Home คดีแพ่ง โพสต์ Facebook ด่านายจ้าง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้หรือไม่ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่

โพสต์ Facebook ด่านายจ้าง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้หรือไม่ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่

14691

โพสต์ Facebook ด่านายจ้าง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้หรือไม่ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่

เรื่องเล็กแต่ไม่น้อยแลต้องระวังกันให้มากเพราะ เรื่องเท่านี้บานปลายให้ตกงานได้เลยนะครับสำหรับประเด็นสำคัญที่ว่าโพสต์ Facebook ด่านายจ้าง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้หรือไม่ และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๒๐๖/๒๕๖๐

โจทก์ฟ้องและแก้ไขคําฟ้องขอให้บังคับจําเลยชําระค่าจ้างค้างจ่าย ๔,๔๐๐ บาท ค่าชดเชย ๘๔,๐๐๐ บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า๑๗,๙๖๗ บาท และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จํานวน ๓๕,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ของค่าชดเชยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์

จําเลยให้การขอให้ยกฟ้อง

ศาลแรงงานภาค ๗ พิพากษาให้จําเลยจ่ายค่าชดเชย ๘๔,๐๐๐ บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ๑๗,๙๖๗ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ของค่าชดเชย และร้อยละ ๗.๕ ต่อปี ของสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า นับแต่วันฟ้อง (วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖) จนกว่าจะชําระเสร็จ คําขออื่นให้ยก

จําเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า ศาลแรงงานภาค ๗ รับฟัง ข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ๒๕๕๐ โจทก์เข้าทํางานเป็นลูกจ้างของจําเลย ตําแหน่งเจ้าหน้าที่งานธุรการ ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๑๑,๐๐๐ บาท กําหนดจ่ายทุกวันสิ้นเดือน ระหว่างทํางานเดือนกันยายน ๒๕๕๖ โจทก์ เขียนข้อความลงในสื่อออนไลน์โปรแกรมเฟซบุ๊ก (Facebook) จําเลยมีคําสั่ง พักงานโจทก์ โจทก์รับทราบคําสั่งแล้วตามใบตอบรับ แต่โจทก์ยังเข้าทํางาน ตามปกติตามบัตรลงเวลาเข้าทํางานวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ จําเลย เลิกจ้างโจทก์ อ้างเหตุว่าการกระทําของโจทก์เป็นการจงใจทําให้จําเลย ผู้เป็นนายจ้างได้รับความเสียหาย แล้ววินิจฉัยว่า แม้ถ้อยคําที่โจทก์เขียน จะมีถ้อยคําหยาบคายหรือไม่เหมาะสม แต่ก็มีลักษณะระบายความคับข้องใจ ที่โจทก์มีต่อจําเลย ไม่ปรากฏว่ามีบุคคลใดบ้างที่ทราบข้อความดังกล่าว กรณี ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์จงใจทําให้จําเลยได้รับความเสียหาย ส่วนคําสั่งพักงาน โจทก์นั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการสอบสวนความผิดของโจทก์ตามที่ข้อบังคับเกี่ยวกับ การทํางานของจําเลยระบุไว้ และคําสั่งดังกล่าวไม่กําหนดจํานวนวันที่พักงานโดย ชัดแจ้ง จึงเป็นคําสั่งพักงานที่ไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคําสั่งของจําเลยเป็น กรณีที่ร้ายแรง จําเลยจึงต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยแต่การกระทําของโจทก์เป็นการแสดงทัศนคติที่เป็นปรปักษ์ต่อจําเลยกรณีมีเหตุอันสมควรที่จําเลยจะเลิกจ้างโจทก์จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และฟังไม่ได้ว่าจําเลยค้างจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์

คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจําเลยว่า จทก์จงใจทําให้จําเลย ได้รับความเสียหายหรือไม่ เนื่องจากโจทก์รับว่าเป็นผู้พิมพ์และเผยแพร่ข้อความ โดยมีเพื่อนของโจทก์พิมพ์และส่งข้อความตอบโต้ข้อความที่โจทก์ตั้งหัวข้อไว้ โจทก์ย่อมรับรู้ว่ามีบุคคลอื่นรับทราบข้อความที่โจทก์พิมพ์และเผยแพร่แล้ว นั้น เห็นว่า ศาลแรงงานภาค ๗ ฟังข้อเท็จจริงยุติตามที่ปรากฏตามข้อความที่โจทก์ เขียนในเฟซบุ๊ก ว่า เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๔ โจทก์เขียนข้อความลงเฟซบุ๊กว่า เมื่อไหร่จะได้ในสิ่งที่ควรได้วะ..ต้องกินต้องใช้ ไม่ได้แดกดินแดกลมนะ วันที่ 5 กันยายน ๒๕๕๔ ใครที่เกลียดเจ้านายเป็นบ้าเป็นหลัง โดนเจ้านายกลั่นแกล้ง หยุดซะเถอะความเกลียด ความโกรธ ปล่อยให้เขาเป็นอย่างนั้นไปคนเดียว เพราะถ้ามีเจ้านายเฮงซวยจริง ๆ ก็ถือว่าเจ้านายของคุณมีทุกข์เยอะที่ชีวิต เขาต้องมาเจอลูกน้องเกลียดและเขาก็จะไม่มีความสุขในสิ่งที่เขาเป็น ยุ่งเหยิง ยิ่งกว่าหมอย… ลูกค้าเกลียดวันที่ลูกค้าเต็ม… ตลอด ๓ ปีมานี้เขาบอกว่า ขาดทุนตลอด อยู่ได้ไงตั้ง ๓ ปี.งง เพื่อให้กําลังใจกันได้ดีมากขาดทุนทุกเดือน เมื่อเฟซบุ๊กเป็นสื่อออนไลน์สาธารณะที่ผู้ใช้งานใช้ในการติดต่อกับบุคคลอื่น และบุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความที่มีผู้เขียนลงบนเฟซบุ๊กดังกล่าวได้ และข้อเท็จจริงยุติว่า มีบุคคลภายนอกเข้ามาเขียนข้อความแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับข้อความที่โจทก์เขียนไว้บนเฟซบุ๊ก แม้ข้อความที่โจทก์เขียนดังกล่าว มีลักษณะเป็นการระบายความคับข้องใจของโจทก์แต่ก็ทําให้ผู้อ่านข้อความ เข้าใจว่าจําเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จําเลยเป็นนายจ้างที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เอาเปรียบลูกจ้าง และจําเลยกําลังประสบปัญหาด้านการเงิน ทั้งโจทก์ทํางานกับจําเลยมาเป็นเวลานาน ย่อมทราบดีว่าการเขียนข้อความดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ในการบริหารของจําเลยซึ่งมีความสําคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า การกระทําของโจทก์จึงเป็นการจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๒) และเป็นการ กระทําประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓ จําเลยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ที่ศาลแรงงานภาค ๗ พิพากษามานั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของจําเลยฟังขึ้น ส่วนอุทธรณ์ของจําเลยข้ออื่นไม่จําต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทําให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

พิพากษาแก้เป็นว่า จําเลยไม่ต้องชําระค่าชดเชย และสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตาม คําพิพากษาศาลแรงงานภาค ๗

สรุปยาว เฟซบุ๊กเป็นสื่อออนไลน์สาธารณะที่ผู้ใช้งานใช้ในการติดต่อกับ บุคคลอื่นและบุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความที่มีผู้เขียนลงบนเฟซบุ๊กได้ และมีบุคคลภายนอกเข้ามาเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ข้อความที่โจทก์เขียนไว้บนเฟซบุ๊ก แม้ข้อความที่โจทก์เขียนดังกล่าว มีลักษณะเป็นการระบายความคับข้องใจของโจทก์แต่ก็ทําให้ผู้อ่านข้อความ เข้าใจว่าจําเลยกลั่นแกล้งโจทก์ จําเลยเป็นนายจ้างที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เอาเปรียบลูกจ้าง และจําเลยกําลังประสบปัญหาด้านการเงิน ทั้งโจทก์ ทํางานกับจําเลยมาเป็นเวลานานย่อมทราบดีว่าการเขียนข้อความดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของจําเลยซึ่งมีความสําคัญ ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า การกระทําของโจทก์จึงเป็นการ จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๒) และเป็นการกระทําประการอื่นอันไม่สม แก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๔๓ จําเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์

สรุปสั้น เลิกจ้างได้ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ถือเป็นจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

 

 

Facebook Comments