Home คดีอาญา สามี หรือภริยาสามารถจัดการสินสมรสได้โดยลำพังหรือไม่

สามี หรือภริยาสามารถจัดการสินสมรสได้โดยลำพังหรือไม่

2231

สามี หรือภริยาจัดการสินสมรสโดยลำพัง ได้หรือไม่ อย่างไร

สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส  หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส

โดยพินัยกรรม หรือ โดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรม หรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส หรือที่เป็น ดอกผลของสินส่วนตัว  ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีอยู่ ก่อน สมรส หรือที่เป็น เครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือ เครื่องประดับกาย ตามควรแก่ฐานะ หรือ เครื่องมือเครื่องใช้ ที่จำเป็น ในการประกอบอาชีพ หรือ วิชาชีพ ของคู่สมรส ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ได้มา ระหว่าง สมรส โดยการรับมรดก หรือ โดยการให้โดยเสน่หา หรือที่เป็นของหมั้น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วางหลักไว้ว่า “การจัดการสินสมรสซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง” และมาตรา 1476 วางหลักไว้ว่า “ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรม นั้นได้ เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว”

กรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้จัดการทรัพย์สินโดยทำนิติกรรมไปแต่ฝ่ายเดียวโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง จะต้องวินิจฉัยก่อนว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัว หากเป็น          สินส่วนตัว  ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็สามารถจัดการได้โดยลำพัง หากเป็นสินสมรสแต่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่าความยินยอมนั้นจะเกิดขึ้นก่อนหรือภายหลังก็ตาม คู่สมรสฝ่ายนั้นก็สามารถจัดการทรัพย์สินนั้นได้

กรณีที่ทรัพย์สินที่จัดการเป็นสินสมรส และพบว่าคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการไปตามลำพัง  คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้

คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ วยช.1/2561

โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของนาย ส. ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนาย ส. วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ นาย ส. ท านิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่  ๑ โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๙ นาย ส. ถึงแก่ความตาย ต่อมาวันที่ ๒๕กรกฎาคม ๒๕๕๙ จำเลยที่  ๑ ท านิติกรรมให้จำเลยที่  ๒ เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท โดยจำเลยที่  ๒ไม่สุจริต เพราะทราบว่าโจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของนาย ส. และนาย ส. ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่  ๑         โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ ขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่นาย ส. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ ๑ และนิติกรรมที่จำเลยที่ ๑ ยอมให้จำเลยที่  ๒  เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท กับบังคับให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่โจทก์ มิฉะนั้นขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสอง และขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินห้ามจำเลยทั้งสองทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด

พิเคราะห์แล้ว กรณีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.  ๒๕๕๓  มาตรา  ๔  บัญญัติว่า  “คดีครอบครัว”  หมายความว่า  คดีแพ่งที่ฟ้องหรือร้องขอต่อศาลหรือกรำการใด ๆ ในทางศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์หรือครอบครัว ซึ่งจะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับครอบครัว ดังนั้น คดีที่เกี่ยวด้วยการสมรส สิทธิและหน้าที่หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา บิดามารดาและบุตรไม่ว่าในทางใด ซึ่งพิพาทกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ  ๕  ทั้งหมด คดีที่เกี่ยวด้วยสถานะและความสามารถของบุคคลเกี่ยวกับครอบครัวหรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ซึ่งพิพาทกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในบรรพ ๑ มาตรา ๒๑ ถึง ๒๘, ๓๒, ๔๓ และ ๔๔ และในบรรพ ๖ มาตรา ๑๖๑๐, ๑๖๑๑, ๑๖๘๗ และ ๑๖๙๒ รวมทั้งคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัวหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับครอบครัวย่อมถือเป็นคดีครอบครัวตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.  ๒๕๕๓มาตรา  ๑๐ (๓)  คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่นาย ส .ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่  ๑  และนิติกรรมที่จำเลยที่  ๑  ยอมให้จำเลยที่  ๒  เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท โดยอ้างว่า นาย ส.  ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนาย ส.  ให้แก่จำเลยที่  ๑ โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ ๑ ทำนิติกรรมให้จำเลยที่  ๒ เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท โดยจำเลยที่  ๒ ไม่สุจริตเพราะทราบว่าโจทก์เป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของนาย ส.  และนาย ส.  ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่  ๑ โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ สภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตามคำฟ้องเป็นกรณีที่จะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ  ๕  มาตรา  ๑๔๘๐  ส่วนที่จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของนาย ส.  ย่อมก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับนาย ส.หรือเป็นสินส่วนตัวของนาย ส. ซึ่งเป็นกรณีที่จะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ  ๕ มาตรา  ๑๔๗๑  และ  ๑๔๗๔  คดีนี้จึงเป็นคดีครอบครัวตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.  ๒๕๕๓ มาตรา ๑๐ (๓)

 

คำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ วยช.10/2561

 

คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เนื้อหาคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๑ปฏิบัติ          ผิดข้อตกลงท้ายสัญญาหย่าระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ ซึ่งมีลักษณะเป็นบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา อันเป็นกรณีที่จะต้องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ ๕ มาตรา ๑๕๓๒ คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ จึงเป็นคดีครอบครัว คดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ แม้มิใช่คดีครอบครัวเพราะเนื้อหาคำฟ้องเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ ๒ ทำละเมิดต่อโจทก์   ซึ่งไม่มีปัญหาที่จะต้องพิจารณาถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางทรัพย์สินหรือการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา แต่มูลความแห่งคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๒ และระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เกี่ยวข้องกัน โจทก์จึงมีสิทธิเสนอคำฟ้องส่วนที่ขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒  รับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลใดศาลหนึ่งเป็นคดีเดียวกันได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๕ และเนื่องจาก พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๒ บัญญัติห้ามมิให้ศาลชั้นต้นอื่นใดในท้องที่นั้นรับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว ไว้พิจารณาพิพากษา คดีส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ รับผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์  จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัวคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๓ ถึงที่ ๕ มีลักษณะเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่จะวินิจฉัยว่าอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลใดจึงไม่รับวินิจฉัย

ทั้งนี้ตามคำวินิจฉัยของประธานศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ วยช.10/2561

ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532, ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 5 , พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๑๐ (๓), 11, 12 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 (3)

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments