Home คดีแพ่ง วิเคราะห์คดีแชร์ วิธีฟ้องคดีและอายุความในการฟ้อง

วิเคราะห์คดีแชร์ วิธีฟ้องคดีและอายุความในการฟ้อง

145223
  • ความหมายของการเล่นแชร์

การเล่นแชร์ คือ สัญญาชนิดหนึ่ง มีคู่ความ 2 ฝ่าย คือ นายวงแชร์ ฝ่ายหนึ่ง กับลูกวงแชร์ อีกฝ่ายหนึ่ง ปกตินายวงแชร์จะเป็นบุคคลเดียว ส่วนลูกวงแชร์จะมีหลายคน

  • รวมบทความเกี่ยวกับการเล่นแชร์

เปิดคำพิพากษาศาลฎีกาวิเคราะห์ แชร์ล้มผิดฉ้อโกงหรือไม่

วิเคราะห์คดีแชร์ ท้าวแชร์ออนไลน์เปิดแชร์หลายวงมีความผิดหรือไม่ และเลขาวง หรือผู้ช่วยถือเป็นตัวการร่วมหรือไม่

ท้าวแชร์ ตั้งแชร์เกิน 3 วง มีโทษจำคุกหรือไม่

  • ประเภทของการเล่นแชร์

ในการเล่นจะกำหนดจำนวนเงินแต่ละงวดและวิธีการประมูลซึ่งวิธีการประมูลมี 2 ประเภท คือ

ประมูลหักดอกเบี้ย เช่น จำนวนเงินแชร์ 10,000 บาท หากลูกวงแชร์ผู้ประมูลให้ผลประโยชน์ 1,500 บาท เป็นดอกเบี้ยซึ่งสูงกว่าลูกวงแชร์อื่น ก็จะเป็นผู้ชนะการประมูล ลูกวงแชร์ที่ประมูลได้ก็ต้องรับเงินงวดนั้น 8,500 บาท

แต่ถ้าเป็นแชร์ชนิดดอกตาม ลูกวงแชร์ที่ประมูลไม่ได้ก็ต้องชำระเต็ม 10,000 บาท แต่จะได้รับคืนจากผู้ประมูลได้ในภายหลัง

  • สิทธิพิเศษของเท้าหรือนายวงแชร์

ปกตินายวงแชร์ได้สิทธิพิเศษ คือได้รับเงินเต็มในเดือนแรก ตามตัวอย่างข้างต้นหากมีผู้เล่น 20 คน ผู้เข้าเล่นหรือลูกวงแชร์จะต้องชำระเงินคนละ 10,000 บาท ให้แก่นายวงแชร์ โดยนายวงแชร์ไม่ต้องเสียดอกแต่มีหน้าที่ที่จะใช้คืนลูกวงแชร์ทุกงวดๆ ละ 10,000 บาท และมีหน้าที่จัดการประมูลและรวบรวมเงินจากลูกวงแชร์ที่ประมูลไม่ได้ มอบให้แก่ผู้ที่ประมูลได้

มีข้อพิจารณาว่าหากผิดสัญญาเล่นแชร์ดังกล่าว คู่สัญญาจะต้องฟ้องคดีภายในกี่ปี เนื่องจากสัญญาเล่นแชร์ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายไว้โดยเฉพาะ จึงต้องปรับข้อเท็จจริงในข้อสัญญาเข้ากับบทบัญญัติเรื่องอายุความ

  • กรณีผิดสัญญาเล่นแชร์เกิดขึ้นได้ 4 กรณี คือ

1. นายวงแชร์ผิดสัญญาไม่รวบรวมเงินมอบให้แก่ลูกวงแชร์ซึ่งประมูลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2530 โจทก์ตกลงเล่นแชร์กับจำเลย จำเลยเป็นนายวงแชร์ เมื่อลูกวงแชร์คนใดเปียแชร์ได้จะได้รับเช็คจากจำเลยซึ่งเก็บมาจากลูกวงแชร์ทุกคนโดยจำเลยลงชื่อสลักหลังและรับผิดชอบกรณีเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์เปียแชร์ได้และนำเช็คที่ได้รับจากจำเลยบางฉบับไปชำระหนี้แก่ ก. แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ต่อมา ก. ถึงแก่กรรม ว. ภริยา ก. ฟ้องจำเลยในฐานะผู้สลักหลังให้ชำระเงินตามเช็ค ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์ชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่ ว. ไป เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าแชร์ตามเช็คดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ตามข้อตกลงในการเล่นแชร์ และอายุความของสิทธิเรียกร้องในกรณีผิดสัญญาเล่นแชร์นี้มีกำหนดสิบปี การที่โจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันให้โจทก์นำเช็คที่ได้รับจากการเล่นแชร์ไปเรียกเก็บเงินดังกล่าวนั้นไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ และโจทก์มิใช่คู่ความในคดีที่ ว.ฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีที่ ว. ฟ้องจำเลยดังกล่าว

2. ลูกวงแชร์ผิดสัญญาไม่ชำระเงินค่างวดให้แก่นายวงแชร์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2480 สัญญากู้เงินในเรื่องเล่นแชร์วิธีกำหนดเวลาที่ลูกวงจะต้องนำเงินส่งให้นายวงเป็นงวดๆ นั้น มีกำหนดอายุความฟ้องร้องเพียง 5 ปี นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 182/2516 และ 284/2516

3. ลูกวงแชร์ผิดสัญญากันเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2537 มูลหนี้ตามฟ้องโจทก์ไม่ใช่มูลหนี้การกู้ยืมเงินตามความหมายของ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมอยู่ในมูลหนี้ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว มูลหนี้เดิมเกิดจากจำเลยที่ 1 ร่วมเล่นแชร์กับโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าแชร์ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถือว่าโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ค่าแชร์ การชำระหนี้ด้วยเช็คเช่นนี้ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงอาศัยมูลหนี้เดิมตามสัญญาการเล่นแชร์หาได้ฟ้องให้รับผิดตามเช็คไม่ อายุความเกี่ยวกับการฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่) เมื่อนับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์ครั้งสุดท้าย และเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

4. กรณีลูกวงแชร์ผิดสัญญา นายวงแชร์ชำระหนี้แทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1553/2537 โจทก์เล่นแชร์กับจำเลยโดยโจทก์เป็นนายวง จำเลยประมูลแชร์ได้และออกเช็คให้แก่ลูกวงคนอื่นๆ ไว้ เมื่อเช็คเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ในฐานะนายวงได้ชำระเงินตามเช็คไปแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยอันเป็นการเรียกเงินที่ออกทดรองไปก่อนคืน สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 3 กรณีแรกมีข้อสัญญาที่เหมือนกันอยู่ 2 กรณี คือ กรณีที่นายวงแชร์ผิดสัญญากับลูกวงแชร์ และลูกวงแชร์ผิดสัญญากันเอง กล่าวคือ ผู้ที่ผิดสัญญามีหน้าที่รับผิดชอบชำระหนี้ให้แก่อีกฝ่ายเพียงครั้งเดียว ส่วนกรณีลูกวงแชร์ผิดสัญญาต่อนายวงแชร์ กรณีนี้ลูกวงแชร์มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะชำระเป็นงวดๆ อายุความจึงต่างกัน ศิริชัย วัฒนโยธิน

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

0891427773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

 

Facebook Comments