Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ความรู้เกี่ยวกับดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

ความรู้เกี่ยวกับดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด

9221

 

หลักกฎหมาย 

ปพพ. มาตรา ๒๒๔

หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ย ระหว่างเวลาผิดนัด ร้อยละ เจ็ดครึ่ง ต่อปี ถ้า เจ้าหนี้ อาจจะเรียกเอาดอกเบี้ย ได้สูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่น อันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ย ต่อไปตามนั้น
ท่านห้ามมิให้ คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ในระหว่างผิดนัดการพิสูจน์ ค่าเสียหายอย่างอื่น นอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้

กรณีใดบ้างซึ่งสามารถเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้

1.หนี้เงินให้คิดดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

2.คำว่าคิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย คือ  ดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี

3.เบี้ยปรับและค่าขาดประโยชน์เป็นหนี้เงิน  จึงคิดดอกเบี้ยได้ในระหว่างผิดนัด

4.หนี้ตามเช็คเป็นหนี้เงินเรียกดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้  โดยเริ่มผิดนัดตั้งแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินไม่ใช่เรียกนับแต่วันที่ลงในเช็ค

5.สัญญาที่ไม่ได้กำหนดเรื่องดอกเบี้ยไว้  ก็คิดดอกเบี้ยผิดนัดได้

6.กู้เงินคิดดอกเบี้ยเกินร้อย  15  ต่อปี แม้ข้อตกลงดอกเบี้ยเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ก็คิดดอกเบี้ยผิดนัดได้ ในส่วนของินต้น

7.เงินที่ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยเกินอัตรา  ลูกหนี้เรียกคืนไม่ได้เป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ ยกเว้นเจ้าหนี้เป็นสถาบันการเงินซึ่งลูกหนี้เข้าใจว่าเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยตามกฎหมาย จึงต้องนำไปหักต้นทั้งหมดจะนำไปหักดอกเบี้ยไม่ได้

8.สัญญาที่ตกเป็นโมฆะ  ถ้าทรัพย์ที่ต้องคืนกันฐานลาภมิควรได้เป็นเงิน  ก็เรียกดอกเบี้ยได้  เมื่อเรียกเงินคืนแล้ว  จำเลยไม่คืน  ถือว่าจำเลยผิดนัด  ต้องเสียดอกเบี้ยตามมาตรา  203 , 204

9.หนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาจะผิดนัดเมื่อทวงถามตามมาตรา 204  ถ้าไม่มีการทวงถามก็นับแต่วันฟ้อง

10.หนี้ละเมิดถือว่าผิดนัดเมื่อเวลาที่ทำละเมิด  รวมค่าขาดไร้อุปการะด้วย

11.เหตุที่เจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่าโดยเหตุอันชอบด้วยกฎหมาย  เช่น เรียกตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี

 

 

เครดิต นคร ธรรมราช

Facebook Comments