Home คดีอาญา รับโอนทรัพย์จากผู้จัดการมรดกที่ยักยอก มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมหรือไม่

รับโอนทรัพย์จากผู้จัดการมรดกที่ยักยอก มีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมหรือไม่

7808

คำถาม

บุคคลที่ร่วมกระทําความผิดกับผู้จัดการมรดกโดยเป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดก ในกรณีที่ผู้จัดการมรดกกระทําผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ จะลงโทษฐานเป็นตัวการร่วม ตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๓, ๓๕๔ ได้หรือไม่

แม้โจทก์ทั้งสามเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายและมีสิทธิเรียกร้องในอันที่จะขอ ให้บังคับจําเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นมารดาของโจทก์ทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายจัดการแบ่ง มรดกให้โจทก์ทั้งสามตามสิทธิในทางแพ่งได้ก็ตาม แต่ที่โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยที่ ๑ ตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๓, ๓๕๔ เพื่อที่จะให้จําเลยที่ ๑ ได้รับโทษในทางอาญานั้น ย่อมเท่ากับ เป็นการขอให้จําเลยที่ ๑ ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสามในทางอาญาเป็นส่วนตัว เพราะผู้จัดการ มรดกตามคําสั่งศาลที่ได้กระทําผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวและต้องรับโทษในทาง อาญาย่อมต้องรับโทษเป็นการส่วนตัว เนื่องจากสภาพบังคับในทางอาญาสําหรับความผิดตามฟ้อง ไม่มีการรับโทษในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดกเหมือนเช่นความรับผิดในฐานะผู้จัดการมรดกในทาง แพ่ง คดีระหว่างโจทก์ทั้งสามและจําเลยที่ ๑ จึงเป็นคดีอุทลุม ซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ทั้งสาม ฟ้องจําเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นบุพการีตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๕๖๒ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอํานาจฟ้อง จําเลยที่ ๑

จําเลยที่ ๑ โอนที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ บ. ให้แก่จําเลยที่ ๒ เพียงผู้เดียว โดย จําเลยที่ ๒ ยอมรับว่า จําเลยที่ ๒ เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูจําเลยที่ ๑ ในการร้องขอตั้งผู้จัดการ มรดกของ บ. จําเลยที่ ๒ เป็นผู้เตรียมเอกสารและจัดหาทนายความแก่จําเลยที่ ๑ และวันที่ ไปโอนทรัพย์มรดกของ บ. ที่สํานักงานที่ดินนั้น จําเลยที่ ๒ กับจําเลยที่ ๑ ไปดําเนินการ จดทะเบียนด้วยตนเองจนแล้วเสร็จพฤติการณ์ของจําเลยที่ ๒ แสดงให้เห็นว่า จําเลยที่ ๒ ร่วม รู้เห็นกับจําเลยที่ ๑ มาตั้งแต่ต้น ถือได้ว่าจําเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกันโดยสมคบกันมาก่อน โดยมีเจตนาประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลที่อาจเกิดขึ้นร่วมกัน มิใช่เป็นเรื่องที่จําเลยที่ ๑ กระทําความผิดเพียงลําพัง แต่ไม่อาจลงโทษจําเลยที่ ๒ ในฐานะตัวการได้เพราะจําเลยที่ ๒ เป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์มรดกของ บ. มิได้กระทําในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้อื่นตาม คําสั่งศาล คงลงโทษได้เพียงผู้สนับสนุนการกระทําความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๓, ๓๕๔ ประกอบมาตรา ๔๖

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments