Home แรงงาน คดีแรงงาน ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันที นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินมีเรื่องอะไรบ้าง ตอนที่ 2

คดีแรงงาน ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันที นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินมีเรื่องอะไรบ้าง ตอนที่ 2

2882

สารบัญ

คดีแรงงาน ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันที นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินมีเรื่องอะไรบ้าง ตอนที่ 2

เคยมีคำพิพากษาของศาลฎีกา ตัดสินไว้ว่า ความผิดร้ายแรงที่เลิกจ้างได้ทันทีไม่ต้องจ่ายเงินใดๆ ได้กำหนดไว้ในพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119
มีทั้งหมด 6 ประเภท ประเภทที่ 1 ได้กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1
ในตอนที่ 2 นี้มาดูประเภทที่ 2-6
ประเภทที่ 2
อยู่ใน มาตรา119 (2)การจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย ที่ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงมีตัวอย่างดังนี้
1.ขัดคำสั่ง ไม่ช่วยเหลืองานฉุกเฉินของนายจ้าง
2.ผละงานออกมาพร้อมกันหลายคนในเวลาทำงาน
3.นัดหยุดงานผิดขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
4.เขียนข้อความโจมตีนายจ้างให้บุคคลภายนอกรู้
5.ส่งข้อความถึงลูกค้าไม่ให้ซื้อสินค้าของนายจ้าง
6.ฟ้องร้องนายจ้าง ฟ้องหน่วยราชการในเรื่องที่ไม่จริง
7.ขัดขวางทางเท้า-ออกของนายจ้าง
8.ทำให้เครื่องจักร เครื่องมือของนายจ้างใช้งานไม่ได้
9.ถ่วงงาน ดึงงานให้ล่าช้า ให้นายจ้างเสียหาย
10.แนะนำให้ลูกค้าไปซื้อสินค้าของคู่แข่ง
11.นำข้อมูลสำคัญของนายจ้างไปบอกคู่แข่ง
12.รายงานข้อมูลทางการเงิน การขาย การเก็บเป็นเท็จต่อผู้บริหาร
13.ไม่เข้าประชุมกับลูกค้าในเรื่องเกี่ยวกับผลประโยชน์สำคัญของนายจ้าง
ประเภทที่ 3
อยู่ในมาตรา 119(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายร้ายแรง มีตัวอย่างดังนี้
1. ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจทำงานทำให้งานเสียหายจำนวนมาก
2. เก็บเงินไม่ได้ตามกำหนดกลายเป็นหนี้สูญ
3. ไม่รักษาทรัพย์สิน ไม่รักษาผลประโยชน์ของนายจ้างในวิสัยที่จะทำได้ ทำให้ทรัพย์สินนายจ้างเสียหายมาก
4. สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบจนเกิดไฟไหม้
5. ขับรถเร็ว รถพลิกคว่ำ ในหน้าที่
6. ฝ่าฝืนกฎความปลอดภัยทำให้ทรัพย์สินนายจ้างเสียหาย
7. ทำงานโดยไม่มีหน้าที่ ทำให้งานนายจ้างเสียหาย
8. การหยอกล้อ เล่นกัน แล้วทำให้งานเสียหายร้ายแรง หรือทำให้คนอื่นบาดเจ็บ ตาย
9. ทะเลาะกับลูกค้าในเรื่องส่วนตัวมีผลทำให้นายจ้างเสียหาย
10. ขับรถนายจ้างเร็วชนคน ชนรถคนอื่น ทำให้นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าซ่อม จ่ายค่ารักษาคนเจ็บ
11. ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีราคาแพง หล่นแตก ชำรุด
12. ผู้จัดการ หัวหน้างานปล่อยปละละเลย ไม่ควบคุมดูแล ทำให้พนักงานทำงานเสียหายเป็นประจำ
13. เข้าประชุมกับลูกค้าไม่ทัน ลูกค้าจึงยกเลิกการสั่งซื้อ
14. เป็นชู้กับสามี ภรรยา ของลูกค้า ทำไมลูกค้าไม่ซื้อสินค้าของนายจ้าง
ประเภทที่ 4 
อยู่ในมาตรา 119(4) การทำผิดซ้ำหนังสือเตือน และฝ่าฝืนคำสั่งนายจ้างกรณีร้ายแรง มีตัวอย่างดังนี้
1. การเปิดเผยความลับ จุดสำคัญทางธุรกิจของนายจ้าง
2. ผิดระเบียบเกี่ยวกับการเงิน ทำให้นายจ้างขาดผลประโยชน์ทางการเงินโดยตรง
3. ฝ่าฝืนกฎความปลอดภัย อันอาจทำให้ชีวิตตนเองหรือเพื่อนร่วมงานบาดเจ็บหรือเสียชีวิต หรือทรัพย์สินเสียหาย
ประเภทที่ 5 
อยู่ในมาตรา 119(5) การขาดงานติดต่อกัน 3 วันโดยไม่มีเหตุอันควร
1. วิธีการนับ
☆ ถ้าขาดงานจันทร์- อังคาร -พุธ =นับ 3 วัน
☆ ถ้าขาดงานพฤหัสบดี – ศุกร์( เสาร์ – อาทิตย์หยุด) วันจันทร์มา =นับ 2วัน เสาร์-อาทิตย์ไม่นับ
☆ ถ้าขาดงานพฤหัส-ศุกร์ และจันทร์ ก็ขาดต่อ =นับ 3 วัน
☆ ถ้าขาดงานวันจันทร์ที่ 11 เมษายน ( 12 ถึง 14 วันหยุดสงกรานต์ = นับ 1 วันวันหยุดสงกรานต์ไม่นับ
☆ ถ้าขาดงานจันทร์-อังคาร วันพุธมาทำงานวันพฤหัสบดีขาดต่อ = นับ 2 วันแรกก่อน วันพฤหัสบดีนับ 1 ใหม่ต่างหากไม่ต่อกัน
2. ขาดงานไปโดยไม่ลาไม่แจ้ง ติดต่อกัน 3 วันโดยไม่มีเหตุอันควร
3. แจ้งว่าป่วยแต่ไม่มีหลักฐานที่เชื่อว่าป่วยจริง
4. บอกว่าพ่อ แม่ ลูก เมีย ป่วยแต่ไม่มีหลักฐาน
ประเภทที่ 6
อยู่ในมาตรา 119(6) การถูกศาลตัดสินให้จำคุกมี ตัวอย่างดังนี้
1. ฆ่าคนตายมาก่อน
2. ลักทรัพย์คนอื่นมาก่อน
3. ขายยาเสพติด ขายอาวุธ มีอาวุธไว้ในครอบครอง มาก่อน
4. หรือมีความผิดอื่นใดมาก่อนแล้วถูกศาลตัดสินให้จำคุก
ทั้งหมดก็เป็นตัวอย่าง เกี่ยวกับความผิดร้ายแรง ตอนที่ 2 ที่นายจ้างสามารถ เลิกจ้าง ลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายเงิน ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานมาตรา 119 ซึ่งถ้าลูกจ้างได้ศึกษาไว้ ก็จะได้เป็นแนวทางปฏิบัติให้ถูกต้อง ในการทำงาน จะเป็นประโยชน์ กับลูกจ้างเองโดยตรงครับ
มีปัญหาคดีแรงงาน
ติดต่อทีมทนายอธิป 091 712 7444
Facebook Comments