Home กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งจะต้องถือข้อเท็จจริงจากความเห็นในการสั่งฟ้องของพนักงานสอบสวนหรือไม่

การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่งจะต้องถือข้อเท็จจริงจากความเห็นในการสั่งฟ้องของพนักงานสอบสวนหรือไม่

1454

การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่ง จะต้องถือข้อเท็จจริงจาก ความเห็นในการสั่งฟ้องของพนักงานสอบสวน หรือไม่ หรือต้องวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในสำนวนคดีแพ่ง

#ประเภทว่าตำรวจชี้คนตายว่าประมาทด้วยแล้วคิดว่าไม่ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนดูไว้นะครับ

มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

#ความเห็นของพนักงานสอบสวน

คำพิพากษาฎีกาที่ 1703/2558 ความเห็นของพนักงานสอบสวนไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลไม่ต้องสืบข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46

คำพิพากษาฎีกาที่ 8271-8272/2550 จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการสังกัดกรมทางหลวงจำเลยที่ 2 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ของทางราชการกลับจากตรวจงาน และได้เกิดเหตุชนกับรถยนต์ที่มี ม.เป็นผู้ขับขี่เป็นเหตุ กับผู้โดยสารในรถ 2 คนถึงแก่ความตาย แม้พนักงานสอบสวนมีคำสั่งฟ้อง ม.ด้วยก็ตาม แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวนตามรายงานการสอบสวน ไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวน การวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดีย่อมเป็นไปตามที่คู่ความนำสืบ

คำพิพากษาฎีกาที่ 399/2546 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 กรณีไม่มีทางที่จะขยายไปถึงความเห็นของพนักงานสอบสวน ให้เป็นการผูกมัดศาลพิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลัง #ความเห็นของพนักงานสอบสวนไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฉะนั้นในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงไม่จำเป็นต้องถือตาม

คำพิพากษาฎีกาที่ 4028/2530 #ความเห็นของพนักงานสอบสวนที่วินิจฉัยว่า เหตุเกิดขึ้นเป็นการสุดวิสัยนั้น #ไม่ใช่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวน

Athip Schumjinda 0968247444

Facebook Comments