Home บทความคดีแพ่ง โพสต์ประจานบุคคลอื่นลงบนเฟซบุ๊ก ?

โพสต์ประจานบุคคลอื่นลงบนเฟซบุ๊ก ?

3036

โพสต์ประจานบุคคลอื่นลงบนเฟซบุ๊ก ?

บทกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นนี้ คือ

ประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา ๓๒๘ ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพ ระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

มาตรา ๓๒๙  ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต

(๑) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม

(๒) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่

(๓) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ หรือ

(๔) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

วรรคสอง ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

การโพสต์ประจานบุคคลอื่นลงบนเฟซบุ๊ก กล่าวหาหรือใส่ความ เพื่อยืนยันว่าบุคคลนี้เป็นคนไม่ดี คดโกง ตบทรัพย์กับผู้กระทำความผิด แม้ไฮไลต์ทับชื่อของผู้เสียหายเพื่อไม่ให้ทราบได้ว่าคือใคร (แต่ยังมีอักษรคำนำหน้าและพยัญชนะท้ายสุดคำไฮไลต์ที่อาจบ่งบอกได้) เมื่อการใส่ความผู้อื่นนั้นมีหลายสื่อที่ออกมาระบุตัวตนได้ว่าผู้อื่นนั้นคือใคร หรือบุคคลทั่วไปที่ได้อ่านโพสต์แล้วเข้าใจได้ว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ อาจถือว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ตาม ป.อ. มาตรา 328 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และอาจถูกฟ้องในส่วนแพ่งเพื่อให้ชดใช้ในการหมิ่นประมาทเป็นจำนวนเงินได้อีก และข้อความที่โพสต์นั้นถึงแม้ว่าสิ่งนั้นโพสต์จะเป็นเรื่องจริงก็ตาม หากทำให้ผู้เสียหายต้องเสียงชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่  5276/2562)

 

ในส่วนของการโพสต์ความจริงนั้น ตามบทกฎหมายหากการโพสต์ความจริงเป็นการหมิ่นประมาท  ผู้กระทำความผิดไม่ต้องรับโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 330 และการกระทำนั้นจะต้องไม่เป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายจะไปเรียกขอผลประโยชน์หรือตบทรัพย์กับผู้กระทำความผิดจริงหรือไม่นั้น เป็นเรื่องส่วนของผู้เสียหายกับบุคคลอื่นที่ไดัมีการส่งคลิปกันแล้วจะไปต่อรองผลประโยชน์อื่นใดแม้จะเป็นความจริงก็ไม่ได้รับยกเว้นโทษ และการกระทำดังกล่าวนี้ ไม่ใช่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียของตน หรือติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งเป็นวิสัยของประชาชนที่ควรกระทำได้ ไม่ถือว่าเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตซึ่งจะเป็นข้อยกเว้นในความผิดฐานหมิ่น ตาม ป.อ. มาตรา 329

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นตัวอย่างให้ศึกษาดังต่อไปนี้  คือ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2562

ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาทเกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวที่จะพิพากษายกฟ้องได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(5) และมาตรา 26 แต่ผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจไต่สวนมูลฟ้องได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(3) การไต่สวนมูลฟ้องโดยผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคนเดียวในศาลชั้นต้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ เป็นเพียงการย้อนสำนวนมาให้ดำเนินกระบวนพิจารณาและทำคำพิพากษาใหม่ในส่วนที่ไม่ชอบตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 31(1) ประกอบมาตรา 29(3) เมื่อการไต่สวนมูลฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 โดยผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคนเดียวในศาลชั้นต้นชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25(3) ศาลชั้นต้นหาจำต้องไต่สวนมูลฟ้องใหม่อีกไม่ และเมื่อทนายโจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า โจทก์หมดพยานในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง การไต่สวนมูลฟ้องย่อมเสร็จสิ้นลงโดยชอบแล้ว โจทก์ไม่อาจนำพยานเข้าไต่สวนเพิ่มเติมได้อีก

คำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนกับผู้พิพากษาหัวหน้าศาลลงลายมอชื่อร่วมเป็นองค์คณะ เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจก้าวล่วงได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 31(1) ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลย่อมมีอำนาจตรวจสำนวนคดีและลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 29(3) การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ในคดีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 328 ซึ่งมีระวางโทษเกินอำนาจผู้พิพากษาคนเดียวในศาลชั้นต้นโดยผู้พิพากษาหัวหน้าศาลตรวจสำนวนคดีและลงลายมือชื่อร่วมเป็นองค์คณะจึงเป็นการพิจารณาและพิพากษาใหม่โดยมีผู้พิพากษาครบองค์คณะโดยชอบ

การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตาม ป.อ. มาตรา 326 และมาตรา 328 ต้องเป็นการใส่ความระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่า บุคคลที่ถูกใส่ความเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ

ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาตาม ป.อ. มาตรา 328 ผู้กระทำต้องเผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นประมาทออกไปยังสาธารณชน หรือประชาชนทั่วไป การที่จำเลยส่งข้อความลงในแอปพลิเคชั่นไลน์ กลุ่มโพสต์นิวออนไลน์ มีลักษณะเป็นเพียงเจตนาการแจ้งหรือไขข่าวไปยังเฉพาะกลุ่มบุคคลซึ่งอยู่ในกลุ่มไลน์เท่านั้น ยังไม่ถึงกับเป็นการกระจายข่าวไปสู่สาธารณชนหรือประชาชนทั่วไป คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดตาม ป.อ. มาตรา 329

 

ดังนั้นพอสรุปได้ว่า โพสต์ประจานบุคคลอื่นลงบนเฟซบุ๊ก เป็นหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา

Facebook Comments