Home คดีแพ่ง สิทธิอาศัย ตามความหมายของคำพิพากษาศาลฎีกา มีว่าอย่างไร

สิทธิอาศัย ตามความหมายของคำพิพากษาศาลฎีกา มีว่าอย่างไร

5728

สิทธิอาศัย ตามความหมายของคำพิพากษาศาลฎีกา มีว่าอย่างไร

คําพิพากษาฎีกาที่ 1066 – 1067/2561

สิทธิอาศัยใช้ได้ แต่เรื่องอาศัยโรงเรือนเท่านั้น การทรงสิทธิ์ เหนือพื้นที่ดินของผู้อื่นได้โดยไม่ต้องเสีย ค่าเช่าจึงไม่ใช่เรื่องอาศัย แต่เป็นการได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินของผู้อื่นโดยได้รับอนุญาต จะนําเรื่อง การบอก กล่าวล่วงหน้าแก่ผู้อาศัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1403 วรรคสอง มาใช้แก่กรณีที่ดินหาไม่ได้ ประกอบกับ จําเลยโต้เถียงว่าที่ดินพิพาท ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยแล้ว แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจําเลย อยู่ในที่ดิน พิพาทโดยโจทก์ให้อาศัย แต่เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จําเลย อยู่ในที่ดินพิพาทอีกต่อไป การที่จําเลยยังอยู่ ในที่ดินพิพาทจึงเป็นการกระทําละเมิดต่อโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่จําต้อง บอก กล่าวล่วงหน้าแก่จําเลยก่อนฟ้องคดี โจทก์มีอํานาจฟ้อง

ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1373 บัญญัติว่า “ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อ ในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง” และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 บัญญัติว่า “เอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทําขึ้นหรือรับรอง หรือสําเนา อันรับรองถูกต้องแห่ง เอกสารนั้น และเอกสารเอกชนที่มีคําพิพากษา แสดงว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อน ว่าเป็นของ แท้จริงและถูกต้องเป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายัน ต้องนําสืบความไม่ บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร” ดังนี้ เมื่อโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท จาก ข้อสันนิษฐานข้างต้น ต้องฟังว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ภาระการพิสูจน์จึงตก แก่จําเลย

จําเลยไม่สามารถไถ่ถอนการขายฝากที่ดินและบ้านพิพาทจาก อ. หลังจากนั้นจําเลยได้ครอบครอง ที่ดินและบ้านพิพาทตลอดมาเป็นเวลากว่า 20 ปี ก็ตาม ต้องถือว่าจําเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท แทน อ. เมื่อ อ. ได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ และโจทก์ได้ นําที่ดินและบ้านพิพาท ไปขายฝาก ป. โดยโจทก์มิได้ไถ่คืนภายในกําหนดไถ่ 1 ปี แต่โจทก์ได้ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทคืนจาก ป. จึง ต้องถือว่าจําเลย ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทแทนเจ้าของที่ดินพิพาทต่อเนื่องกันมา จนถึงโจทก์ ทั้งไม่ ปรากฏว่า จําเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดย บอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองคือ อ.ป. หรือโจทก์คน ใดคนหนึ่งว่าจําเลย ไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทนผู้ครอบครองต่อไปหรือตนเองเป็น ผู้ครอบครองโดย สุจริตอาศัยอํานาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จึงฟังไม่ได้ว่า จําเลย ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 ฟังไม่ได้ว่าขณะที่ ดินพิพาทมีหนังสือสําคัญเป็นหนังสือรับรองการทําประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จําเลยได้สิทธิครอบครองที่ดิน และบ้านพิพาทโดยการแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 และแม้จําเลยได้ครอบครองที่ดิน และบ้านพิพาท ภายหลังออกหนังสือสําคัญเป็นโฉนดที่ดินเป็นเวลาเกินกว่าสิบปี จําเลย ไม่ได้กรรมสิทธิ์ใน ที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ปพพ. มาตรา 1382 จําเลยจึงไม่อาจอ้างว่ามีสิทธิใน ที่ดินและบ้านพิพาท ดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง กรณีจึงไม่จําต้องวินิจฉัยว่า โจทก์รับ โอนที่ดินและบ้านพิพาทมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนหรือไม่ เพราะแม้จะฟังได้ตามฎีกาของจําเลยก็ไม่ ทําให้ผลที่เปลี่ยนแปลง

โจทก์ฟ้องขับไล่จําเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย เดือนละ 20,000 บาท นับแต่วัน ฟ้องเป็นต้นไป จําเลยให้การต่อสู้คดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจําเลยและฟ้องแย้งขอให้พิพากษาว่า ที่ดิน พิพาท เป็นกรรมสิทธิ์ของจําเลยโดยการครอบครองปรปักษ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ตามราคาที่ดินที่พิพาท โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นอย่างคิด มีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์สินที่พิพาท ศาลชั้นต้นมีคําพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีโดยให้ขับไล่จําเลยออกจาก ที่ดินพิพาท จําเลยอุทธรณ์ขอให้ยก ฟ้องโจทก์และพิพากษาว่า จําเลยได้ กรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามฟ้อง แย้ง จําเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่ขอให้ยกฟ้องของโจทก์และในส่วนที่ขอให้บังคับตาม ฟ้องแย้งของจําเลย เสมือนหนึ่งเป็นคดีคนละสํานวนรวมสองสํานวน

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

Facebook Comments