Home ทั้งหมด ขณะออกเช็คถูกข่มขู่ เช็คเด้งต้องรับผิดทางแพ่งหรือไม่

ขณะออกเช็คถูกข่มขู่ เช็คเด้งต้องรับผิดทางแพ่งหรือไม่

1820

ขณะออกเช็คถูกข่มขู่ เช็คเด้งต้องรับผิดทางแพ่งหรือไม่

คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๑๖/๒๕๖๒ จำเลยลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท จำนวน ๓ ฉบับ ให้แก่ ว. ต่อมาเช็คพิพาท ทั้งสามฉบับอยู่ในความครอบครองของโจทก์ เมื่อเช็คพิพาททั้งสามฉบับถึงกำหนด โจทก์ นำไปเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโจทก์จึงฟ้องคดีนี้ จำเลยให้การว่าไม่มี นิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ ไม่เคยรู้จักกับโจทก์มาก่อน และไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์ เช็คพิพาท ทั้งสามฉบับนั้นจำเลยลงลายมือชื่อโดยยังมิได้กรอกข้อความเพราะถูก ว. กับพวกร่วมกัน ข่มขืนใจโดยใช้อาวุธปืนจนจำเลยเกิดความกลัวจึงลงลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสามฉบับ ให้แก่ ว. ต่อมาจำเลยได้จ่ายเงินสดให้แก่ ว. จนครบถ้วน 2. ผัดผ่อนจะนำเช็คพิพาท ทั้งสามฉบับมามอบให้แก่จำเลยในภายหลัง เช็คดังกล่าวเป็นเช็คประกันหนี้ไปอยู่ในความ ครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์กับ ว. ไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน เป็นกรณีที่โจทก์ รับเช็คพิพาททั้งสามฉบับมาไว้ในครอบครองโดยไม่สุจริต โจทก์กับ ว. ร่วมกันฉ้อฉลหรือ ฉ้อโกงจำเลย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเช็คทั้งสามฉบับ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลยที่จะ ต้องนำสืบให้รับฟังได้ตามที่จำเลยกล่าวอ้าง

พยานหลักฐานของจำเลยฟังไม่ได้ว่าการโอนเช็คพิพาททั้งสามฉบับมีขึ้นโดยการ คบคิดฉ้อฉลระหว่างโจทก์กับ ว. ดังนั้น จำเลยผู้ถูกฟ้องในมูลหนี้เช็คพิพาททั้งสามฉบับจะ ยกเอาความเกี่ยวพันกันเฉพาะระหว่างจำเลยกับ ว. ผู้ทรงคนก่อนขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้ทรง เช็คว่าไม่ต้องรับผิดไม่ได้ จำเลยซึ่งลงลายมือชื่อในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คจึงต้องรับผิดตาม เนื้อความในเช็คพิพาททั้งสามฉบับต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๙๐๐ วรรคหนึ่ง และ ๙๖๗ ประกอบมาตรา ๙๕๙ เมื่อเช็คพิพาททั้งสามฉบับถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงต้องชำระต้นเงินตามจำนวนในเช็ค พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่ วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๒๔ วรรคหนึ่ง

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

 โทร089-142-7773 ไลน์ไอดีฟ @lawyers.in.th

Facebook Comments