ฎีกาโต้แย้งการกำหนดโทษจำคุก ถือเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่
คําถาม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์ จําคุก ๑ ปี ศาลอุทธรณ์ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับ ๙,๐๐๐ บาท อีกสถานหนึ่ง โทษจําคุกให้รอการ ลงโทษไว้ ๒ ปี โจทก์จะฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจําเลย ได้หรือไม่
คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไว้ดังนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ ๔๓๙๕/๒๕๖๑
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําคุกจําเลยทั้งสองคนละ ๑ ปี ศาลอุทธรณ์ภาค ๗ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจําเลยทั้งสองคนละ ๙,๐๐๐ บาท อีกสถานหนึ่ง โทษจําคุกให้รอการลงโทษไว้ ๒ ปี แม้คําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๗ จะรอการโทษ จําคุกจําเลยทั้งสอง อันเป็นการแก้ไขมาก แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค ๗ พิพากษา ลงโทษจําคุกจําเลยทั้งสองไม่เกิน ๒ ปี ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑๙ ที่โจทก์ฎีกาขอให้ไม่รอการลงโทษจําเลย ทั้งสอง เป็นฎีกาโต้แย้งตุลพินิจในการกําหนดโทษอันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้อง ห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
สรุป ถือเปฌนการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา
โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th