Home คดีครอบครัว ยื่นขยายอุทธรณ์ยังไม่ทราบคำสั่งในวันนัด เมื่อโทรถามจนท.แจ้งว่าอนุญาต (แต่ศาลอนุญาตให้น้อยกว่าที่ขอ )ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ยื่นเกินระยะเวลาได้หรือไม่

ยื่นขยายอุทธรณ์ยังไม่ทราบคำสั่งในวันนัด เมื่อโทรถามจนท.แจ้งว่าอนุญาต (แต่ศาลอนุญาตให้น้อยกว่าที่ขอ )ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ยื่นเกินระยะเวลาได้หรือไม่

9385

(ฎีกาหลับหลัก)ยื่นขยายอุทธรณ์ยังไม่ทราบคำสั่งในวันนัด เมื่อโทรถามจนท.แจ้งว่าอนุญาต.. (แต่ความจริงศาลอนุญาตให้น้อยกว่าที่ขอ )ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ยื่นเกินระยะเวลาได้หรือไม่

คําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๔๐๙/๒๕๖๒

คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจําเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ มาตรา ๔, ๒, ๕, ๖๙, ๗๔, ๒๔ ทวิ, ๗๔ จัตวา จําเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลย ๑ ปี ต่อมาจําเลยยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลา อุทธรณ์ครั้งที่ ๑ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ศาลชั้นต้นอนุญาตถึงวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๐ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐ ศาลชั้นต้นอนุญาตถึงวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ ครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๐ ศาลชั้นอนุญาตถึงวันที่ 4 พฤษภาคม ๒๕๖๐ ครั้งที่ ๔ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ศาลชั้นต้นมีคําสั่งว่า ศาลอนุญาตถึงวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ จําเลยยื่นคําร้องเมื่อพ้นกําหนด ยกคําร้อง

จําเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ แผนกคดีสิ่งแวดล้อม พิพากษายืน จําเลยฎีกา

ศาลฎีกาแผนกคดีสิ่งแวดล้อมวินิจฉัยว่า กรณีมีเหตุสุดวิฉัยที่ควรอนุญาต ให้จําเลยขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

ในวันนั้นได้ อีกทั้งในวันถัดมาเมื่อทนายจําเลยโทรศัพท์มาสอบถามคําสั่งศาล นาย ณ. ก็ตอบไปว่าศาลอนุญาต แต่ไม่แน่ใจว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ได้ถึงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ตามที่ขอหรือไม่ ก็ตาม กรณีเช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่า มีการแจ้งคําสั่งที่ถูกต้องให้จําเลยทราบแต่อย่างใด จะถือว่าจําเลยทราบคําสั่ง ศาลชั้นต้นแล้วมิได้ ถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องไม่ปกติในทางธุรการของศาลชั้นต้น ที่ไม่อาจให้จําเลยทราบคําสั่งในวันที่ยื่นคําร้องนั้นได้ นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทําให้ จําเลยไม่อาจยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาอทธรณ์ครั้งที่ ๔ ก่อนสิ้นระยะเวลาที่ ศาลชั้นต้นกําหนดในครั้งที่ ๓ ได้ กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้จําเลยขอขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ ๔ ต่อไปอีก ที่ศาลอุทธรณ์ภาค ๔ พิพากษายืนตามคําสั่ง ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ ๔ มานั้น ไม่ต้องด้วย ความเห็นของศาลฎีกา ฎีกาของจําเลยฟังขึ้น

พิพากษากลับ อนุญาตให้จําเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกําหนด ๑๕ วัน นับแต่วันฟังคําพิพากษาศาลฎีกา แล้วให้ศาลชั้นต้นดําเนินการต่อไปตามกฎหมาย

สรุป

ทนายจําเลยยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ครั้งที่ ๓ ต่อศาลชั้นต้นเมื่อเวลา ๑๔.๒๐ นาฬิกา โดยระบุว่าเอกสารที่เกี่ยวข้อง ในสํานวนมีจํานวนมาก มีประเด็นที่ทนายจําเลยต้องใช้เวลาในการค้นคว้า และศึกษาอยู่พอสมควร ไม่อาจเรียงอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จได้ทัน จึงขอขยาย ระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก ๓๐ วัน ศาลชั้นต้นมีคําสั่งในวันเดียวกันว่า “อนุญาตถึงวันที่ 4 พฤษภาคม ๒๕๖๐” ซึ่งกําหนดวันให้น้อยกว่าที่จําเลยขอ แม้ว่าท้ายคําร้องของจําเลยมีหมายเหตุข้อความว่า ข้าพเจ้ารอฟังคําสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว ซึ่งหมายถึงว่าหากศาลมีคําสั่งตามคําร้อง ของจําเลยในวันเดียวกันกับวันที่ยื่นคําร้อง ย่อมถือว่าจําเลยทราบคําสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งคําสั่งให้จําเลยทราบในภายหลังอีก แต่ได้ความตามรายงานเจ้าหน้าที่ของ ณ. เจ้าพนักงานศาลว่า หลังจาก เสนอสํานวนเพื่อให้ศาลพิจารณาสั่ง ต่อมาช่วงเวลาเย็น (ของวันเดียวกัน) ทนายจําเลยมาสอบถาม ณ. ว่าศาลพิจารณาสั่งหรือไม่ ณ. แจ้งว่ายังไม่เห็น สํานวนที่สั่งในคดีนี้เนื่องจากมีสํานวนที่ศาลพิจารณาสั่งจํานวนมาก และกําลังพิจารณาสั่งอยู่ ณ. เห็นว่าขณะนั้นหมดเวลาราชการแล้ว จะต้องปิดประตูห้องเก็บสํานวนจึงแจ้งให้ทนายจําเลยกลับไปก่อนและ แจ้งให้มาตรวจสอบคําสั่งอีกครั้งในวันทําการถัดไป พฤติการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งในวันเดียวกับวันที่จําเลย ยื่นคําร้อง แต่จนกระทั่งหมดเวลาราชการแล้วก็ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ศาลชั้นต้นสั่งคําร้องขอขยายระยะเวลาของจําเลยแล้วหรือยัง จนกระทั้งซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ศาลเองเป็นผู้แจ้งให้ทนายจําเลยกลับไปไม่ต้องรอฟัง คําสั่ง จึงเป็นเหตุให้ทนายจําเลยไม่อาจทราบคําสั่งศาลในวันนั้นได้ อีกทั้ง ในวันถัดมาเมื่อทนายจําเลยโทรศัพท์มาสอบถามคําสั่งศาล ณ. ก็ตอบไปว่า ศาลอนุญาต แต่ไม่แน่ใจว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ตามที่ขอหรือไม่ กรณีเช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งคําสั่งที่ถูกต้อง ให้จําเลยทราบแต่อย่างใด จะถือว่าจําเลยทราบคําสั่งศาลชั้นต้นแล้วมิได้ ถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องไม่ปกติในทางธุรการของศาลชั้นต้นที่ไม่อาจ ให้จําเลยทราบคําสั่งในวันที่ยื่นคําร้องนั้นได้ นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทําให้ จําเลยไม่อาจยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ ๔ ก่อนสิ้นระยะเวลา ที่ศาลชั้นต้นกําหนดในครั้งที่ ๓ ได้ กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้จําเลย ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ ๔ ต่อไปอีก

สรุปสั้น แม้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคําสั่งในวันเดียวกับวันที่จําเลย ยื่นคําร้อง แต่จนกระทั่งหมดเวลาราชการแล้วก็ยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ศาลชั้นต้นสั่งคําร้องขอขยายระยะเวลาของจําเลยแล้วหรือยัง จนกระทั้งซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ศาลเองเป็นผู้แจ้งให้ทนายจําเลยกลับไปไม่ต้องรอฟัง คําสั่ง จึงเป็นเหตุให้ทนายจําเลยไม่อาจทราบคําสั่งศาลในวันนั้นได้ อีกทั้ง ในวันถัดมาเมื่อทนายจําเลยโทรศัพท์มาสอบถามคําสั่งศาล ณ. ก็ตอบไปว่า ศาลอนุญาต แต่ไม่แน่ใจว่าจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ ตามที่ขอหรือไม่ กรณีเช่นนี้เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งคําสั่งที่ถูกต้อง ให้จําเลยทราบแต่อย่างใด จะถือว่าจําเลยทราบคําสั่งศาลชั้นต้นแล้วมิได้ ถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องไม่ปกติในทางธุรการของศาลชั้นต้นที่ไม่อาจ ให้จําเลยทราบคําสั่งในวันที่ยื่นคําร้องนั้นได้ นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทําให้ จําเลยไม่อาจยื่นคําร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ ๔ ก่อนสิ้นระยะเวลา ที่ศาลชั้นต้นกําหนดในครั้งที่ ๓ ได้ กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้จําเลย ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ ๔ ต่อไปอีก

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments