลยถืออยู่นั้น จำเลยลืมตาขึ้นมีลักษณะสะลึมสะลือ เหมือนคนเพิ่งตื่นนอน ยิ่งทำให้ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะพูดดังที่นาย น. ให้การไว้ และเมื่อพิจารณา ตามคำเบิกความของนายแพทย์ ศ. นายแพทย์ชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช ประจำ โรงพยาบาล ม. ซึ่งเบิกความในฐานะเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญว่า คนทั่วไปแม้ไม่ถึงขั้นจิตเวช แต่ในช่วง นอนหลับสามารถกระทำสิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าสลีปวอร์คเกอร์ ภาษาชาวบ้าน เรียกว่าเป็นอาการละเมอ อาการละเมอดังเช่นจำเลยโดยปกติคนทั่วไปสามารถเกิดขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยทางด้านจิตเวชมาก่อน อีกทั้งโจทก์และจำเลยนำสืบตรงกันว่าจำเลย และผู้ตายไม่เคยทะเลาะกัน ยังรักกันดี จึงไม่มีสาเหตุที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตาย ถึงแม้จำเลยให้การ

รับสารภาพว่ากระทำความผิด แต่จำเลยก็นำสืบว่าที่จำเลยฆ่าผู้ตายนั้น จำเลยไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้ตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา จำเลยให้การว่า จำเลยไม่ทราบเรื่องและไม่รู้สึกตัวเลย

ว่าได้กระทำการดังกล่าวไปได้อย่างไร เนื่องจากในวันเกิดเหตุจำเลยเข้านอนหลับพักผ่อนกัน ผู้ตายและหลานชาย คดีนี้แม้จำเลยให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิด แต่เนื่องจากเป็นคดี กฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไป ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่า จะพอใจว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๖ วรรคหนึ่ง เมื่อพยานโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำ การกระทำ ของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น ไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้น เศาลฎีกา

อนึ่ง มีดปลายแหลมของกลางไม่ใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการ กระทำความผิด จึงไม่อาจริบได้

พิพากษากลับให้ยกฟ้อง คืนของกลางแก่เจ้าของ

หมายเหตุ

คดีนี้ในศาลชั้นต้นจำเลยให้การรับสารภาพ แต่ในการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๖ วรรคหนึ่ง จำเลยนำสืบว่าที่ฆ่าผู้ตายนั้น จำเลยไม่รู้สึกตัว ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ให้จำคุก ๑๕ ปี จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗๘ คงจำคุก ๗ ปี 5 เดือน ริบอาวุธมีด ของกลาง จำเลยฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้อง คืนของกลางแก่เจ้าของ โดยคดีนี้มีบุตร ของจำเลยและผู้ตายมาเบิกความเป็นพยานโจทก์ยืนยันเหตุการณ์ว่าจำเลยละเมอใช้มีดแทงผู้ตายจริง อย่างไรก็ตาม หมายเหตุคำพิพากษาศาลฎีกานี้จะพิจารณากันเฉพาะประเด็นข้อกฎหมาย เท่านั้น ไม่ได้ก้าวล่วงไปในประเด็นข้อเท็จจริงหรือพยานหลักฐาน

โดยถือข้อเท็จจริงตามที่ศาลฎีกา รับฟังเป็นยุติ เพราะมิฉะนั้นอาจมีปัญหาข้อโต้แย้งกันเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน

อนึ่ง ข้อกฎหมายสำคัญที่ต้องพิจารณาในคำพิพากษาศาลฎีกานี้คือ หลักความรับผิดขอะ บุคคลในทางอาญา ซึ่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๔ ได้บัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิ ในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมา บัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัด ให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments