พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522

มาตรา ๔๓ ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ
(๑) ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ
(๒) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
(๓) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(๔) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(๕) ในลักษณะที่ผิดปกติวิสัยของการขับรถตามธรรมดา หรือไม่อาจแลเห็นทางด้านหน้าหรือด้านหลัง ด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านได้พอแก่ความปลอดภัย
(๖) คร่อมหรือทับเส้นหรือแนวแบ่งช่องเดินรถ เว้นแต่เมื่อเปลี่ยนช่องเดินรถ เลี้ยวรถ หรือกลับรถ
(๗) บนทางเท้าโดยไม่มีเหตุอันสมควร เว้นแต่รถลากเข็นสำหรับทารก คนป่วยหรือคนพิการ
(๘) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น
(๙)[๑๗] ในขณะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ เว้นแต่การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่โดยใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนาโดยผู้ขับขี่ไม่ต้องถือหรือจับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้น

มาตรา ๑๖๐[๖๓] ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘ เป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้รับอันตรายสาหัส หรือตาย ผู้ไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ (๑) (๕) หรือ (๘) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580/2542

จำเลยมีความรู้ระดับปริญญาตรีซึ่งควรจะรู้จักผิดชอบเป็นอย่างดี กลับดื่มสุราจนมึนเมาแล้วขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงด้วยความประมาทและน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตราย แก่บุคคลหรือทรัพย์สิน และไม่คำนึงถึงความเดือดร้อน ของผู้อื่นเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจะจับกุม จำเลยก็ขับรถยนต์ ฝ่าด่านและใช้เท้าถีบเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งกระทำการตามหน้าที่จึงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่ไม่ปรากฏว่า จำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน จึงเห็นสมควรให้ลงโทษ กักขังแทนโทษจำคุก การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43(2) โดยมิได้ระบุบทกำหนดโทษตามมาตรา 160 วรรคสาม ด้วยนั้น เป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องและในความผิดดังกล่าวศาลล่างทั้งสอง ลงโทษปรับจำเลย 500 บาท แต่ตามมาตรา 160 วรรคสาม มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับตั้งแต่สองพันบาท ถึงหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษามาจึงเป็นการลงโทษปรับจำเลยต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำ ตามที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกา ขอให้ลงโทษจำเลยเพิ่มขึ้น ศาลฎีกาจึงลงโทษปรับจำเลย เพิ่มขึ้นไม่ได้

กล่าวโดยสรุป

สำหรับคดีนี้จำเลยมีความรู้ระดับปริญญาตรีดื่มสุราจนมึนเมาแล้วขับรถยนต์ แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับโทษจำคุกมาก่อน ศาลให้ลงโทษ กักขังแทนโทษจำคุก

ปรึกษาทีมงานทนายความ
ทนายอธิป 061-939-9935
ทนายเบส 091-939-4249
ทนายหนึ่ง 084-444-8952
ทนายไผ่ 095-781-9477
ทนายตี๋ใหญ่ 088-021-7716

Facebook Comments