Home บทความคดีแพ่ง หลอกลวงและไม่ชำระราคาค่าเติมน้ำมัน เป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้หรือไม่

หลอกลวงและไม่ชำระราคาค่าเติมน้ำมัน เป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้หรือไม่

2632

หลอกลวงและไม่ชำระราคาค่าเติมน้ำมัน เป็นความผิดฐานฉ้อโกงได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2581/2529

โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 1 คน กระทำการปล้นทรัพย์เอาน้ำมันเบนซิน 5 ลิตร ของนายมะพร้าว ผู้เสียหายไปโดยทุจริตโดยจำเลยที่ 2 มีและใช้ลูกระเบิดขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะขว้างทำให้เกิดระเบิดเป็นอันตรายแก่ชีวิตและร่างกายของผู้เสียหายเพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 334, 335, 339, 340, 340 ตรี ริบรถจักรยานยนต์ของกลางและให้จำเลยร่วมกันคืนหรือใช้ราคาน้ำมันแก่ผู้เสียหาย

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ

ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง

โจทก์อุทธรณ์

ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335, 336 ทวิ จำคุกคนละ 9 เดือนลดโทษ 1 ใน 3 ตามมาตรา 78 คงจำคุกคนละ 6 เดือน คืนรถจักรยานยนต์ของกลางแก่เจ้าของ ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาราน้ำมันแก่ผู้เสียหายด้วย

โจทก์ฎีกา

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังได้ตามพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ตามวันเวลาเกิดเหตุที่โจทก์ฟ้อง จำเลยทั้งสองขี่รถจักรยานยนต์ซ้อนกันเข้าไปเติมน้ำมันที่บ้านผู้เสียหายจำนวน 5 ลิตร คิดเป็นเงิน57 บาท 50 สตางค์ เมื่อเติมน้ำมันเสร็จแล้ว ภริยาผู้เสียหายขอเงินค่าน้ำมัน จำเลยที่ 2 กลับตอบว่า “ไม่มีเงิน มีแต่ไอ้นี่เอาไหม” ขณะพูดจำเลยที่ 2 ถือลูกกลม ๆ อยู่ในมือ จากนั้นจำเลยทั้งสองก็ขี่รถจักรยานยนต์ออกไป…ข้อเท็จจริงไม่อาจจะรับฟังได้แน่นอนว่า ลูกกลม ๆ ที่อยู่ในมือจำเลยที่ 2 เป็นลูกระเบิดหรือไม่

ปัญหาวินิจฉัยมีว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองจะเป็นความผิดฐานใด จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นเห้นได้ชัดว่า จำเลยทั้งสองมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายเพียงเพื่อจะเติมน้ำมันรถจักรยานยนต์โดยไม่ชำระราคาเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ถือลูกกลม ๆซึ่งฟังไม่ได้ว่าเป็นลูกระเบิดหรือไม่ และจำเลยที่ 2 บอกกับภริยาผู้เสียหายเมื่อถูกทวงให้ชำระราคาน้ำมันว่า “เงินไม่มี มีแต่ไอ้นี่เอาไหม” ก็เป็นวิธีการที่จะใช้แสวงหาประโยชน์ที่มีควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ศาลฎีกาเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง (ตามนัยคำพิพากษาฎีกาที่ 1554/2511) หาใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ไม่ เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้วข้อที่โจทก์ฎีกาว่ายังมีพวกรออยู่ที่ถนนอีกคนหนึ่ง และรถจักรยานยนต์ของกลางจะเป็นรถคันที่จำเลยนำมาเติมน้ำมันหรือไม่จึงไม่ต้องวินิจฉัย สำหรับโทษนั้นศาลอุทธรณ์พิพากษามาเหมาะสมแก่รูปคดีแล้ว

พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 นอกจากที่แก้ไให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์”.

