Home คดีอาญา บริษัทนิติบุคคล แจ้งความร้องทุกข์โดยไม่ได้ประทับตราบริษัทในหนังสือมอบอำนาจ เป็นการร้องทุกข์ที่ชอบทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่

บริษัทนิติบุคคล แจ้งความร้องทุกข์โดยไม่ได้ประทับตราบริษัทในหนังสือมอบอำนาจ เป็นการร้องทุกข์ที่ชอบทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่

10556

คำถาม

บริษัทนิติบุคคล แจ้งความร้องทุกข์โดยไม่ได้ประทับตราบริษัทในหนังสือมอบอำนาจ เป็นการร้องทุกข์ที่ชอบทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่

คำตอบเคยมีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1287/2553

ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7), 123

แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหนังสือมอบอำนาจมิได้ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ร่วมตามข้อบังคับซึ่งมีผลให้การมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายก็ตาม แต่ก็ได้ความว่าในวันที่ ก. ผู้รับมอบอำนาจเข้าให้การต่อพนักงานสอบสวนนั้น ก. มิได้นำหนังสือร้องทุกข์ไปมอบให้แก่พนักงานสอบสวน เป็นการร้องทุกข์ด้วยวาจา และในวันเดียวกันนั้นเอง ด. และ ว. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมก็ได้ไปพบพนักงานสอบสวนพร้อมกับ ก. และให้การต่อพนักงานสอบสวนไว้ด้วยตามบันทึกคำให้การของผู้ร้องทุกข์ ผู้กล่าวโทษหรือพยาน ซึ่ง ธ. พนักงานสอบสวนพยานโจทก์เบิกความว่า ในวันที่พยานรับคำร้องทุกข์ ด. และ ว. ให้การต่อพยานว่าจำเลยได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้และสั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวและ ด. กับ ว. ยืนยันให้ดำเนินคดีแก่จำเลย จึงฟังได้ว่าบริษัทโจทก์ร่วมโดย ด. และ ว. ได้ร้องทุกข์ด้วยวาจาหรือด้วยปากต่อพนักงานสอบสวนโดยชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 123 วรรคสามแล้ว ส่วนการที่พนักงานสอบสวนได้จัดให้มีการลงบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี หรือบันทึกคำให้การของ ด. และ ว. มีรายละเอียดอย่างใดก็เป็นการดำเนินการเพื่อให้มีการบันทึกไว้ตามบทกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments