Home กฎหมาย-ฎีกาน่ารู้ ขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาล เกินระยะเวลาได้หรือไม่

ขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาล เกินระยะเวลาได้หรือไม่

8993

uton

การยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมอุทธรณ์ของอุทธรณ์ฉบับเดิมที่ศาลรับอุทธรณ์ไปแล้ว ต้องพิจารณาดูว่าการขอแก้ไขนั้นเป็นการขอแก้ไขในรายละเอียดหรือเป็นการเพิ่มเติมประเด็นขึ้นมาใหม่

หากเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นอุทธรณ์จากฉบับเดิม ต้องยื่นแก้ไขภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๙๘ วรรค ๑

หากมิใช่เป็นการเพิ่มเติมประเด็น แต่เป็นเพียงการขอแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย เช่นพิมพ์ผิดพลาดไป จึงขอแก้ไขให้สมบูรณ์อย่างนี้สามารถยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติม แม้จะล่วงเลยระยะเวลาหนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๙๘ วรรค ๑ ได้

นอกจากนี้ทางทนายกฤษดา จะขออนุญาตแนะนำทางแก้หากเห็นว่าล่วงเลยระยะเวลา หนึ่งเดือนไปแล้วกล่าวคือ ผู้เขียนอุทธรณ์สามารถนำเสนอสิ่งที่ต้องการบอกแก่ศาลอุทธรณ์ให้ทราบได้ โดยวิธีทำเป็นคำแถลงประกอบอุทธรณ์ ได้เสมอ ก่อนที่ศาลอุทธรณ์จะเขียนคำพิพากษาเสร็จสิ้นเพราะไม่มีกฎหมายข้อใดบัญญัติห้ามไว้

ขอบคุณครับ มีปัญหาเกี่ยวกับการอุทธรณ์ฎีกาสามารถปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0999170039

IMG_0548-0

 

สามารถพิจารณาเพิ่มเติมจากคำพิพากษาฎีกาที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2575/2516
จำเลยอุทธรณ์และขอทุเลาการบังคับคดี โดยฟ้องอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดีระบุแต่ชื่อจำเลยที่ 1 ทนายจำเลยทั้งสามเป็นผู้ลงชื่อในอุทธรณ์และคำร้อง ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำร้องไว้แล้ว ต่อมาเมื่อพ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จำเลยทั้งสามได้ยื่นคำร้องขอระบุชื่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี ดังนี้ เมื่อคำร้องของจำเลยมิได้อ้างเหตุขึ้นมาใหม่ คงอ้างแต่เพียงว่าฟ้องอุทธรณ์ที่ได้ยื่นไว้แล้วเป็นฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสาม ที่ระบุชื่อจำเลยที่ 1 ผู้เดียวนั้นเพราะพิมพ์ผิดพลาดไป อีกทั้งข้อความในฟ้องอุทธรณ์และคำร้องขอทุเลาการบังคับที่ยื่นพร้อมอุทธรณ์มีข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ด้วย ซึ่งเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ได้ยื่นอุทธรณ์ร่วมกับจำเลยที่ 1 จริง ศาลอุทธรณ์ย่อมอนุญาตตามคำร้องของจำเลยได้

และ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2541
การยื่นอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 ได้กำหนดให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งให้คู่ความฝ่ายที่อุทธรณ์ฟัง อันเป็นการกำหนดระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ไว้ซึ่งต่างกับการยื่นคำฟ้องในศาลชั้นต้นที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการยื่นฟ้องไว้ ดังนั้นหากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3จะขอแก้หรือเพิ่มเติมอุทธรณ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ก็จะต้องยื่นภายในกำหนดอายุอุทธรณ์ด้วยเช่นกัน จะนำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาในศาลชั้นต้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยื่นคำร้องขอแก้และเพิ่มเติมอุทธรณ์ล่วงเลยกำหนดอายุอุทธรณ์แล้ว จึงรับไว้พิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของอุทธรณ์เดิมไม่ได้ คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3มิใช่คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเพียงคำแถลงอย่างหนึ่งซึ่งทนายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 62 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่ได้อ่านข้อความในคำแถลงประกอบคำรับสารภาพดังกล่าว และศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ก็ตาม คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 นั้น ก็ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นเป็นผู้สั่งให้พนักงานคุมประพฤติไปทำการสืบเสาะประวัติความประพฤติ และพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แล้วให้พนักงานคุมประพฤติทำรายงานเสนอต่อศาล เพื่อศาลจะได้ใช้รายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติดังกล่าวประกอบดุลพินิจในการลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เมื่อศาลชั้นต้นได้แจ้งรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ทราบแล้ว จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่คัดค้าน และยืนยันให้การ รับสารภาพเช่นเดิมเช่นนี้ กระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้น กระทำต่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

Facebook Comments