Home คดีอาญา การอ้าง การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือบันดาลโทสะ สามารถอ้างเมื่อภยันตรายผ่านไปแล้วได้หรือไม่

การอ้าง การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือบันดาลโทสะ สามารถอ้างเมื่อภยันตรายผ่านไปแล้วได้หรือไม่

6958

การอ้าง การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือบันดาลโทสะ สามารถอ้างเมื่อภยันตรายผ่านไปแล้วได้หรือไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๔๖/๒๕๖๐ จําเลยเห็นผู้ตายขณะมีเพศสัมพันธ์กับภริยา จําเลยจึงเข้าไปชกต่อยต่อสู้กับผู้ตาย เมื่อจําเลยเพลี่ยงพล้ํา ภริยาจําเลยและผู้ตายรีบสวมใส่ กางเกง แล้วภริยาจําเลยไปติดเครื่องรถจักรยานยนต์และเรียกผู้ตายขึ้นรถ ผู้ตายก็รีบวิ่งไป นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่ภริยาจําเลยขับออกไป ดังนี้ ภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมายได้ผ่านพ้นไปแล้ว การที่จําเลยวิ่งตามไปทันทีแล้วใช้ไม้และเสียมตี ผู้ตายจึงไม่อาจอ้างว่าเป็นการป้องกันสิทธิของตนได้ แต่อย่างไรก็ดี การกระทําดังกล่าว เป็นการกระทําต่อเนื่องกระชั้นชิดกับเหตุการณ์ที่จําเลยเห็นผู้ตายมีเพศสัมพันธ์กับ ภริยาจําเลย ถือได้ว่าจําเลยถูกผู้ตายข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่ จําเลยใช้ไม้และเสียมที่ผู้ตายในขณะนั้นจึงเป็นการกระทําความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาล โทสะตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๘ ประกอบมาตรา ๗๒ หาใช่เป็นการป้องกันเกินสมควร แก่เหตุไม่

คําพิพากษาฎีกาที่ ๔๔๙๕/๒๕๖๑ การกระทําโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ. มาตรา ๗๒ เป็นการกระทําที่ผู้กระทําความผิดถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมจึง กระทําความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ส่วนการป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายตาม มาตรา ๖๘ หรือการป้องกันสิทธิเกินสมควรแก่เหตุตามมาตรา ๖๙ นั้น เป็นกรณีที่ผู้กระทํา จําต้องกระทําเพื่อป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่นให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง การกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งจึงไม่อาจ เป็นทั้งการกระทําโดยบันดาลโทสะและป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการ ป้องกันสิทธิเกินสมควรแก่เหตุในขณะเดียวกันได้ เนื่องจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการ ประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายที่ผู้กระทําจะกระทําเพื่อป้องกันสิทธิได้จะต้องเป็น

ภยันตรายที่ใกล้จะถึงและภยันตรายนั้นยังมิได้สิ้นสุดลง หากภยันตรายนั้นผ่านพ้นไปแล้ว ผู้กระทําก็ไม่อาจอ้างว่าเป็นการกระทําเพื่อป้องกันสิทธิได้ อย่างไรก็ดี ภยันตรายดังกล่าวแม้

จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่ก็อาจเป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมได้อย่างหนึ่ง – หากผู้ถูกข่มเหงได้กระทําความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น คือในระยะเวลาต่อเนื่องที่ตนยังมี โทสะอยู่ ย่อมถือว่าเป็นการกระทําความผิดโดยบันดาลโทสะจําเลยมีอาวุธปืนอยู่ในมือในขณะที่ผู้ตายไม่มีอาวุธเป็นพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่า ผู้ตายคงไม่กล้าทําร้ายจําเลยอีกต่อไปแล้ว จึงถือได้ว่าภยันตรายดังกล่าวที่ผู้ตายก่อได้ผ่านพ้น ไปแล้ว อย่างไรก็ดี ตามพฤติการณ์ที่จําเลยยิงผู้ตายถึง 5 นัด แล้วยังบรรจุกระสุนปืนเพิ่ม และยิงผู้ตายอีกก็ต่อเนื่องมาจากการกระทําของผู้ตายที่กระทําต่อจําเลย ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ ข่มเหงจําเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จําเลยยิงผู้ตายไปในระยะเวลา ต่อเนื่องกระชั้นชิดกับการกระทําดังกล่าว การกระทําของจําเลยจึงเป็นการกระทําความผิด โดยบันดาลโทสะ หาใช่เป็นการกระทําเพื่อป้องกันสิทธิเกินสมควรแก่เหตุด้วยในขณะเดียวกัน และเป็นการกระทํากรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทไม่ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมาย เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอํานาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.อ. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบมาตรา ๒๒๕

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี@Lawyers.in.th

 

Facebook Comments