Home ทั้งหมด ฟ้องหย่าแล้วตกลงกันได้ มีขั้นตอนอย่างไร

ฟ้องหย่าแล้วตกลงกันได้ มีขั้นตอนอย่างไร

2529

ฟ้องหย่าแล้วตกลงกันได้ มีขั้นตอนอย่างไร

กรณีตกลงกันได้ ต้องทำอย่างไรมีขั้นตอนอย่างไร

ถ้าทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ ซึ่งโดยมากก็คือ ทั้งสองฝ่ายตกลงสมัครใจหย่า หรือ ฝ่ายที่เป็นฝ่ายผิดยอมหย่าให้ หรือฝ่ายที่ต้องการหย่า ยอมชดใช้เงินให้ส่วนหนึ่งเพื่อให้อีกฝ่ายยอมหย่าให้

ทนายความก็จะจัดการให้ทั้งสองฝ่ายทำ “สัญญาประนีประนอมยอมความ โดยเนื้อหาของสัญญาประนีประนอมยอมความก็คือ ทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากกันและจะไปหย่าขาดกันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด

ตัวอย่างเนื้อหาในสัญญาประนีประนอมยอมความ เช่น

โจทก์และจำเลยยินยอมหย่าขาดจากกัน โดยจะไปจดทะเบียนหย่าที่ที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ 

หลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว ผู้พิพากษาก็จะตรวจดูว่า สัญญาประนีประนอมยอมความของเรา ขัดกับกฎหมายหรือไม่ ถ้าผู้พิพากษาตรวจแล้วเห็นว่าถูกต้อง ก็จะมีคำพิพากษาให้แต่ละฝ่ายมีสิทธิและหน้าที่ตามที่ปรากฎตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มีข้อตกลงและมีบทบังคับที่สามารถบังคับได้ตามกฎหมายหรือไม่

ทั้งนี้หากทั้งสองฝ่ายทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว ฝ่ายใดไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าตามกำหนด

ขั้นตอนหลังจากมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม

ทีมงานทนายกฤษดา ขออธิบายและสรุปขั้นตอนอย่างง่ายดังนี้

ฟ้องหย่า –>ตกลงกันได้->ศาลพิพากษาตามยอม->ไปจดทะเบียนหย่าตามที่ตกลง –>กรณีไม่ไปสามารถเอาคำพิพากษาไปจดทะเบียนได้

อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถนำเอา สัญญาประนีประนอมยอมความ คำพิพากษาที่พิพากษาให้เป็นตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด ไปดำเนินการจดทะเบียนหย่าขาดที่อำเภอได้ฝ่ายเดียวเลย

กรณีตกลงกันไม่ได้ ต้องทำอย่างไร มีกระบวนการในการพิจารณาคดีอย่างไร

หากผู้ไกล่เกลี่ยไม่สามารถเจรจาให้ทั้งสองฝ่ายตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ ผู้ไกล่เกลี่ยก็จะส่งสำนวนคืนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลอีกครั้งหนึ่ง

ซึ่งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนั้น ก็อาจจะทำการเจรจาไกล่เกลี่ยอีกรอบนึง ในบัลลังก์ศาล ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็อาจจะตกลงกันได้ในรอบนี้

ซึ่งหากตกลงกันได้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อไป

แต่หากทั้งสอง ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้อีก ศาลก็จะนัดสืบพยานของทั้งสองฝ่ายอีกต่อไป

และเมื่อสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่ายเสร็จสิ้นแล้ว ศาลก็จะมีคำพิพากษาว่าให้หย่าหรือไม่ให้หย่าต่อไป

ซึ่งรวมแล้ว กรณีที่จำเลยมาศาลต่อสู้คดี ตัวโจทก์จะต้องมาศาลตั้งแต่ละประมาณ 2 ถึง 5 ครั้ง แล้วแต่กรณี

ฟ้องหย่า->ยื่นคำให้การ->ชี้สองสถานกำหนดประเด็น->สืบพยาน->ตัดสิน

โดยปกติแล้วจะมาประมาณ 2 ครั้ง คือในนัดแรก และนัดสืบพยาน

Facebook Comments