 การเติมน้ำมันรถแล้วไม่อยมชำระราคานั้น โดยสภาพของน้ำมันย่อมต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์น้ำมันได้โอนไปเป็นของเจ้าของรถทันทีที่ได้เติมเข้าไปผสมปนกับน้ำมันส่วนที่เหลืออยู่ในถังเก็บน้ำมันของรถคันนั้น ทั้งนี้ โดยไม่คำนึงว่าผู้ขายน้ำมันจะมีเจตนาโอนกรรมสิทธิ์ในน้ำมันนั้นให้ทันทีหรือไม่ ดังนั้น ถ้าข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่า ผู้นำรถไปเติมน้ำมันมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ก่อนเติมน้ำมันรถ หากแต่เพิ่งคิดทุจริตขึ้นหลังจากเติมน้ำมันแล้ว เช่นนี้ย่อมไม่เป็นความผิดทางอาญาเกี่ยวกับทรัพย์ในฐานใดทั้งสิ้น เพราะในขณะที่เกิดเจตนาทุจริตนั้น ทรัพย์พิพาทได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้นำรถไปเติมน้ำมันแล้ว กรณีคงต้องเป็นเรื่องผิดสัญญาแแพ่งเท่านั้น (ดู Edwards u. Ddin, 1976, 3 All ER 705 และ Smith& Hogan Criminal Lar, Fiffth, Edition, 1983 p. 487) ในคำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ ซึ่งตัดสินตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2511เรื่องการหลอกซื้อโคนั้น ศาลฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต คือประสงค์จะได้ทรัพย์ของผู้เสียหายโดยไม่ชำระราคามาตั้งแต่ต้น จึงครบองค์ประกอบเป็นความิผดเกี่ยวกับทรัพย์ได้ตั้งแต่ก่อนที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทจะตกเป็นของจำเลย และเมื่อเป็นความผิดแล้ว แม้ทรัพย์พิพาทจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยในภายหลัง ก็หาทำให้ความผิดนั้นระงับไปไม่ คำวินิจฉัยของคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองฉบับนี้ จึงนับว่าสอดคล้องกับเหตุผลทางทฤษฎีกฎหมายแแล้ว 2. อย่างไรก็ตามปัญหาคงมีอยู่ว่าการกระทำของจำเลยในคดีนี้จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์โดยใช้อุบายหลอกลวงได้หรือไม่ เพราะหากเป็นได้ จำเลยก็อาจต้องรับผิดในฐานชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ต่อไปได้ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษมา ในข้อนี้เห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้เป็นเรื่องการหลอกเอากรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทโดยตรง หาใช่เพียงการหลอกเอาความยึดถือหรือการครอบครอง ในทรัพย์นั้นไม่ ดังนั้นจึงมีลักษณะเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ซึ่งเป็นความิผดที่มุ่งประทุษร้ายต่อกรรมสิทธิ์ มากกว่าที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ ซึ่งมุ่งประทุษร้ายต่อความยึดถือหรือการครอบครองในตัวทรัพย์ (ดูคำอธิบายประมวลกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอนที่ 2 โดยนายมะนาว พิมพ์ครั้งที่ 2 หน้า 2312-2327) 3. สำหรับปัญหาในทางวิธีพิจารณาเรื่องข้อเท็จจริงที่ปรากฎในทางพิจารณาต่างกับฟ้องนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติไว้แล้วว่าข้อแตกต่างระหว่างการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์กรรโชกฉ้อโกง ยักยอกและรับของโจร หรือต่างกันระหว่างการกระทำผิดโดยเจตนากับประมาทมิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ เว้นแต่จะปรากำแก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ซึ่งเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยในคดีนี้หลงต่อสู้ ศาลจึงจะยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุแตกต่างดังกล่าวนี้ตามมาตรา 192 วรรคสองไม่ได้ทั้งความผิดฐาน)้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ก็มีอัตราโทษไม่หนักไปกว่าความผิดฐานลักทรัพย์หรือชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษด้วย การลงโทษจำเลยในฐานฉ้อโกงนี้จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขออันจะต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคแรกกับไม่เป็นกรณีที่จะถือว่าเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 192 วรรคสี่ด้วยเช่นกัน ที่ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงจึงเป็นการชอบแล้ว. จรัญ ภักดีธนากุล.

Facebook Comments