Home คดีครอบครัว ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมจากใคร

ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมจากใคร

2035

มาตรา ๑๔๓๖ ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้ (๑) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา

(๒) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจ ให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้ (๓) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม (๔) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (๑) (๒) และ (๓) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูกถอน

อำนาจปกครอง

การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆี่ยะ

๑. มาตรา ๑๔๓๖ หมายถึง กรณีที่ชายหรือหญิงซึ่งอายุครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์แล้วจะทำการหมั้นกัน แต่ชายหรือ

อธิบาย

หญิงยังไม่บรรลุนิติภาวะยังมีสถานะเป็นผู้เยาว์อยู่ ดังนี้ การหมั้นของผู้เยาว์จึงต้องให้บุคคลดังต่อไปนี้ให้ความยินยอมในการหมั้น (๑) บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา (๒) บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่ อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดาหรือบิดาได้ (๓) ผู้รับบุตรบุญธรรม ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม (๔) ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (๑) (๒) และ (๓) หรือมีแต่บุคคลดังกล่าวถูก

ถอนอำนาจปกครอง

๒. มาตรา ๑๔๓๖ ใช้คำว่า “บิดา” แสดงว่าต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

๓. มาตรา ๑๔๓๖ (๑) ใช้คำว่า “บิดาและมารดา” ย่อมต้องหมายถึง กรณีที่มีชายหญิงยังมีทั้งบิดามารดา ดังนั้น หากบิดาและมารดายังมีชีวิตอยู่การหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา แม้บิดาและมารดาจะแยกกันอยู่ก็ตาม

๔. การหมั้นที่ปราศจากความยินยอมของบุคคลตามอนุมาตรา (๑) ถึง (๔) การหมั้นดังกล่าวย่อมมีผลตกเป็น โมฆยะ เช่นนี้บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองย่อมมีสิทธิบอกล้างได้ (บุคคลผู้ที่สามารถให้ความยินยอมได้ ย่อมมีอำนาจในการบอกล้างสัญญาหมั้น)

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments