Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ การงดการบังคับคดีมีหลักการอย่างไร

การงดการบังคับคดีมีหลักการอย่างไร

25886

image

การงดการบังคับคดีมีหลักการอย่างไร

ศึกษาวิเคราะห์จากคำพิพากษาฎีกาที่ 5948/2556
ป.วิ.พ. มาตรา 292
การงดการบังคับคดีจะดำเนินการได้แต่เฉพาะกรณีที่การบังคับคดียังไม่ได้กระทำหรือที่จะกระทำต่อไป จะงดการบังคับคดีที่ปฏิบัติกันมาแล้วหาได้ไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีโดยขายทอดตลาดทรัพย์สินเสร็จสิ้นไปแล้ว ศาลจึงไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้งดการบังคับคดีได้

หมายเหตุ

1. การงดการบังคับคดี

1.1 การงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะงดการบังคับคดีเมื่อใดก็ได้ ให้พิจารณาศึกษาจากฎีกาต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 4191/2528
ป.วิ.พ. มาตรา 271, 292 (3), 295 (2)
การบังคับคดีนั้นเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาฎีกาที่จะบังคับเมื่อใดก็ได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะงดการบังคับคดี จะถอนการบังคับคดีหรือจะไม่บังคับคดีเสียก็ได้เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้ไม่ประสงค์จะบังคับคดีแก่ผู้ร้องโจทก์ย่อมจะถอนการบังคับคดีได้ไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องทำการไต่สวนและบังคับคดีแก่ผู้ร้องอีกต่อไปแม้ผู้ร้องจะคัดค้านว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยหรือหากโจทก์ไปฟ้องคดีใหม่จะทำให้ผู้ร้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาตั้งต้นสู้คดีใหม่ก็ตามก็หาเป็นเหตุที่จะห้ามมิให้โจทก์ถอนการบังคับคดีได้ไม่

1.2 การงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293 จะต้องมีการบังคับคดีแล้ว ให้พิจารณาศึกษาจากฎีกาต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 2175/2542
ป.วิ.พ. มาตรา 293
การที่จำเลยขอ งด การบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ได้นั้นจะต้องมีการบังคับคดีโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามคำพิพากษาอยู่ก่อนแล้วในขณะที่ขอให้งดการบังคับคดี แต่เมื่อ ปรากฏว่าจำเลยได้ขอให้ศาลแรงงานกลางงดการบังคับคดีโดยที่ยังมิได้มีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยแต่อย่างใด ต้องถือว่าคดีนี้ยังไม่มีการบังคับคดี จำเลยจะขอให้งดการ บังคับคดีตามมาตรา 293 วรรคหนึ่ง หาได้ไม่

1.3 การงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292, 293 คู่ความต้องทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลซึ่งศาลจะไต่สวนหรือไม่ก็ได้ ตามมาตรา 21(4) ให้พิจารณาศึกษาจากฎีกาต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 607/2532
ป.วิ.พ. มาตรา 21 (4), 293
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินตามฟ้องและให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และออกคำบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำพิพากษาด้วยการออกไปจากที่ดินและใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ การที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง ขอให้โจทก์กับพวกขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยตามข้อตกลงในสัญญาเช่านั้น หากจำเลยชนะคดีจำเลยก็มีสิทธิเพียงบังคับให้โจทก์กับพวกขายที่ดินให้จำเลย คดีทั้งสองจึงมีวัตถุแห่งหนี้เป็นคนละอย่างต่างกัน โดยสภาพไม่อาจหักกลบลบหนี้กันได้ ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293 การออกคำสั่งอนุญาตตามคำขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 หรือไม่ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้องทำการไต่สวนเสียก่อน แต่ตามมาตรา 21(4)ศาลก็มีอำนาจทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้ เมื่อกรณีตามคำร้องของจำเลย ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน

จำเลยที่1ต้องโทษจำเลยจำคุกอยู่ในเรือนจำจังหวัดสงขลาเรือนจำดังกล่าวมิใช่ท้องที่ที่จำเลยที่1มีถิ่นที่อยู่จึงไม่อาจถือว่าเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่1ขณะฟ้องโจทก์ทั้งห้าจะฟ้องจำเลยที่1ต่อศาลชั้นต้นมิได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(2)เดิมโจทก์ทั้งห้าต้องฟ้องต่อศาลที่จำเลยที่1มีภูมิลำเนาคือศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาแต่เนื่องจากขณะคดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค3ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่12)พ.ศ.2534ซึ่งใช้บังคับแล้วแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา4(1)บัญญัติว่า”คำฟ้องให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่”เช่นนี้จึงทำให้โจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลที่มูลคดีเกิดได้ด้วยศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจรับฟ้องโจทก์ทั้งห้าไว้พิจารณา จำเลยที่2ต้องเสียค่าบริการให้จำเลยที่3เป็นรายวันเพื่อตอบแทนการนำรถเข้าร่วมแล่นกับจำเลยที่3การเดินรถคันเกิดเหตุจึงเป็นกิจการร่วมกันระหว่างจำเลยที่2และที่3ฉะนั้นการที่จำเลยที่1ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุโดยรับจ้างจำเลยที่2จึงเป็นการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้างของจำเลยที่3ด้วย

1.4 เหตุที่ศาลจะสั่งงดการบังคับคดีได้ คือเหตุตามมาตรา 293, 293 และ 296

1.5 ผู้มีสิทธิขอให้งดการบังคับคดี
(1) เจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 292 (ฎีกา 993/2537)
(2) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 292 ให้ศึกษาจากฎีกาต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 6360/2534
ป.วิ.พ. มาตรา 27, 292 (3), 296 วรรคสอง
การที่โจทก์ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีของงดการขายทอดตลาดไว้มีกำหนด 3 เดือน เป็นเรื่องที่โจทก์ของดการบังคับคดีไว้ชั่วคราว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292(3) ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้แทนโจทก์ในการบังคับคดีต้องปฏิบัติตาม เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไป ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ไม่ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนภายในกำหนดเวลาแปดวันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง แต่โจทก์ก็ได้แถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว ต่อมาเมื่อความดังกล่าวปรากฏต่อศาล ศาลมีอำนาจเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27.

(3) ลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 292, 293, 296 ให้ศึกษาจากฎีกาต่อไปนี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 324/2503
ป.วิ.พ. มาตรา 204, 207, 208, 209, 292, 297
คำสั่งใดๆ ของศาลล่าง เมื่อไม่มีบทบัญญัติให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดหรือบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาได้แล้วคู่ความย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคัดค้านคำสั่งนั้นต่อศาลสูงได้เมื่อเป็นกรณีที่อุทธรณ์ได้แล้ว ควรอยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะวินิจฉัยได้ การที่สั่งให้ทุเลาการบังคับหรือให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนนั้น เมื่อมีอุทธรณ์มาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจสั่งได้ ไม่ใช่มีผลให้เพิกถอนคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่อย่างใด
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209 ไม่ได้ตัดอำนาจศาลที่จะสั่งให้งดการบังคับคดีในเมื่อมีคำขอให้พิจารณาใหม่เพราะคำขออาจเป็นความจริงมีเหตุที่ควรให้พิจารณาใหม่ แต่ศาลยังจะต้องฟังพยานของอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนถ้าไม่ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้แล้วคำร้องขอให้พิจารณาใหม่อาจไม่มีผล และเสียหายแก่ผู้ขอให้พิจารณาใหม่ได้ จึงย่อมอยู่ในอำนาจศาลที่จะสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนก็ได้

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ แต่ศาลชั้นต้นยกคำขอให้พิจารณาใหม่เสีย และมิได้แจ้งคำสั่งให้งดการบังคับคดีไปยังเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 292(1) ประกอบด้วยมาตรา 209 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการขายทอดตลาดได้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่งดการขายทอดตลาดจึงชอบแล้ว

(4) ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วม ตามมาตรา 287 ผู้รับจำนอง ตามมาตรา 289 อาจยื่นคำขอและศาลมีอำนาจสั่งให้งดการบังคับคดีตามมาตรา 292(2) ได้
ขอบคุณ แฟนเพจ อ.ประยุทธ์

Facebook Comments