Home ทั้งหมด การหย่าโดยความยินยอม ศาลฎีกา วางหลักไว้อย่างไร

การหย่าโดยความยินยอม ศาลฎีกา วางหลักไว้อย่างไร

461

การหย่าโดยความยินยอม ศาลฎีกา วางหลักไว้อย่างไร

การหย่า

การหย่ามีอยู่ ๒ กรณีคือ การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายกับการหย่า คำพิพากษาของศาล

การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานสองคน การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย การหย่าโดยความยินยอมนั้น สามีและภริยาทั้งสองฝ่ายต้องยินยอมหย่าขาด จากกันโดยการทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่อรับรองอย่างน้อยสองคนตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการแน่นอนว่าสามีภริยาได้ตั้งใจ หย่าขาดกันจริง ๆ ถึงขนาดทำหนังสือกันต่อหน้าพยาน มิใช่เป็นเพียงพูดกันด้วยความ โมโหเท่านั้น หนังสือหย่านั้นอยู่ในบังคับแห่งมาตรา ๙ ที่จะต้องให้คู่หย่านั้นลงลายมือชื่อ ในหนังสือหย่าด้วย มิฉะนั้นก็เป็นหนังสือหย่าไม่ได้ ถ้าสามีภริยาตกลงยินยอมทำหนังสือ หย่ากันโดยมีพยานลงลายมือชื่อแล้ว แม้จะมีพยานเพียงคนเดียวแต่มีผู้ทำบันทึกอีก คนหนึ่งลงชื่อในฐานะผู้บันทึกข้อความแล้วถือว่าผู้ทำบันทึกซึ่งรู้เห็นข้อตกลงเป็นพยานอีก คนหนึ่งได้โดยไม่ต้องมีคำว่าพยานกำหนดไว้ สามีฟ้องให้ภริยาไปจดทะเบียนหย่าได้ หรือ หนังสือหย่ามีพยานลงลายมือชื่อ ๒ คน โดยสามีลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานทั้งสองคน แต่ภริยาลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานคนเดียว หนังสือหย่าก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย – ตำรวจลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๙๐/๒๕๓๓ หนังสือหย่ามีพยานลงลายมือชื่อเพียง ๑ คน ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๕๑๔ วรรคสอง โจทก์ผู้เป็นภริยาจึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจําเลยผู้เป็นสามีมิให้หย่าขาดจากโจทก์ตาม หนังสือดังกล่าวได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773

Facebook Comments