Home ทั้งหมด บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เจ้าของรถสามารถทำประกันภัยรถคันดังกล่าวได้หรือไม่ และหากสามีของเจ้าของรถนำรถไปเฉี่ยวชนภริยาซึ่งเป็นเจ้าของรถจะสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่

บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เจ้าของรถสามารถทำประกันภัยรถคันดังกล่าวได้หรือไม่ และหากสามีของเจ้าของรถนำรถไปเฉี่ยวชนภริยาซึ่งเป็นเจ้าของรถจะสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่

2442

บุคคลภายนอกที่ไม่ใช่เจ้าของรถสามารถทำประกันภัยรถคันดังกล่าวได้หรือไม่ และหากสามีของเจ้าของรถนำรถไปเฉี่ยวชนภริยาซึ่งเป็นเจ้าของรถจะสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่

สัญญาประกันภัยนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีเกิดวินาศภัยขึ้น หรือเกิดเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่าเบี้ยประกันภัย (ป.พ.พ. ม. 861)

คู่สัญญาซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหนทดแทนนั้นเรียกว่า “ผู้รับประกันภัย”

คู่สัญญาซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันนันเรียกว่า “ผู้เอาประกัน”

“ผู้รับผลประโยชน์” คือ บุคคลผู้ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจำนวนเงินใช้ให้

ทั้งนี้ “ผู้เอาประกัน” กับ “ผู้รับผลประโยชน์” จะเป็นคนเดียวกันก็ได้ (ป.พ.พ. ม. 862) แต่อย่างไรก็ดี ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้สียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้ สัญญาประกันภัยนั้นย่อมไม่มีผลผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด (ป.พ.พ. ม. 863)

จากหลักกฎหมายข้างต้นจะเห็นว่า ผู้เอาประกันภัยนั้นอาจเป็นบุคคลคนๆเดียวกับผู้รับผลประโยชน์ หรือเป็นคนละคนก็ได้ แต่หลักที่สำคัญคือ มาตรา 863 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นผู้เอาประกันภัยนั้นจะต้องมีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้น ถ้าไม่มีส่วนได้เสียในเหตุดังกล่าวแล้ว สัญญาประกันภัยย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญา ดังนี้ บุคคลภายนอกนั้นหากไม่ใช่เจ้าของรถแล้ว ก็ไม่อาจจะเป็นผู้เอาประกันภัยนั้นได้เพราะถือว่าไม่มีส่วนได้เสียกับรถคันดังกล่าว

แต่อย่างไรก็ดี หากมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า บุคคลภายนอกนั้นเป็นตัวแทนของเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถคันดังกล่าวแล้ว สัญญาประกันภัยนี้ก็ย่อมมีผลบังคับคู่สัญญา หากตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับสัญญาโดยการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยนั้นก็ย่อมทำได้ (ป.พ.พ. ม. 806) และเมื่อสัญญาประกันภัยนั้นมีผลผูกพันคู่สัญญา การที่สามีนำรถที่ประกันนั้นออกไปใช้โดยความยินยอมจากภริยาผู้เป็นเจ้าของรถแล้วเกิดเหตุเฉี่ยวชน และเมื่อสัญญาประกันภัยระบุว่า “การคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง” ดังนั้น ภริยาซึ่งเป็นเจ้าของรถและเป็นคู่สัญญาประกันภัยย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทผู้รับประกันภัยได้ ดังจะเห็นได้จาก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2553 ซึ่งวางหลักว่า “จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยที่ 4 โดยไม่เปิดเผยชื่อตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 806 ตัวการซึ่งเปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใด ๆ ซึ่งตัวแทนได้ทำไว้แทนตนก็ได้ สัญญาประกันภัยค้ำจุนระหว่างจำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงมีผลบังคับใช้ได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปใช้ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถคันที่เอาประกันภัยโดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยแล้วตามสัญญาประกันภัยหมวดที่ 2 ส่วนที่ 2 ข้อ 2.6 ระบุว่า การคุ้มครองความรับผิดของผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในฐานะผู้เอาประกันภัยจะไม่ต้องรับผิดในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 4 รับประกันภัยไว้ โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุน”

สรุป บุคคลภายนอกหากไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ย่อมไม่สามารถเป็นผู้เอาประกันภัยได้ หากฝ่าฝืนจะมีผลให้สัญญาประกันนั้นไม่ผูกพันคู่ความ (ป.พ.พ. ม.863) แต่อย่างได้ก็ดี หากพฤติการณ์ของบุคคลภายนอกนั้นแสดงได้ว่าตนเป็นตัวแทนของเจ้าของรถซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ เช่นนี้ สัญญาประกันภัยย่อมเกิดมีขึ้นได้ และหากตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับสัญญาโดยการเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัยนั้นก็ย่อมทำได้ (ป.พ.พ. ม. 806) และเมื่อสัญญามีผลผูกพันคู่สัญญาแล้ว ต่อมามีเหตุเกิดขึ้นต่อรถที่ทำประกันนั้น โดยบุคคลผู้ได้รับความยินยอมให้ใช้รถจากเจ้าของรถ เจ้าของรถย่อมใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทผู้รับประกันภัยได้

Facebook Comments