Home สาระน่ารู้ การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง มีความผิดตามกฎหมายอาญาหรือไม่

การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง มีความผิดตามกฎหมายอาญาหรือไม่

42906

คำถาม

การฟ้องเท็จในคดีแพ่ง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่

การเอาความเท็จมาฟ้องในคดีแพ่งหรือการที่จำเลยในคดีแพ่งยื่นคำให้การเป็นเท็จ ไม่เป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 เพราะมิได้เป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงาน และการที่โจทก์หรือจำเลยในคดีแพ่งแถลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสำนวนคดีแพ่งโดยมิได้มีวัตถุประสงค์จะใช้ข้อความนั้นเป็นพยานหลักฐาน ก็หาเป็นความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267 ไม่

ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การฟ้องความกับการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานเป็นการกระทำคนละประเภท การฟ้องความเป็นวิธีดำเนินการตามกระบวนวิธีพิจารณาความ ไม่ใช่เป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 คำให้การที่จำเลยยื่นต่อศาลก็เป็นวิธีดำเนินการตามกระบวนพิจารณาความเช่นกัน หาใช่เป็นการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานไม่ ส่วนที่โจทก์หรือจำเลยในคดีแพ่งแถลงให้ศาลจดข้อความอันเป็นเท็จในรายงานพิจารณานั้น จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 ผู้ที่แจ้งให้เจ้าพนักงานทำเช่นนั้น ต้องมีวัตถุที่ประสงค์จะใช้เป็นพยานหลักฐานแต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายฟ้องในคดีนี้เป็นเรื่องที่จำเลยแถลงต่อศาลในการดำเนินคดีเพื่อให้ศาลจับกุมโจทก์ซึ่งเป็นบริวารจำเลยที่ 4มาปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่ศาลจดถ้อยคำแถลงไว้ในรายงานพิจารณานั้น หาใช่เป็นเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานตามความหมายแห่งมาตรานี้ไม่ เป็นแต่เพียงคำกล่าวอ้างซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะคัดค้านได้

มีปัญหาปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0999170039 0891427773

Facebook Comments