Home ทั้งหมด การใช้ค่าทดแทนเมื่อมีการผิดสัญญาหมั้น

การใช้ค่าทดแทนเมื่อมีการผิดสัญญาหมั้น

4008

การใช้ค่าทดแทนเมื่อมีการผิดสัญญาหมั้น

การจะเรียกค่าทดแทนเมื่อมีการผิดสัญญาหมั้นนั้นได้นั้นจะต้องมีการหมั้นกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายก่อนกล่าวคือ ชายได้ตกลงหมั้นกับหญิงและได้มอบของหมั้นให้กับหญิงแล้ว หากเป็นเพียงการตกลงด้วยวาจาว่าจะทำการสมรสด้วยในอนาคตโดยไม่ได้มีการหมั้นกันโดยถูกต้องตามกฎหมายหากต่อมาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมทำการสมรสด้วยก็จะไม่สามารถเรียกค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นจากอีกฝ่ายได้เพราะถือว่าไม่ได้มีการหมั้นมาตั้งแต่แรกแล้ว และการหมั้นนั้นต้องเป็นการหมั้นที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยคือชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องไม่ได้มีคู่สมรสอยู่แล้วในขณธทำการหมั้นอันจะทำให้การหมั้นนั้นตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 โดยในส่วนของค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นนั้นจะมีเฉพาะตามที่กฎหมายบัญญัติเอาไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1440 ซึ่งกำหนดเอาไว้เพียง 3 กรณีเท่านั้นที่สามารถเรียกค่าทดแทนกันได้ ความเสียหายอื่นนอกจาก 3 กรณีดังกล่าวจะไม่สามารถเรียกค่าทดแทนได้

  1. ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น คือ ค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย เช่นการกอดจูบลูบคลำ การล่วงเกินกันบ้าง ส่วนความเสียหายต่อชื่อเสียงนั้นเช่น การที่หญิงไม่ยอมสมรสกับชายอาจทำให้ชายได้รับความรังเกียจแก่หญิงอื่นๆ รวมทั้งความอับอายด้วย แต่ไม่รวมถึงความทางจิตใจที่คู่หมั้นได้รับเพราะไม่ถือเป็นความเสียหายตามมาตรา 1440
  2. ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร คือ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเกี่ยวกับการเตรียมการที่ชายหญิงจะอยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยตรง เช่น ค่าซ่อมแซมปรับปรุงบ้านของคู่สมรส ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาสมรส ค่าใช้จ่ายซื้อเครื่องเรือนต่างๆสำหรับเรือนหอ เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายตามข้อนี้กฎหมายจำกัดว่าต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควรเท่านั้น และไม่รวมค่าใช้จ่ายในการหมั้นด้วย
  3. ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส คือ ค่าทดแทนในข้อนี้จะจำกัดเฉพาะกรณีชายหญิงคู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือกิจการไปในทางที่เสียหายโดยคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เช่น หญิงขายทรัพย์สินเพื่อเตรียมจะสมรสกับชายที่อยู่ต่างประเทศ หรือหญิงสอบราชการได้แต่สละสิทธิเพื่อจะไปสมรสกับชายในต่างประเทศ หากต่อมามีการผิดสัญญาหมั้น ก็ย่อมเรียกค่าทดแทนจากการจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวได้

มีปัญหาคดีความปรึกษาทีมงานทนายกฤษดา

โทร 089-142-7773 ไลน์ไอดี @lawyers.in.th

Facebook Comments