Home ความรู้ในการพัฒนาวิชาชีพทนายความ ศาลฎีกาวางหลักเรื่องสัญญาประกันชีวิตไว้อย่างไร

ศาลฎีกาวางหลักเรื่องสัญญาประกันชีวิตไว้อย่างไร

683

ศาลฎีกาวางหลักเรื่องสัญญาประกันชีวิตไว้อย่างไรอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2538

โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ที่ 1 เป็น ภริยา ของ นายส้ม ผู้ตาย โจทก์ ที่ 2 เป็น บุตร ของ ผู้ตาย กับ โจทก์ ที่ 1 จำเลย จดทะเบียน เป็นนิติบุคคล ประเภท บริษัท จำกัด เมื่อ วันที่ 14 สิงหาคม 2535 ผู้ตายทำ สัญญา ว่าจ้าง กับ จำเลย เพื่อ ไป ทำงาน ที่ ประเทศ คูเวต ระยะเวลา การจ้าง งาน 6 เดือน และ จะ ต่อ สัญญา ให้ ไม่เกิน 6 เดือน โดย จำเลยตกลง ว่า ใน ระหว่าง สัญญา ว่าจ้าง จำเลย จะ เป็น ผู้จัดการ ประกันชีวิตให้ แก่ ผู้ตาย ผลประโยชน์ การ คุ้มครอง ภายใต้ กรมธรรม์ ประกันชีวิตจะ ต้อง ไม่ น้อยกว่า มาตรฐาน ที่ กรมแรงงาน ประเทศ ไทย กำหนด ไว้ ต่อมาวันที่ 11 ตุลาคม 2535 ผู้ตาย เดินทาง ไป ทำงาน ที่ ประเทศ คูเวต ใน ตำแหน่ง ช่าง เชื่อม อัตรา เงินเดือน 15,000 บาท ต่อมา ผู้ตายถึงแก่ความตาย เมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม 2535 โดย จำเลย ไม่ได้ ทำประกันชีวิต ให้ ผู้ตาย ตาม สัญญา ทำให้ โจทก์ ทั้ง สอง ไม่ได้ รับ ประโยชน์จาก ความคุ้มครอง ของ กรมธรรม์ ประกันชีวิต ใน วงเงิน จำนวน 979,965 บาทและ จำเลย ไม่ยอม จ่ายเงิน ทดแทน จำนวน 540,000 บาท ตาม อัตรา เงินเดือนของ ผู้ตาย โจทก์ ทวงถาม แล้ว จำเลย เพิกเฉย ขอให้ บังคับ จำเลย จ่ายค่าเสียหาย 797,965 บาท เงินทดแทน 540,000 บาท แก่ โจทก์

จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้ จัดการ ประกันชีวิต ให้ พนักงาน ทุกคนรวมทั้ง นายส้ม ผู้ตาย ใน ลักษณะ ประกัน อุบัติเหตุ อัน เนื่อง มาจาก การ ทำงาน ไม่ น้อยกว่า มาตรฐาน ที่ กรมแรงงาน กำหนด ไว้ กับ บริษัท สันติภาพประกันภัย จำกัด หลังจาก นายส้ม ถึงแก่ความตาย บริษัท ที่ จำเลย ทำ ประกัน ไว้ ได้ ปฏิเสธ ความรับผิด เพราะ การ เสียชีวิต ของผู้ตาย มิได้ เกิดจาก อุบัติเหตุ จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิด ใน ค่าเสียหายจาก การ ขาด ประโยชน์ ของ โจทก์ ทั้ง สอง และ ผู้ตาย เสียชีวิต ด้วย ปอดบวมและ หัว ใจ ล้มเหลว อัน มิใช่ เนื่องจาก การ ทำงาน จำเลย จึง ไม่ต้อง รับผิดจ่าย ค่าเสียหาย และ เงินทดแทน ตาม ฟ้อง แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ขอให้ ยกฟ้อง

ระหว่าง สืบพยาน จำเลย โจทก์ ขอ ถอนฟ้อง ใน ข้อหา เกี่ยวกับเงินทดแทน ศาลแรงงานกลาง อนุญาต

ศาลแรงงานกลาง พิจารณา แล้ว วินิจฉัย ว่า การ ที่ จำเลย ทำ ประกันภัยอุบัติเหตุ ส่วนบุคคล ให้ นายส้ม ตาม กรมธรรม์ประกันภัย เอกสาร หมาย ล. 2 แตกต่าง ไป จาก การ ประกันชีวิต มิใช่ เป็น การ ทำ ประกันชีวิตให้ นายส้ม ผู้ตาย ตาม สัญญา ว่าจ้าง เอกสาร หมาย จ. 3 ข้อ 13 โจทก์ ทั้ง สอง มีสิทธิ เรียกร้อง ค่าเสียหาย จาก การ ขาด ประโยชน์ จาก จำเลยได้ จำเลย ไม่ได้ ให้การ ต่อสู้ จำนวนเงิน ค่าเสียหาย ตาม ที่ โจทก์ทั้ง สอง เรียกร้อง ค่าเสียหาย ที่ โจทก์ ฟ้อง มา จึง เป็น จำนวน ที่ เหมาะสมพิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน 979,965 บาท แก่ โจทก์ ทั้ง สอง ส่วน คำขอ อื่นนอกจาก นี้ ให้ยก เสีย

จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลฎีกา

ศาลฎีกา แผนก คดีแรงงาน วินิจฉัย ว่า “ข้อเท็จจริง ฟังได้ เป็นยุติ ตาม คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง ว่า นายส้ม ผู้ตาย เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย โดย มี การ ทำ หนังสือ สัญญา ว่าจ้าง เมื่อ วันที่14 สิงหาคม 2535 กำหนด ไว้ ใน ข้อ 13 สาระสำคัญ ว่า ใน ระหว่าง การ ว่าจ้างจำเลย เป็น ผู้จัดการ ประกันชีวิต ให้ ผู้ตาย โดย ผู้ตาย ไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่าย ใด ๆ ทั้งสิ้น ผลประโยชน์ การ คุ้มครอง ภายใต้ กรมธรรม์ประกันชีวิต นั้น จะ ต้อง ไม่ น้อยกว่า มาตรฐาน ที่ กรมแรงงาน ประเทศ ไทยกำหนด ไว้ ตาม สัญญา ว่าจ้าง เอกสาร หมาย จ. 3 จำเลย ได้ ทำ สัญญาประกันอุบัติเหตุ ส่วนบุคคล ให้ ผู้ตาย ไว้ ตาม กรมธรรม์ เอกสาร หมาย ล. 2ใน ระหว่าง ที่ จำเลย ส่ง ผู้ตาย ไป ทำงาน ใน ประเทศ คูเวต ผู้ตาย ได้ ถึงแก่ความตาย ด้วย สาเหตุ ปอดบวม และ หัว ใจ ล้มเหลว เมื่อ วันที่ 5ธันวาคม 2535

ปัญหา ต้อง วินิจฉัย มี ว่า การ ที่ จำเลย ทำ สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุ ส่วนบุคคล ให้ ผู้ตาย ตาม กรมธรรม์ เอกสาร หมาย ล. 2 นั้นเป็น การ ประกันชีวิต ตาม สัญญา ว่าจ้าง ข้อ 13 เอกสาร หมาย จ. 3 หรือไม่เห็นว่า การ ประกันชีวิต ได้ บัญญัติ ไว้ ใน หมวด 3 ลักษณะ 20 เรื่องประกันภัย แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่ง ตาม มาตรา 889บัญญัติ ว่า “ใน สัญญาประกันชีวิต นั้น การ ใช้ จำนวนเงิน ย่อม อาศัยความ ทรง ชีพ หรือ มรณะ ของ บุคคล คนหนึ่ง ” ตาม กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ ส่วนบุคคล ของ ผู้ตาย เอกสาร หมาย ล. 2 นั้น ก็ ได้ความ ว่าหาก ผู้ตาย ถึงแก่ความตาย ด้วย อุบัติเหตุ จาก การ ทำงาน บริษัท ผู้รับประกัน จะ จ่ายเงิน ให้ 257,200 บาท การ จ่ายเงิน ก็ โดย อาศัย ความ มรณะของ ผู้ตาย จึง เป็น การ ประกันชีวิต ตาม ข้อ บัญญัติ ของ กฎหมาย ดังกล่าวส่วน สาเหตุ แห่ง การ ตาย หา เป็น ข้อ สาระสำคัญ แห่ง การ ประกันชีวิต ไม่เพียงแต่ เป็น เงื่อนไข การ ตาย ที่ ผู้เอาประกัน และ ผู้รับประกัน จะตกลง กัน ใน การ จ่ายเงิน เท่านั้น ไม่ทำ ให้ สัญญาประกันชีวิต กลับกลายเป็น ไม่ใช่ สัญญาประกันชีวิต ไป ได้ การ ที่ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ว่าการ ประกัน อุบัติเหตุ ส่วนบุคคล ตาม กรมธรรม์ เอกสาร หมาย ล. 2 มิใช่เป็น การ ทำ ประกันชีวิต จึง เป็น การ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ผิด ต่อ กฎหมายศาลฎีกา จึง มีอำนาจ ฟัง ข้อเท็จจริง ได้ว่า จำเลย ได้ ทำ ประกันชีวิตให้ ผู้ตาย แล้ว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(3)(ก)พระราชบัญญัติ จัดตั้ง ศาลแรงงาน และ วิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31 แต่ การ ประกันชีวิต ดังกล่าว จะ มีผล ประโยชน์ คุ้มครองไม่ น้อยกว่า มาตรฐาน ที่ กรมแรงงาน ประเทศ ไทย กำหนด ไว้ ตาม สัญญา ว่าจ้างข้อ 13 หรือไม่ ศาลแรงงานกลาง ยัง มิได้ วินิจฉัย ฟัง ข้อเท็จจริงส่วน นี้ จึง ต้อง ย้อนสำนวน ไป ให้ ศาลแรงงานกลาง วินิจฉัย ”

พิพากษายก คำพิพากษา ศาลแรงงานกลาง และ ย้อนสำนวน ไป ให้ศาลแรงงานกลาง พิจารณา วินิจฉัย ต่อไป ว่าการ ประกันชีวิต ตาม กรมธรรม์เอกสาร หมาย ล. 2 มีผล ประโยชน์ คุ้มครอง ไม่ น้อยกว่า มาตรฐาน ที่กรมแรงงาน ประเทศ ไทย กำหนด ไว้ หรือไม่ แล้ว พิพากษา ใหม่ ต่อไป ตาม รูป ความ

สรุป

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา889ได้วางหลักไว้ว่าในสัญญาประกันชีวิตการใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่งตามกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลของผู้ตายได้ความว่าหากผู้ตายถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุจากการทำงานบริษัทผู้รับประกันจะจ่ายเงินให้การจ่ายเงินก็โดยอาศัยความมรณะของผู้ตายจึงเป็นการประกันชีวิตตามกฎหมายมาตราดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยได้จัดการประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายตามที่ได้ตกลงไว้แล้วส่วนสาเหตุการตายเป็นเพียงเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันและผู้รับประกันจะตกลงกันในการจ่ายเงินเท่านั้นไม่ทำให้สัญญาประกันชีวิตกลับกลายเป็นไม่ใช่สัญญาประกันชีวิตไปได้

Facebook Comments