Home คดีแพ่ง จดทะเบียนสมรสหลอกๆเพื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิต ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิในสัญญาประกันหรือไม่

จดทะเบียนสมรสหลอกๆเพื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิต ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิในสัญญาประกันหรือไม่

754

จดทะเบียนสมรสหลอกๆเพื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิต ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิในสัญญาประกันหรือไม่

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทีมงานทนายฟ้องประกัน โดยหัวหน้าสำนักงาน ทนายอธิป ชุมจินดา จะขอออธิบายเกี่ยวกับจดทะเบียนสมรสหลอกๆเพื่อเป็นผู้รับผลประโยชน์ในสัญญาประกันชีวิต ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิในสัญญาประกันหรือไม่

สัญญาประกันภัยมีหลักประการสำคัญอย่างหนึ่ง คือ หลักส่วนได้เสียในสัญญาประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 863 ได้วางหลักไว้ว่า “ สัญญาประกันภัยนั้น ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้น  ย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด”

กรณีสัญญาประกันชีวิต สิทธิหน้าที่ของบุคคลที่พึงมีต่อกันตามกฎหมาย ถือเป็นส่วนได้เสีย              ที่เอาประกันได้ เช่น สามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๖๑  วางหลักไว้ว่า            “สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาสามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถ        และฐานะของตน”  เป็นความสัมพันธ์ทางกฎหมาย  ดังนั้น หากมีการตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ย่อมกระทบ        กับอีกฝ่ายหนึ่งอย่างแน่นอน จึงเป็นสิทธิตามกฎหมายย่อมเอาประกันชีวิตได้

แต่กรณีที่พบว่าผู้เอาประกันแม้จะเป็นภริยาของผู้ตายก็ตาม แต่ได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย         โดยอาศัยความบกพร่องทางจิตประสาทของผู้ตาย เพื่อหวังผลประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิต ผู้ตาย             มีสติปัญญาต่ำกว่าบุคคลปกติทั่วไป  ไม่สามารถรู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนเองกระทำ และไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะเอาประกันภัยทุกบริษัทรวมกันหลายสัญญา             ซึ่งต้องเสียค่าเบี้ยประกันภัยต่อปีจำนวนมาก  ไม่น่าเชื่อว่าผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตกับผู้รับประกันภัยด้วยเจตนาที่แท้จริงของตนเอง  แต่เกิดจากภริยาและบุคคลอื่น  ซึ่งมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้เป็นผู้จัดให้มีการเอาประกันภัยกับผู้รับประกันภัย  โดยหวังเอาผลประโยชน์จากการทำสัญญา   ทั้งที่ผู้ตายไม่อยู่         ในฐานะที่จะรับรู้ข้อเท็จจริงและไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำนิติกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929-930/2560

โจทก์มิได้มีความสัมพันธ์เป็นภริยาของผู้ตาย แต่จดทะเบียนสมรสกันโดยอาศัยความบกพร่องทางจิตประสาทของผู้ตาย เพื่อหวังผลประโยชน์จากสัญญาประกันชีวิต ผู้ตายมีสติปัญญาต่ำกว่าบุคคลปกติทั่วไป         ไม่สามารถรู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนเองกระทำ และไม่สามารถสื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างสมบูรณ์ ทั้งผู้ตายไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะเอาประกันภัยทุกบริษัทรวมเป็นเงิน 43,749,430 บาท ซึ่งต้องเสียค่าเบี้ยประกันภัยถึงปีละ 544,701.16 บาท ไม่น่าเชื่อว่าผู้ตายทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 ด้วยเจตนาที่แท้จริงของผู้ตายเอง แต่เกิดจากโจทก์และบุคคลอื่นซึ่งมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้เป็นผู้จัดให้มีการเอาประกันภัยกับจำเลยที่ 1 และบริษัทอื่น โดยหวังเอาผลประโยชน์จากการทำสัญญา โดยผู้ตายไม่อยู่ในฐานะที่จะรับรู้ข้อเท็จจริงและไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำนิติกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเองได้ ศาลชั้นต้นได้ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยดังกล่าวไว้โดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว ซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัย       ซ้ำอีก เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้จัดให้ผู้ตายเอาประกันชีวิตกับจำเลยที่ 1 และบริษัทอื่นซึ่งรวมถึงจำเลยที่ 7 โดยโจทก์เป็นผู้เสียเบี้ยประกันภัยและเป็นผู้รับประโยชน์ โจทก์จึงเป็นผู้เอาประกันชีวิต แต่โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ สัญญาประกันชีวิตที่โจทก์จัดทำขึ้นย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863 โจทก์ย่อมไม่ได้รับประโยชน์จากกรมธรรม์สัญญาประกันชีวิต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รวมทั้งจำเลยที่ 7 ชำระเงินตามสัญญาประกันชีวิตได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 7 จะมิได้ฎีกาในเรื่องนี้ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลรวมไปถึงจำเลยที่ 7 ด้วยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาในส่วนของจำเลยที่ 7 เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีต้องเปลี่ยนแปลง

พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 7 ด้วย ให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียม        ในศาลชั้นต้นแทนจำเลยที่ 1 และที่ 7 โดยกำหนดค่าทนายความให้สำนวนละ 20,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 7 ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาให้เป็นพับ

สรุป ถือว่าไม่มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ สัญญาประกันชีวิตที่โจทก์จัดทำขึ้นย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 863

iber.me/tanai-athip

สำนักงานทนายฟ้องประกัน
มีปัญหาคดีความโทรปรึกษา โทร 061-939-9935

 

 

 

 

Facebook Comments