Home คดีครอบครัว สัญญากู้ยืมเงิน มีกฎหมายต้องให้ทำตามแบบหรือไม่ สัญญาเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการทำการกู้ยืมได้หรือไม่

สัญญากู้ยืมเงิน มีกฎหมายต้องให้ทำตามแบบหรือไม่ สัญญาเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการทำการกู้ยืมได้หรือไม่

5530

คำถาม

สัญญากู้ยืมเงิน มีกฎหมายต้องให้ทำตามแบบหรือไม่ เกิดขึ้นก่อนหรือหลังการทำการกู้ยืมได้หรือไม่

คำตอบ เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11489/2554

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ไม่ใช่แบบแห่งนิติกรรม ทั้งกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีขึ้นเฉพาะในขณะที่ทำสัญญากู้ยืม ดังนั้น หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีขึ้นก่อนหรือหลังทำสัญญากู้ยืมก็ได้ เมื่อได้ความว่าหลังจากจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์ใบสมัครสินเชื่อบุคคลขอกู้ยืมเงินโจทก์วงเงิน 35,000 บาท ตามเงื่อนไขและข้อตกลงในแบบพิมพ์ดังกล่าวและยื่นต่อโจทก์อันเป็นการทำคำเสนอขอกู้ยืมเงินโจทก์ และวันต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าตกลงให้จำเลยกู้ยืมเงิน 24,700 บาท ซึ่งอยู่ภายในวงเงินที่จำเลยขอกู้ยืม จึงเป็นคำสนองรับตามคำเสนอของจำเลย สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเกิดขึ้นและบริบูรณ์ เมื่อโจทก์ส่งมอบเงินที่กู้ยืม โดยโอนเงิน 23,630 บาท เข้าบัญชีที่จำเลยระบุไว้ ดังนี้ ใบสมัครสินเชื่อบุคคลที่จำเลยกรอกข้อความและลงลายชื่อในช่องลายมือของผู้กู้ จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคแรก ที่โจทก์ใช้เป็นหลักฐานฟ้องร้องให้บังคับจำเลยตามสัญญากู้ยืมได้

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือตามมาตรา 653 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่ใช่แบบแห่งนิติกรรม ทั้งกฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีขึ้นเฉพาะในขณะที่ทำสัญญากู้ยืม ดังนั้น หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีขึ้นก่อนหรือหลังทำสัญญากู้ยืมก็ได้ เมื่อได้ความว่าหลังจากจำเลยกรอกข้อความในแบบพิมพ์ใบสมัครสินเชื่อบุคคลขอกู้ยืมเงินโจทก์วงเงิน 35,000 บาท ตามเงื่อนไขและข้อตกลงในแบบพิมพ์ดังกล่าวและยื่นต่อโจทก์อันเป็นการทำคำเสนอขอกู้ยืมเงินโจทก์และวันต่อมาโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่าตกลงให้จำเลยกู้ยืมเงิน 24,700 บาท ซึ่งอยู่ภายในวงเงินที่จำเลยขอกู้ยืมจึงเป็นคำสนองรับตามคำเสนอของจำเลย สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยจึงเกิดขึ้นและบริบูรณ์เมื่อโจทก์ส่งมอบเงินที่กู้ยืม โดยโอนเงิน 23,630 บาท เข้าบัญชีที่จำเลยระบุไว้ในแบบพิมพ์ใบสมัครสินเชื่อบุคคลดังกล่าว ซึ่งพนักงานของโจทก์ได้บันทึกไว้ในเอกสารนั้นด้วย ดังนี้ ใบสมัครสินเชื่อบุคคลที่จำเลยกรอกข้อความและลงลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อของผู้กู้ดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมตามมาตรา 653 วรรคแรก

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี Lawyers.in.th

 

Facebook Comments